'ชวน' ขอร้องสมาชิกอย่าสกัดกฎหมายสมัยสุดท้าย เตือนใช้วุฒิภาวะอภิปรายแก้รธน.

'ชวน' แจงประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษเพื่อให้ร่างกฎหมายสามารถผ่านการพิจารณาไปได้ทั้งหมด ขอร้องสมาชิกอย่าสกัดกฎหมาย สมัยสุดท้าย เตือนใช้วุฒิภาวะในการอภิปรายแก้รธน.

8 ก.พ.2566 - ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึงกรณีการนัดประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษว่า เพื่อให้ร่างกฎหมายต่างๆ สามารถผ่านการพิจารณาไปได้ทั้งหมด เพราะหากนัดประชุมในวาระปกติก็มีร่าง พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การศึกษาแห่งชาติค้างอยู่ อาจทำให้ร่างกฎหมายที่ต่อคิวอยู่ล่าช้าได้ จึงกำหนดวาระพิเศษเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา159 และ 272 เรื่องตัดอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี และที่มาของนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาพิจารณาเรื่องละ1 วัน เพื่อให้งานสภาขับเคลื่อนไปได้ไม่มีกฎหมายค้างอยู่เหมือนร่างกฎหมายกัญชา กัญชง ที่สกัดกั้นไม่ให้ร่างกฎหมายอื่นได้พิจารณา

นายชวน กล่าวอีกว่า การนัดประชุมวิป 3 ฝ่ายเมื่อวานนี้(7ก.พ.) เพื่อกำชับให้สมาชิกใช้วุฒิภาวะในการอภิปราย อย่าก้าวร้าว เหยียดหยาม หยาบคาย กับวุฒิสภา ให้ เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายอย่างผู้มีวุฒิภาวะ หากทำได้เช่นนั้นข้อขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว. ส่วนหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ด่าหรือตำหนิวุฒิสภา และเป็นที่มาของการไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุมของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน ในช่วง4 ปี ที่ผ่านมา ทั้งนี้จะมีส.ส. แสดงความประสงค์อภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกือบ10 คน เชื่อว่าจะสามารถลงมติได้ไม่เกิน 14.00 น. ของวันนี้ ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 152 ก่อนที่สัปดาห์สุดท้ายจะพยายามพิจารณาเรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้ครบทุกเรื่อง โดยขอร้องสมาชิกอย่าสกัดกั้นกฎหมาย ขอให้ผลงานได้ออกมา

นายชวน กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เสอกฎหมายใหม่เข้ามาเพิ่มอีก 3-4 ฉบับ จึงได้โทรศัพท์ไปพูดคุยสอบถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า”ไหนบอกว่าจะไม่ส่งมาแล้ว” โดยนายวิษณุชี้แจงว่าเป็นเรื่องที่คณะกรรมการประสานงานส่งมา ในส่วนของรัฐบาลไม่มีแล้ว ดังนั้นจึงทำหนังสือ ส่งไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า จากการตรวจสอบจำนวนสมาชิก เมื่อ 6 ก.พ. ฝ่ายรัฐบาลยังมีเสียงข้างมาก หากต้องการให้กฎหมายหรือญัตติใดผ่าน ทำได้โดยใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างจำกัด ด้วยการ รักษาองค์ประชุมให้ครบ เพราะสภาฯชุดนี้ยังอยู่ได้จนถึง 23 มี.ค.2566 และสามารถเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้ โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษก ปชป. ยืนยันไม่จริง 'ชวน' หมดสิทธิลงสมัคร สส. มั่นใจ 'เฉลิมชัย' ไม่คิดเช่นนี้

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถีงกรณีที่มีบุคคลให้ข่าวว่า “ชวน หลีกภัย” อาจหมดสิทธิลงสมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งระบบเขต และบัญชีรายชื่อว่า

'ติ๊งต่าง' จี้ ปชป. แจงข่าวลือจะไม่ส่ง 'ชวน' สมัคร สส. ถ้าจริงต้องมีคำตอบให้สังคม

นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ “ติ๊งต่าง” เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับ และแกนนำกลุ่ม ชาวไทยหัวใจรักสงบ อดีตแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีข่าวลือว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ส่งคุณชวนลงสมัครสส.เขต และไม่ให้เป็นสส.บัญชีรายชื่อ

ฝ่ายค้านกู้ศรัทธา? 'พิธา' บอกลาสภา

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้านนำโดยพรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ ซ้อมใหญ่ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมสภาหน้าตามรัฐธรรมนูญ 151

'นิพิฏฐ์' ซัด ปชป.ตาขาวไม่ป้อง 'ชวน' โต้นายกฯเก็บค่าผ่านทาง 5 บาท 10 บาท

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊ก "ประเทศปกครองด้วยกฎหมาย มิใช่ปกครองโดยรัฐบาล" ระบุว่า ผมฟัง นายกเศรษฐา ปะทะคารม กับอดีตนายกชวน หลีกภัย ในสภาเมื่อวาน ก็เพียงคิดเล่นๆ