'ชัยเกษม' พร้อมดันแก้ ม.112 เข้าสภา ชี้ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำแตกแยกหนัก

1 พ.ย.2564 - นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการพิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิดที่เห็นต่างทางการเมืองเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมและปัญหาการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจำกัดความคิดเห็นประชาชนที่แตกต่างจากรัฐบาลว่า ประเด็นหลักของพรรค คือ การเรียกร้องให้มีการพิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิด ซึ่งทุกคนควรมีเสรีภาพทางความคิดและควรได้รับการประกันตัวตามสิทธิอย่างเท่าเทียม พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคการเมืองที่มีเสียงสมาชิกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต้องการที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อันเนื่องมาจากปัญหาการใช้กฎหมายของฝ่ายบริหารที่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน จนทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกในสังคมที่รุนแรงมากขึ้น โดยการนำข้อเรียกร้องของประชาชนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา

เมื่อถามว่า จากกรณีที่บางกลุ่มเสนอให้มีการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 พรรคเพื่อไทย มีจุดยืนอย่างไร นายชัยเกษม กล่าวว่า กระบวนการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา จะเป็นการพิจารณาโดยตัวแทนประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย จุดยืนของพรรคเพื่อไทยมีเจตนาเพื่อให้นักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว และไม่ให้เกิดนักโทษทางความคิดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมของประเทศไทย ส่วนการจะแก้ไขกฎหมายใดและมีเนื้อหารายละเอียดอย่างไรเป็นอำนาจของรัฐสภา 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

เดือด! โฆษกพรรคหญิงหน่อยจี้ 'สุภาพร' ลาออกหลังโผล่ไปรับทักษิณ

'ภัชริ' ซัด 'สุภาพร' ไม่มีความละอาย ไม่สำนึกถึงสิ่งที่ได้สัญญากับประชาชน โผล่ถ่ายรูป 'ทักษิณ' ทั้งที่ยังสังกัด ไทยสร้างไทย ลั่นพฤติกรรมเป็นงูเห่าชัดตั้งแต่ต้น จี้ลาออกหลังพรรคให้โอกาสแต่ไม่สำนึก

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า