นักวิชาการชำแหละ เกมต้มเปื่อยพรรคเล็ก แคนดิเดตนายกฯเหลือแค่ 3 ชื่อ

15 ส.ค.2565 - ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) รศ.ดร.สถาพร เริงธรรม อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มข. กล่าวว่าเหตุการณ์สภาล่มที่เกิดขึ้น เป็นเกมการเมืองระหว่าง 2 พรรคใหญ่ ที่ต้องการสัดส่วน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาการพยายามผลักดันให้เกิดสูตรหาร 500 ตามกฎหมายที่ยื่นอภิปราย กลับมาถูกแก้เกมและเล่นเกมกันจนเกิดสภาล่ม ถึง 2 นัดซ้อน

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปคือกลุ่มพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ถูกพรรคการเมืองใหญ่หลอก อย่างชัดเจน เพราะในช่วงของการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาก็เกิดสถานการณ์ลิงกินกล้วยกันแล้ว และพรรคขนาดใหญ่ก็ยื้อและพยายามที่จะทำตามที่พรรคเล็กระบุ แต่ถึงเวลาจริงก็คือการไม่เห็นด้วยที่จะเอาสูตรหาร 500 และกลับไปที่สูตรหาร 100 เช่นเดิม เพราะสูตรหาร 100 นั้นต้องยอมรับว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นสูตรที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้ผลและเป็นต่อชัดเจน

"เมื่อสภาล่ม 2 ครั้งซ้อน พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย นั้นได้ประโยชน์ชัดเจน รวมทั้งพรรคขนาดกลางอย่างก้าวไกล,ภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์ ที่สามารถหยั่งคะแนนเสียงและทราบถึงสัดส่วนของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งก็จะส่งผลถึงการจัดตั้งรัฐบาล ว่าใครจะคุมเสียงข้างมาก หรือฐานคะแนนใดเป็นหลักระหว่าง ส.ส.เขตหรือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ดังนั้นเมื่อเกิดสูตรหาร 100 แล้วจากเหตุการณ์ในวันนี้พรรคเล็กก็ควรที่จะหาพื้นที่ให้กับตนเองได้แล้ว ไม่ควรที่จะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ แต่ควรหาที่อยู่ให้กับตนเอง เพราะ คะแนน ส.ส.พึงมี หรือคะแนนปัดเศษก็คงไม่มีอีกต่อไป หรือจะไปอยู่พรรคการเมืองอื่นและค่อยทำตัวเป็นงูเห่าย้ายพรรคก็ทำได้ เพราะสภาล่มครั้งนี้คงเป็นเหตุการณ์ในสภา ครั้งสุดท้าย ที่ทุกพรรคการเมือง ต้องเตรียมตัวที่จะเลือกตั้งแล้ว"

รศ.ดร.สถาพร กล่าวต่ออีกว่าเมื่อกลับไปสูตรหาร 100 แล้ว พรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็จะรู้สัดส่วนที่นั่ง ส.ส.ของตนเอง ทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป สถานการณ์งูเห่า ก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพราะการมีเสียงข้างมากในการที่จะจัดตั้งรัฐบาล เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกพรรคนั้นต้องการ ขณะที่แคนดิเดต ที่หลายคนกำลังพูดถึงว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ก็จะมีเพียง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา,นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร โดยตัดรายชื่อของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกไปได้เลย

อย่างไรก็ตามขณะนี้ปรากฎการณ์การย้ายพรรค ที่ทุกคนกำลังจับตามอง และหลายคนที่มีชื่อเสียงในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ หรือแวดวงการเมืองท้องถิ่นต่างๆ ต่างก็เริ่มที่จะเสนอตัวเป็นว่าที่ผู้สมัคร ขณะที่พรรคขนาดใหญ่หลายพรรค ที่มีผู้ที่ต้องการเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งก็เห็นแล้วว่ามีหลายเขตและหลายคน การหาที่ลงเพื่อให้ตนเองได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งก็เป็นอีกแนวทางที่จะเกิดขึ้น แต่อย่าลืมว่าทีมยุทธศาสตร์พรรคก็มีแผนที่จะมาแก้เกม หรือการซื้อตัว หรือภาวะงูเห่า ซึ่งทั้งหมดก็อาจที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ถึงอย่างไรต้องจับตาในวันที่ 24 ส.ค.ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีท่าทีต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรจะไปต่อหรือพอแค่นี้ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด.

สถาพร เริงธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป

ยก 9 ปัจจัยหนุน 'เศรษฐา' นั่งเก้าอี้นายกฯอย่างมั่นคง-อยู่ยาว

ที่มีกระแสข่าวจากคว่ำร่างพรบ.งบประมาณรายจ่าย ปี 67 เพื่อเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี เป็นข่าวโคมลอย หรือการปล่อยข่าวทั้งสิ้น