'เรืองไกร-สนธิญา' ยื่นกกต.ยุบเพื่อไทย ปมคลิปทักษิณวิดีโอดอลคุยสมาชิกพรรค

"เรืองไกร-สนธิญา" ร้องกกต.ยุบพรรคเพื่อไทย ปมคลิป "ทักษิณ" อดีตนายกฯ วิดีโอคอลพูดคุยกับ "เกรียง กัลป์ตินันท์" รองหน.เพื่อไทย อ้างเลี้ยงวันเกิด ตั้งข้อสังเกตข้อมูลในวิกีพีเดีย ไม่ใช่วันเกิด เผยในคลิปพูดเนื้อหาการเมือง

26 ต.ค.2564 - เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นหนังสือต่อกกต.ขอให้พิจารณายุบพรรคเพื่อไทยในกรณีที่มีคลิป ภาพ และเสียงปรากฎ ระหว่างนายเกรียง กัลป์ตินันท์ ที่ได้วีดีโอคอลกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำการเข้าข่ายฝ่าฝืน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 หรือไม่ และเป็นเหตุให้จะต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเพื่อไทย โดยนาย เรืองไกร กล่าวว่า ตัวคำร้องมาจากเหตุปรากฏคลิปความยาว 3 นาที แต่เนื้อความที่กล่าวกันคือการถามตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมือง ต่อมานายเกรียงได้ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าข้อเท็จจริงปรากฎตามคลิป แล้วก็ยังอธิบายต่อกับสื่อมวลชนว่ามีการพูดถึงแคนดิเดตนายกฯด้วย ซึ่งกรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่นายเกรียง อธิบายภายหลังว่าเป็นการเลี้ยงเนื่องในวันเกิด ซึ่งตนเปิดวิกิพีเดีย พบประวัติวันเกิดของนายเกรียงคือวันที่ 27 พ.ย. ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าไม่ใช่วันที่ 12 ต.ค.

นอกจากนี้ จากการที่ตนได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติม ยังพบเฟซบุ๊ก “ธร ศศิวิมล” ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ของบุคคลหนึ่งที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เมื่อค้นข้อมูลในเฟซบุ๊กต่อไปพบว่าโพสต์ภาพงานเลี้ยง ซึ่งไม่ใช่เลี้ยงวันเกิดและอธิบายความว่า “ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ครึ่งร้อย ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งไฮไลท์อยู่ที่การวิดีโอคอลเข้ามาของทักษิณ ชินวัตร เสียดายไม่ได้นั่งอยู่ในงาน แต่รู้ว่าหลังพูดจบ ส.ส.ครึ่งร้อยที่อยู่ในงานหัวใจพองโตขึ้นสามเท่า”

นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏภาพของนายภูมิธรรม เวชชชัย ผู้นำฝ่ายค้าน และนายเกรียง พร้อมแก้วไวน์ และอาหาร ภาพนายชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายไชยา พรหมา นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่ไม่มีเค้กวันเกิด และเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 12 ต.ค.64  คือวันที่พรรคเพื่อไทยมีมติขับนายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ กับ น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ตนจึงไม่แน่ใจว่าวันเวลาเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ ซึ่งคลิปที่ปรากฏล้วนเป็นเรื่องที่พูดในประเด็นการเมือง ส่วนเวลาตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นช่วงเที่ยง แต่มีการโพสต์เมื่อเวลา 23.00 น. ซึ่งตนนำพยานเอกสาร พยานบุคคล มายื่นต่อกกต. ทั้งนี้เมื่อกกต.ตรวจสอบแล้วต้องเชิญตนมาให้ถ้อยคำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในวันนั้นกกต.ก็จะต้องเชิญ พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนนายทักษิณ คงเชิญมาไม่ได้เพราะอยู่ต่างประเทศ โดยจากคลิปกกต.ก็สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากกรณีตามมาตรา 92 ของพ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นโทษทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมือง และกกต.ที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยต่อไป

นายเรืองไกร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีอีกประเด็นที่ตามมาคือ การประชุมพรรค  ซึ่งนำลายมือชื่อที่สื่อระบุว่าเป็นของอดีตนายทักษิณ ที่เขียนคำว่า “พรรคเพื่อไทย” หรือคำว่า “พรุ่งนี้เพื่อไทย” มาใช้ในเฟซบุ๊กของพรรคและเฟซบุ๊กของสมาชิกพรรค เป็นการนำลายมือใช้ในกิจกรรมหรือไม่ เพราะในข้อบังคับพรรคเพื่อไทย นายทักษิณเป็นผู้สนับสนุนพรรคไม่ได้ เป็นผู้ช่วยหาเสียงก็ไม่ได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องคุณสมบัติสมาชิกพรรค และหลังจากนี้ตนก็จะติดตามว่านายเกรียง บินไปพบนายทักษิณ หรือไม่

“ผมยืนยันว่าตรวจสอบด้วยความเป็นธรรม และฝากไปถึงบรรดาพรรคการเมืองที่ทำกิจกรรมใดๆท่านต้องคำนึงกฎหมายทั้งพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. พรรคการเมือง ท่านต้องมีความรู้สึกคิดถึงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เช้า บ่าย ลงมติตามข้อบังคับพรรคขับสมาชิกเสร็จ กลางคืนไม่คำนึงแล้ว จึงขอให้พึงระมัดระวัง อันนี้มีเหตุจำเป็นต้องทำหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 50 “ นายเรืองไกร กล่าว และว่า ยืนยันว่าไม่ใช่เหตุผลส่วนตัวทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง

เมื่อถามว่าการที่นายเรืองไกร ได้มายื่นยุบพรรคเพื่อไทยหลายครั้ง ขณะนี้กระบวนการถึงไหน นายเรืองไกร กล่าวว่า กำลังสอบอยู่ 2 พรรคคือก้าวไกล และเพื่อไทย ซึ่งวานนี้ (25 ต.ค.) กกต.ได้โทรมาประสานตนแล้ว ซึ่งคำร้องยื่นสอบของพรรคเพื่อไทยมีสอบไปแล้วครั้งหนึ่ง อยู่ระหว่างเชิญมาคือกรณีหนังสือของนายสมพงษ์ ที่บอกว่ามติพรรคให้ส.ส.ต้องโหวตไม่ไว้วางใจ ซึ่งตนต้องดู 2 มิติคือ 1. การโหวตอยู่ในอาณัติมอบหมายหรือไม่ 2.ส.ส. 7 คนที่ถูกขับ 2 คน ที่อาศัยข้อบังคับพรรคมาอ้างเหตุที่จริงแล้วเหตุมาจากหนังสือของนายสมพงษ์หรือไม่ ส่วนกรณีของพรรคพลังประชารัฐ และประชาธิปัตย์ กรณีทุจริตการเลือกตั้งในภาคใต้ยังมีอยู่ เจ้าหน้าที่กำลังจะมีหนังสือแจ้งมาหาตน ซึ่งตนยืนยันว่าดำเนินการต่อ

เมื่อถามอีกว่า กรณีดังกล่าวที่มายื่นยุบพรรคเพื่อไทยในวันนี้ เข้าข่ายมาตรา 28 หรือว่าถูกตีตกหรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า ตนอ่านคำวินิจฉัยของกกต.ตั้งแต่ปี 2561-2564 ครบหมดแล้ว โดยมาตรา 28 มี 3 คำ ครอบงำ ควบคุม ชี้นำ เพราะฉะนั้นในพจนานุกรมให้ความหมายแตกต่างกันหมด ซึ่งตนมองเรื่องชี้นำ ส่วนนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะพูดเร็วเกินไปหรือไม่ เป็นสิทธิของท่านแต่ตนเห็นว่านายวิษณุ ยังไม่สมควรพูด เพราะว่ายังดูเนื้อหาไม่ละเอียด นอกจากนี้เนื้อหาที่กกต.เคยวินิจฉัยใช้คำว่าขาดความอิสระหรือไม่ ซึ่งมีหลายกรณีเช่นพรรคเพื่อชาติ แต่ในกรณีของพรรคเพื่อไทยเทียบกับพรรคเพื่ออนาคตไทย คำวินิจฉัยที่ 20/2564

วันเดียวกัน เวลา 10.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เข้ายื่นต่อกกต. เพื่อยุบพรรคเพื่อไทย กรณีคลิปงานเลี้ยงส.ส.เพื่อไทย ที่มีวิดีโอคอลจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดคุยกับสมาชิกพรรควางตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่  ที่อาจขัดและฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง2560 มาตรา 28, 29 และมาตรา 74(1)  

นายสนธิญา กล่าวว่า ในงานเลี้ยงหนึ่งของพรรคเพื่อไทยตนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัด และฝ่าฝืนต่อพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 ซึ่งพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60  ในมาตรา 28 และมาตรา 29 ที่ว่าด้วยพรรคการเมืองที่จะไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคครอบงำ ชี้นำ หรือควบคุม  ตนขออ้างข้อมูลคำว่า “ชี้นำ” ที่ประกอบด้วยคำว่าชี้แนะ แนะนำ เสนอแนะ แนวทาง หรือชี้ทาง โดยนายทักษิณกล่าวกับสมาชิกพรรคว่า “ผมมีหลายแนวทางรับรองว่า แต่ละแนวทางส.ส.ที่คิดจะลาออกรับตังค์เขาไปแล้ว จะต้องเอาตังค์ไปคืน เที่ยวนี้ชนะอย่างแรงสไลด์ ชนะแบบธรรมดามันไม่ได้เป็นรัฐบาลหรอกถ้าแรงสไลด์มันไม่กล้าเป็นรัฐบาล” ฉะนั้นในประเด็นการพูดของนายทักษิณกับสมาชิกพรรคนั้นจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 ยืนยันว่านายทักษิณชี้นำสมาชิกพรรคและสมาชิกที่เข้าไปอยู่ในช่วงเวลานั้นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองทั้งสิ้น

อีกประเด็นคือมาตรา 74 (1) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 ที่ตนจะเรียกร้อง กกต.ให้ตรวจสอบสัญชาติของนายทักษิณ เพราะนายทักษิณไม่ได้อยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว แล้เท่าที่ทราบเขาได้ถือสัญชาติไม่ต่ำกว่า 3 สัญชาติ ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานของรัฐได้ตรวจสอบว่าปัจจุบันนายทักษิณยังถือสัญชาติไทยอยู่หรือไม่ หรือกรณีที่ถือสัญชาติมอนเตเนโกรจะต้องมีการบังคับว่าจะถือสัญชาติอื่นได้ด้วยหรือไม่ เพราะการถือสัญชาตินี้จะเข้าสู่ประเด็นพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 มาตรา 74(1) ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชัย' สยบข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกรัฐบาล ยันนายกฯไม่ส่งสัญญาณ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงโฆษกรัฐบาล ว่า ไม่มีนะ ตนไม่เคยได้ยินข่าว และขอย้ำว่าไม่มีตนกองเชียร์ไม่เยอะ

'เศรษฐา' แพลมโผครม.นิ่งแล้ว ไม่มีแกว่ง อุบตอบเก้าอี้หดเหลือแค่ตำแหน่งนายกฯ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ระบุว่าส่งรายชื่อบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรีถึงนายกฯ โดยนายกฯย้อนถามว่า “หรือครับ ไม่ทราบ”

'เศรษฐา' ยันถกแกนนำพรรคร่วม ไม่ได้ส่งสัญญาณปรับครม. ถ้าเกิดขึ้นก็รู้เอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการเรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบฯ ได้มีการส่งสัญญาณปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ว่า ไม่มี ไม่ได้พูดคุย เมื่อถามว่า นอกจากพูดคุยเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตแล้วมีเรื่องอะไรบ้าง

เปิดภาพนักการเมืองหลายพรรคร่วมประชุม 'ผู้ช่วยรัฐมนตรี'

นายสุทิน คลังแสง รมว.กห. ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2567 ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ โดยมี พล.อ.อ.สุรพล พุทธมนต์ และ นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต.ประจำ กห. เป็นประธาน

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 7)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490