ถก 'กม.ลูก' จบสัปดาห์นี้ เร่งให้ทัน 15 ส.ค. ลุ้น กกต. พลิกกลับสูตรหาร 100

‘นิกร’ มั่นใจสัปดาห์นี้ ถกกฎหมายลูกจบ ชี้ต้องเร่งเสร็จก่อน 15 ส.ค. เชื่อมีโอกาสพลิกกลับใช้สูตรบัญชีรายชื่อหาร 100 ทั้งจาก กกต. และอีก 2 กลุ่มเห็นแย้ง รอยื่นศาล รธน.

25 ก.ค. 2565 – ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… ให้สัมภาษณ์กรณีความคืบหน้าในการจัดทำกฎหมายลูกว่า ต้องทำให้เสร็จ เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากและต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค. หากไม่เสร็จตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีการกลับไปใช้ในร่างเดิมคือร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นการหาร 100 ทั้งนี้ หากเราดึงข้ามไปแปลว่าสภาฯ ทำงานไม่เสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควร แต่จะออกไปทางใดทางหนึ่งก็ต้องเสร็จ และต้องส่งไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อรอ กกต. เสนอความเห็นกลับมา โดยจะหาร 100 หรือหาร 500 ก็ค่อยว่ากัน ดังนั้น เชื่อว่าจะไม่ให้มีปัญหาจนถึง 15 ส.ค.

เมื่อถามว่า หลังจากสภาฯ มีการพลิกมติของ กมธ.เสียงข้างมาก จากสูตรหาร 100 เป็นหาร 500 จะมีการเดินหน้าต่ออย่างไร และจะมีการปรับแก้มาตราใด หลังมาตรา 24 ที่กระทบหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตอนที่แก้ ตนได้เตือนแล้วว่าจะเกิดปัญหา ทั้งนี้ หากมีคนโยงไปถึง ส.ส. พึงมี ก็จะมีการพ่วงเป็นหาร 500 ซึ่งเมื่อหาร 500 ก็จะสัมพันธ์กันไปหมด แต่หากมีการเกิดใบแดงขึ้นก็จะมี ส.ส. หายไป 1 คน ซึ่งเมื่อหายไป 1 คน ที่แบ่งไว้ว่าพึงได้ก็จะเคลื่อนไปหมด โดยจะทำให้มีปัญหามาก และขณะนี้เรายังเหลืออีก 8 มาตรา ที่ต้องพิจารณา โดย 2 – 3 มาตราที่เหลือจะมีปัญหา ซึ่งปัญหาในเรื่องดังกล่าว กมธ.เสียงข้างน้อยไม่ได้มีการเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนนั้น และข้ามไปที่มาตรา 24 เลย ดังนั้น จะกลับไปที่มาตรา 23 ไม่ได้

นายนิกร กล่าวว่า ฉะนั้น ในการประชุมวันพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) กมธ. จะไม่สามารถจะเรียกประชุมก่อนหน้านี้ได้ เพราะถือว่าทำงานเสร็จไปแล้ว และสภาจะต้องมีมติ โดยรัฐสภาให้ กมธ. ไปคุยกันนอกรอบ ซึ่งจะไปแก้อย่างไรก็ไม่ทราบ ทั้งนี้ ขอย้ำว่าต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค. อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า กกต. มีโอกาสที่จะกลับมาหาร 100 มากกว่า เนื่องจาก กกต. เสนอให้มีการใช้ 100 หารมาตลอด อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาที่ กกต. ชี้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้ ก็จะต้องกลับไปหาร 100 เหมือนเดิม หาก กกต. แย้งกลับมา สภาก็จะมี 2 ทางคือ สภาจะเห็นตาม กกต. โดยสภาจะมีเวลาแก้ไขภายใน 30 วัน หรืออีกทางคือยึดตามมติสภาเหมือนเดิมคือหาร 500 หากยืนยันตามนั้นก็จะไปเจออีกด่าน คือการเสนอให้มีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีกลุ่มที่รอยื่นศาลรัฐธรรมนูญอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มฝ่ายค้าน และ กมธ. ที่เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามถึงกรณีที่มีความเห็นว่าระบบเลือกตั้งจะกลับมาใช้บัตรใบเดียว ตามข้อกฎหมายสามารถเป็นไปได้หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตามกฎหมายสามารถทำได้ แต่ในทางการเมืองนั้นทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในทางกฎหมายก็เป็นไปได้ยาก เพราะเวลาของสภาเหลือน้อย ทั้งนี้ หากมีการแก้ก็จะต้องมีการเสนอร่างเข้ามาใหม่และจะต้องมีการตั้ง กมธ. รวมถึงจะต้องมีการแก้กฎหมายลูกอีก แต่ที่เห็นว่าทำไม่ได้คือ ในทางการเมืองเราจะไปบอกประชาชนอย่างไรที่จะกลับไปเป็นเช่นนั้น และทาง ส.ว. ก็คงไม่กล้า เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเขา เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งของ ส.ส. ฉะนั้น พรรคเล็ก ตนก็เห็นว่าไม่พอที่จะมีการเสนอเข้ามาใหม่ เนื่องจากต้องใช้รายชื่อ 100 คน และพรรคการเมืองอื่นก็มีการแก้เป็นบัตร 2 ใบ อย่างไรก็ตาม เวลาที่เหลืออีก 2 วันคือวันที่ 26 – 27 ก.ค. กฎหมายลูกจะเสร็จไม่ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งกฎหมายพรรคการเมืองไม่มีปัญหาอะไรมาก ปัญหาเดิมที่เรามีคือความเห็นของ ส.ว. ในการทำไพรมารีโหวต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' แนะสถานที่ราชการเปิดที่พักริมทางเพิ่ม ป้องกันสูญเสียช่วงเทศกาลปีใหม่

นายนิกร จำนง ประธานมูลนิธิประชาปลอดภัย กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ปีนี้มีความน่าเป็นห่วงอย่างมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นปีที่หลุดมาจากโควิด-19 เต็มรูปแบบ ผู้คนจะเดินทางเป็นจำนวนมาก เพราะคั่งค้างมาหลายปี รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่

ปธ.อนุฯรับฟังความคิดเห็น เผยข้อสรุปแก้รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง ที่มา สสร. เลือกตั้ง 77 คน ผ่านสภา 23 คน

นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สัมภาษณ์ถึงข้อสรุปของอนุกรรมการฯ ที่เตรียมเสนอ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ