'สาทิตย์' รับกระแสพรรคไม่ดีเหมือนเดิม ชี้ยังมี ส.ส.ไหลเข้าออก พร้อมหนุนสูตรหาร 500

1 ส.ค.2565 - ที่จังหวัดตรัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้หลายๆ พรรคมีการเปิดตัวผู้สมัครเตรียมตัวลงเลือกตั้งนั้น ถ้าดูระยะเวลาที่จะหมดวาระของสภาชุดนี้เดือนมีนาคม 2566 คิดว่าตั้งแต่มีการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจจบลงไปแล้ว ก็น่าจะมีเวลาก่อนเดือนมีนาคมอีกสักประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งหลายพรรคมีการเตรียมการไปแล้ว ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็มีการเปิดตัวผู้สมัครในหลายพื้นที่โดย ท่านหัวหน้าก็ดี หรือท่านรองหัวหน้าพรรคก็ดี ก็ได้มีการดำเนินการไปบางส่วน แต่เรื่องใหญ่สุดน่าจะเป็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางของพรรคที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งอย่างที่เป็นข่าวหลังจากมี การอภิปรายไม่ไว้วางใจท่านหัวหน้าพรรคกับท่านเลขาธิการพรรคก็ได้คุยกับบรรดารัฐมนตรีของพรรคและ รองหัวหน้าพรรคของแต่ละภาคเพื่อกำหนดแนวทางไว้คร่าวๆแล้ว ซึ่งจากนี้ไปในแต่ละภาคก็ต้องไป กำหนดทิศทางและก็คงจะไม่เกินอีก 2-3 เดือนนี้ไป การกำหนดยุทธศาสตร์ทิศทางการเลือกตั้งของพรรคก็ต้องชัดเจนขึ้น

แต่ตนเองพูดได้ในส่วนของภาคใต้ เพราะในส่วนของภาคใต้รองหัวหน้าพรรคภาคไต้กับ ส.ส.ภาคใต้ปัจจุบันมีการพูดคุยกันหลายครั้งแล้ว เที่ยวนี้เราจะให้ความสำคัญว่าภาคใต้ต้องถือเป็นพื้นที่หลักของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเที่ยวที่แล้วถึงแม้ว่าเรามาเป็นที่หนึ่ง แต่จำนวน ส.ส. เราก็ลดลง เพราะฉะนั้นเที่ยวนี้ท่านรองหัวหน้าพรรคท่านก็กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 35 ที่นั่ง ซึ่ง 35 ที่นั่งนั้นเป็นเป้าหมายหลัก เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งภาคไต้ต้องให้ความสำคัญจะมีอยู่ 3 เรื่องคือ

อันดับ 1. เรื่องนโยบายเฉพาะภาค ซึ่งนโยบายเฉพาะภาคตนเองก็รับผิดชอบในส่วนนั้น ซึ่งในขณะนี้เร่งทำและได้พูดคุยกับทางฝั่งของวิชาการ เพื่อที่จะให้มีนโยบายการพัฒนาเฉพาะภาคไต้ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดินทำกิน เรื่องของสินค้าเกษตร เรื่องของการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งก็จะมีงานประกาศตัวโชว์นโยบายเฉพาะภาคไต้ออกมาอีกครั้งหนึ่ง

อันดับที่ 2 คือ ตัวผู้สมัคร ซึ่งอันนี้ยังเห็นว่ามีปัญหาอยู่หลายที่ก็ต้องเร่งในการที่จะทำความเข้าใจและในการจัดวางตัวผู้สมัคร ตรงไหนที่มีปัญหาก็ต้องเคลียปัญหาให้จบโดยเร็ว ซึ่งก็เป็นธรรมดาของพรรคการเมืองระดับใหญ่ที่มีจำนวนผู้สมัครมากกว่า 1 คนในแต่ละที่ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดตรังยังมีปัญหาอยู่ในเขตพื้นที่เลือกตั้งที่ 4 ก็ต้องเคลียปัญหาต่อไปให้จบ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะจบภายในเดือนสิงหาคมนี้

อันดับที่ 3 คือ เรื่องของการขับเคลื่อนพรรคประชาธิปัตย์ภาคไต้ อันนี้ถือเป็นจุดแข็งสุดของพรรค เมื่อก่อนเรามี ส.ส. ของพรรค มีแกนนำของพรรคภาคไต้จำนวนมาก เราสามารถรวมกลุ่มที่จะไปจัดกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ได้ แสดงให้เห็นถึงความจริงจังกับพลังของพรรคประชาธิปัตย์และความผูกพันของคนภาคไต้ ซึ่งเที่ยวนี้เราตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นอีก

อย่างไรก็ตามใน 3 เรื่องนี้ ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ง่าย มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองค่อนข้างมาก และกระแสของพรรคเองก็ไม่ได้ดีเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็จะต้องพยายามในการที่จะทำนโยบายให้โดนใจประชาชนมากที่สุด ตัวผู้สมัครต้องมีการกำหนดแนวทางในการเข้าถึงประชาชน ทำงานหนักให้มากที่สุด ให้ประชาชนเห็น และการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ภาคไต้ก็ต้องเด่นชัด และ ชัดเจน ให้เห็นว่านี่คือพื้นที่เป้าหมายหลัก ซึ่งเรามีความเข้าใจในพื้นที่ดีกว่าพรรคไหน ๆ

ก่อนจะมีการเลือกตั้งจะมีการไหลเข้าไหลออกของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตนมองว่ายังมีอีก และจะเป็นเหมือนกันทุกพรรค เพราะการเมืองเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก และด้วยกติกาของการเลือกตั้งที่เปลี่ยนด้วย ก็ทำให้หลายคนคิดว่า พรรคนี้ไม่ปลอดภัย อยากจะย้ายพรรคเป็นต้น พรรคประชาธิปัตย์ก็มี ต้องยอมรับว่ายังมี แต่เท่าที่มีการพูดคุยอย่างในภาคไต้ก็คงจะมีแต่น้อยมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยึดมั่นที่จะอยู่พรรคประชาธิปัตย์อย่างตนเองก็ชัดเจนว่ายังอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

ในส่วนที่มีการออกมาแสดงความคิดเห็น เรื่อง สูตรหาร 100 สูตรหาร 500 นั้น ในความคิดเห็นของตน มองว่า ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งยังไม่จบ เรื่องรัฐธรรมนูญจบแล้ว แต่กฎหมายประกอบยังไม่จบ คือกฎหมายประกอบว่าด้วยการเลือกตั้งยังค้างอยู่ที่รัฐสภา แต่มาตราสำคัญ คือมาตรา 23 โหวดไปแล้ว เสียงส่วนใหญ่ให้หาร 500 ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วมีปัญหาว่า เมื่อหาร 500 ไปแล้ว กรรมาธิการไม่ยอมแก้กฎหมายส่วนที่เหลือให้สอดรับกับหาร 500 ซึ่งกรรมาธิการเห็นว่ายังควรจะคงหาร 100 ซึ่งตนเป็นคนเตือนว่าทำไม่ได้ เพราะกรรมาธิการจะใช้เสียงของตัวเองไปยันกับเสียงข้างมากในรัฐสภาไม่ได้ ก็ต้องแก้ไขไปก่อน

เพราะฉะนั้นในสัปดาห์นี้กรรมาธิการต้องเสนอร่างส่วนที่เหลือเข้ามาในรัฐสภา ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้หาร 500 ก่อน แต่เมื่อจบไปแล้วรัฐสภาให้ความเห็นชอบไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปภายใน 30 วัน ก.ก.ต. ต้องให้ความคิดเห็นกลับมายังรัฐสภา ซึ่งก็เดาว่า ก.ก.ต.คงไม่เห็นด้วย พอ ก.ก.ต.ไม่เห็นด้วยก็จะแสดงความคิดเห็นมายังรัฐสภา ก็จะอยู่ที่รัฐสภาว่าโหวดเห็นด้วยหรือไม่

ถ้ายืนยันก็เสนอประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป แต่ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะมีช่องทางหนึ่งที่จะมีบางพรรคบางฝ่ายไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในความคิดเห็นของตน ตนสนับสนุนหาร 500 มาแต่ไหนแต่ไร เพราะตนเห็นว่าการเลือกตั้งแบบคู่ขนานแบบเดิมที่เคยใช้ก่อนปี 2562 มันเกิดการลักลั่นกับจำนวนสัดส่วนที่ควรได้ เพราะฉะนั้นการหาร 500 น่าจะเป็นธรรมมากกว่า แต่ถ้าเรื่องนี้ไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องดูกันต่อ แต่ส่วนตัวไม่ได้กังวลเพราะลงเขต ไม่ว่าจะหาร 100 หรือ หาร 500 ตนก็ยังลงเขตเลือกตั้งเช่นเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด็อกเตอร์ป้ายแดง 'ขวัญ อุษามณี' ลุ้นอนาคตลงเล่นการเมือง!

ตำนานแฮชแท็กดัง #ขวัญรักโรงเรียน สานต่อด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนางเอกหน้าแขก "ขวัญ-อุษามณี ไวทยานนท์" จุดพลุฉลองตำแหน่งด็อกเตอร์จบการศึกษาปริญญาด้านการเมืองเรียบร้อยแล้ว งานนี้ตั้งโต๊ะเคลียร์ผ่านรายการดัง โต๊ะหนูแหม่ม กับพิธีกรตัวแม่ หนูแหม่ม สุริวิภา ถึงเส้นทางอนาคตที่แว่วว่ามีลุ้นลงสนามการเมือง

เปิดระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน​กรรม​การ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ ได้ลงนามในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.2567

'สุวัจน์' หวนคืนชื่อเดิม 'พรรคชาติพัฒนา' แต่งตั้ง สส.แจ้ เป็นรองหัวหน้าพรรค

พรรคชาติพัฒนากล้า เปิดการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 นำโดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า , นายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ,

'ชัยเกษม' ออกตัวไม่เกี่ยวปรับครม. ผู้บริหารพรรคจะใช้ให้ทำอะไรก็ได้ สบายๆ

นายชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เดินทางมาไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลตา ศาลยาย โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า การเดินทางมาไหว้วันนี้เกี่ยวอะไรกับการปรับ ครม.หรือไม่

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า