นักกฎหมาย เตือนส.ส.เต้ ว่ายน้ำเปิดรับบริจาค เสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้งฯ

25 ต.ค.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณี นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เตรียมทำกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อให้ประชาชนร่วมกันบริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ว่าการทำกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงที่ผ่านมาโครงการ “One Man and The River หนึ่งคนว่ายหลายคนให้” เพื่อระดมทุนหาเงินสนับสนุน 2 โรงพยาบาลฝั่งไทยและฝั่งลาวของ “โตโน่” ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ดารานักแสดง กับเตรียมฟิตร่างกิจกรรมว่ายน้ำ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของ ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ เพื่อนำเงินบริจาคไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้น มีความแตกต่างกัน คือ “โตโน่” ภาคินฯไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองใดๆ และไม่ได้เล็งเห็นผลให้คนได้รับประโยชน์ทางการเมืองใดๆ

ทั้งไม่เป็นกรณีผู้ซึ่งจะประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ตามข้อ 5 (เพิ่มเติม ข้อ 18/1) ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 หากได้เทียบเคียงกับ ส.ส.เต้ มงคลกิตต์ฯ นั้น เป็นหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ ได้ประกาศเสนอตัวแก่ประชาชนทั่วไป เป็นซึ่งกรณีประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ตามระเบียบ กกต.ฯ ข้อ 18/1 จึงอยู่ในเกณฑ์ข้อบังคับของ กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. คือ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กำกับควบคุมโดย กกต.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 ,225 และตามกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 73 เป็นบทบัญญัติเด็ดขาด เป็นบทบังคับ กกต.ไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุมัติหรืออนุญาตได้ เพราะเป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด หากบุคคลใดฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 158,159 มีโทษทางอาญาและตัดสิทธิ์ทางการเมือง 20 ปี หากเป็น กก.บห.พรรคการเมือง เป็นผู้กระทำผิดเอง ตามกฎหมายพรรคการเมืองมีโทษยุบพรรค

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเหตุอุทกภัยต่างๆนั้น ประชาชนเดือดร้อนต้องการขอความช่วยเหลือ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและส.ส.ต้องเข้าใจไปดูแลให้ทั่วถึง โดยปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยได้ปลดล็อกให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น กทม. ,เมืองพัทยา,อบจ.,เทศบาล.,อบต. สามารถนำงบประมาณท้องถิ่นไปช่วยเหลือประชาชนได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะประชาชนได้รับการช่วยเหลือหรือเยียวยาได้โดยพลัน ส่วนนักการเมืองระดับชาติ ส.ส. มาจากตัวแทนภาคประชาชน มีหน้าที่หลัก คือ ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนและเป็นปากเป็นเสียงแทน

ส่วนที่สื่อมวลชนถาม จะขยายเนื้อหาข้อกฎหมายให้ประชาชนผู้สนใจการเมือง คอการเมือง และแฟนคลับแต่ละฝ่าย ให้เข้าใจถึงกฎหมายเลือกตั้งส.ส.เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่เขียนไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. เชื่อว่า ผู้ปฎิบัติหรือนักการเมืองย่อมสับสนว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ ดังนี้

(1)มาตรา 68(1) กำหนดกรอบเวลา 180 วันนับแต่วันที่ 24 กันยายน 2565 ถึงก่อนวันเลือกตั้ง ส.ส. แต่มีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 68(2) กรณียุบสภาให้นับแต่วันที่ยุบสภา ยุบสภาวันไหนให้นับวันนั้นถึงก่อนวันเลือกตั้ง ปัจจุบันรัฐบาลไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่า จะยุบสภาหรือไม่

(2)กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ห้ามผู้สมัคร แต่ในระเบียบ กกต.ห้ามถึงผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งด้วยใน มาตรา 73 ห้ามจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะ”โดยตรง”หรือ”โดยอ้อม”แก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด

ผลทางกฎหมาย หากเป็นการกระทำทุจริตการเลือกตั้ง ตามมาตรา 73 นอกจากมีโทษทางอาญาและตัดสิทธิทางการเมือง 20 ปี แล้ว กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 225 ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง อาจแจกใบส้ม ระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี ตาม มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224(4) ได้ คำสั่ง กกต.เป็นที่สุด ตามมาตรา 225 วรรคสอง ตัวอย่าง กรณีนายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 8 เชียงใหม่ แม้ชนะในคดีแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น ส.ส.ได้ เพราะ รัฐธรรมนูญให้อำนาจ กกต.ใช้อำนาจกึ่งตุลาการ เสร็จเด็ดขาดในองค์กร ทั้ง หากพบว่าผู้สมัครฯ ทุจริตการเลือกตั้งชัดแจ้ง ตามมาตรา 73 กกต.แจกใบแดง หรือใบดำ ตามพฤติการณ์ร้ายแรงแห่งคดี

ตามมาตรา 73(2) คำว่า “โดยตรง” หมายความถึง บริจาคด้วยตนเอง ส่วนคำว่า “ทางอ้อม “หมายความว่า ไม่ได้บริจาคเอง แต่มีพฤติการณ์หรือการกระทำ ส่วนหนึ่งส่วนใด เป็นเหตุจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันบริจาค ซึ่งกฎหมายบังคับเด็ดขาดว่า บริจาคให้แก่สาธารณกุศลหรือสถาบันใดๆ ไม่ได้ จะบริจาคเอง หรือรู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนให้บริจาคก็ตาม เข้าใจง่ายๆ คือ ให้คนอื่นบริจาคแทน แต่ตนเองได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น สร้างคะแนนนิยม เพื่อเอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นหรือพรรคการเมืองอื่น กฎหมายจึงห้ามเด็ดขาดทั้งโดยตรงและทางอ้อม เป็นต้น

ส่วน กรณี ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ ฯ ใช้เทคนิคหรือช่องว่างกฎหมาย คือ ให้ประชาชนบริจาคให้แก่สำนักนายกรัฐมนตรี หรือกู้ภัยต่างๆ หรือองค์กรอื่นใด โดยให้ผู้บริจาคโอนเงินบริจาคโอนตรงให้แก่หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยกู้ภัย เป็นต้น โดยเทียบเคียงกับ ส.ส.ไปเป็นประธานงานกฐิน แต่ไม่ได้บริจาค เห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกต้ังสมาชิกสภาผผู้แทนราษฏร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ข้อ 5 (18/1) และแนวทางการปฏิบัติและข้อควรระวังในช่วงระยะเวลาการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครและพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและหน่วยงานของรัฐ ที่กกต.ได้กำหนดแนวทางไว้ ในข้อ 1 (1.1) กรณีการระบุชื่อไว้เป็นประธานในงานกฐิน โดยผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองไม่ได้มอบเงินหรือทรัพย์สินของตนเอง สามารถกระทำได้

แต่ทั้งนี้ เจ้าภาพงานจะประกาศชื่อ หมายเลขสมัครของผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองในลักษณะช่วยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นหาเสียงเลือกตั้งไม่ได้”ตามแนวทางที่ กกต.ได้กำหนดไว้ มีความแตกต่างในวิธีจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในระหว่างประธานงานกฐิน กับ กิจกรรมว่ายน้ำเจ้าพระยา เพราะ หากไม่ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว การบริจาคย่อมไม่เกิดขึ้น หมายความว่า การจูงใจประชาชนทั่วไปไม่เกิด โดยเฉพาะตัว นายมงคลกิตติ์ฯ มีสองสถานะ คือ ส.ส.บัญรายชื่อและหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์

ดังนั้นการโพสต์ทางเฟซบุ๊กของ ส.ส.เต้ มงคลกิตต์ฯ เชิญชวนทำกิจกรรมให้ประชาชนร่วมกันบริจาค ตั้งเป้าไว้ 300 ล้าน แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริจาคของประชาชน และตนเองไม่ได้บริจาค เป็นการสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองและพรรคการเมืองของตนเอง การเชื้อเชิญให้ประชาชนร่วมกันบริจาคให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรสาธารณกุศลใดๆ ซึ่งเป็นการกระทำโดยทางอ้อม จูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 73(2) ทั้งสิ้น แม้จะอ้างว่า อยู่ระหว่างขออนุญาต กกต. แต่เล็งเห็นได้ว่า เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาด ประกอบกับ ซึ่งอยู่ในช่วง 180 วัน นับแค่วันที่ 24 กันยายน เป็นต้นไปจนถึงวันก่อนวันเลือกตั้ง การสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองหรือพรรคการเมืองของตนเองโดยทางอ้อม เป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอาเปรียบผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอื่น ตรงนี้พูดกันในข้อกฎหมาย คือ ไม่สามารถกระทำได้ สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ถามว่า กิจกรรมดังกล่าวสามารถขออนุญาต กกต.กระทำได้หรือไม่ ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า โดยสภาพข้อกฎหมายไม่สามารถเปิดช่องให้กระทำได้ และกกต.ไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการอนุญาตได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2560 เพราะการบริจาค แม้ไม่ได้บริจาคเองโดยตรง แต่เป็นการบริจาคโดยทางอ้อมให้แก่องค์กรสาธารณกุศลหรือสถาบันใดๆ เพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นข้อห้ามมาตรา 73(2) มีบทลงโทษฝ่าฝืนตามมาตรา 158 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 73(1) หรือ(2) มาตรา 75 มาตรา 76 หรือมาตรา 94 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนดยี่สิบปี ซึ่งจะเห็นได้ว่า แนวทางที่ กกต.ให้ไว้ เป็นการตีความโดยเคร่งครัด

ดังนั้นกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นการจูงใจอย่างหนึ่ง ให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเพื่อหวังผลทางการเมือง ปั่นกระแสให้แก่ตนเอง เพราะหาก ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ จะทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนบริจาค ตั้งข้อสังเกตว่า นับตั้งแต่ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2562 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2565 ระยะเวลาเกือบ 4 ปี เหตุใดถึง ส.ส.เต้ มงคลกิตติ์ฯ ถึงไม่ระดมทุนช่วยเหลือประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถเล็งเห็นได้ว่า ฤดูน้ำหลาก มีโอกาสน้ำท่วมทุกปีตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สั่งศูนย์ต้านเฟกนิวส์ สอบเพจรับบริจาคเงินช่วยเหตุบัสไฟไหม้

'ประเสริฐ' สั่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบเพจเปิดรับบริจาคเงินช่วยนักเรียนบัสมรณะ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

แจงเฟกนิวส์! ยัน ป.ป.ช. ไม่เคยชี้มูล กกต. ทำผิดรธน. หลัง 'ณฐพร โตประยูร' กล่าวหา

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าว “ป.ป.ช. สอบ กกต. ถอดถอนทั้งคณะทำผิด รธน. – อดีตที่ปรึกษ