'วิษณุ' บอกรัฐบาลเลิกสงสัยแล้ว ปมวาระ 8 ปีนายกฯประยุทธ์ เชื่อมีคนยื่นตีความ

28 มี.ค.2565 - เมื่อเวลา 12.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะครบในเดือน ส.ค. ขณะนี้ถึงเวลาจะยื่นตีความได้หรือยัง ว่า ยัง เวลายังเหลือตั้ง 4 เดือน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ถึงอย่างไรต้องชัดเจนก่อนครบ 8 ปี ในเดือน ส.ค.ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ควรเป็นเช่นนั้น ใครที่สงสัยสามารถส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ ถ้ารัฐบาลไม่สงสัยรัฐบาลก็ไม่ส่ง แต่ให้คนอื่นส่ง เมื่อถามอีกว่า แล้วประเด็นวาระดำรงตำแหน่งของนายกฯ ตอนนี้รัฐบาลสงสัยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่สงสัย ต่อข้อถามว่า เมื่อรัฐบาลไม่สงสัย แสดงว่านายกฯสามารถดำรงตำแหน่งต่อได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ สื่อถามว่าสงสัยหรือไม่ ตนจึงตอบว่าไม่สงสัย แต่จะดำรงตำแหน่งต่อได้หรือไม่ ก็ดำรงตำแหน่งต่อได้ ใครสงสัยก็ส่งไป ถ้าส่งไปแล้วเขาบอกว่าไม่ได้ ที่คิดว่าดำรงตำแหน่งต่อได้ก็ไม่ได้

เมื่อถามว่า หากล่วงเลยกรอบเวลาเดือน ส.ค.ไป แล้วค่อยมีคนมาสงสัยและยื่นเรื่องตีความ จะมีผลย้อนหลังอะไรหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่ศาลจะวินิจฉัย ประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯชัดเจนว่า 8 ปีต่อเนื่องกัน สิ้นสุดอย่างไรก็ 8 ปี แต่ประเด็นที่สงสัยกันอยู่คือ เราจะเริ่มนับหนึ่งของ 8 ปี ตอนไหน ทั้งปี 57, 60 หรือ 62 เมื่อถามย้ำว่า ในมุมมองนายวิษณุควรเริ่มนับตอนไหน นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ตอบ อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกฯในปัจจุบัน เขียนไม่เหมือนรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ ของเดิมกำหนด 8 ปีตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ แต่ฉบับปัจจุบันกำหนดว่า “ไม่ว่าจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม” และก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการครองตำแหน่งยาวเหมือนในปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ต้องตีตนก่อนไข้ ถึงอย่างไรก็คงมีคนสงสัยและยื่นตีความอยู่ดี

เมื่อถามอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์จะยังรักษาการได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนว่าไม่นับเวลารักษาการ “ไม่ต้องเป็นห่วงแกหรอก”

“รัฐบาลเคยสงสัยจนเลิกสงสัย เพราะจะมีคนอื่นสงสัยแทนแล้วช่วยจัดการให้ เอาอย่างไรก็ได้ ถึงอย่างไรผมก็ต้องไปอยู่ดี” นายวิษณุ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490