รัฐสภาล่มครั้งที่ 5! ส.ว.หายต๋อมปมแก้รัฐธรรมนูญตัดอำนาจ

สมฉายา 3 วันดี 4 วันล่ม รัฐสภาล่มต่อครั้งที่ 5 ส.ว.ลงชื่อบางตา ก้าวไกลชี้เล่นเกมองค์ประชุม ทำหมันแก้ รธน. ยกเลิกอำนาจโหวตนายกฯ

08 ก.พ.2566 - ที่รัฐสภามีกำหนดการนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในเวลา 09.00 น. เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ... มาตรา 159 เพิ่มที่มานายกรัฐมนตรี และยกเลิกมาตรา 272 อำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ ที่ฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอ แต่ปรากฏว่าเวลาล่วงเลยไปกว่า 1 ชั่วโมง ก็ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ทำให้นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ลุกขึ้นหารือต่อที่ประชุมว่า ไม่ทราบจะต้องรอถึงเมื่อใดจึงจะสามารถเปิดประชุมได้ ฝ่ายค้านอยากทราบว่ามีกำหนดรอเวลาเปิดประชุมหรือไม่ อย่างไร หากเปิดประชุมไม่ได้ก็จะได้เลิกประชุม ถ้ารอต่อไปเปลืองค่าแอร์

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า ส.ส.มาเกินครึ่งแล้ว เหลืออีกเพียง 30 คนก็จะเปิดประชุมได้ ขอให้ ส.ว.รีบดื่มน้ำชากาแฟแล้วเข้าห้องประชุม

จากนั้นนายจิรายุลุกขึ้นอีกครั้งแจ้งว่าประเพณีปฏิบัติไม่มีกำหนดเวลารอ จึงอาจรอต่อไป หรือไม่ก็อาจต้องอดทนรออีก 4 ชั่วโมง

ต่อมาเวลา 11.00 น. นายธีระชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก.กล่าวว่า ขณะนี้ ส.ว.มาร่วมลงชื่อ 44 จาก 250 คน ส่วนส.ส.มาร่วมลงชื่อ 275 จาก 500 คน ถือว่าส.ส.ร่วมลงชื่อเกินกึ่งหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม จนถึงเวลานี้ถือว่าเลยมาแล้ว 2 ชั่วโมงจากที่นัดไว้ วันนี้เป็นการประชุมเพื่อยกเลิกอำนาจของ ส.ว.โหวตนายกฯ แต่ ส.ว.ไม่มาร่วมประชุม จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า สมาชิกรัฐสภาเล่นเกมองค์ประชุมหรือไม่ ตัดอำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วฝ่ายนั้นไม่มา เป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

กระทั่งเวลา 11.09 น. ที่ประชุมสามารถเปิดประชุมได้ ซึ่งมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีสมาชิกมาร่วมลงชื่อ จำนวน 342 คน แบ่งเป็น ส.ว. 51 คน และส.ส. 291 คน แต่ยังไม่สามารถเข้าสู่วาระการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากที่ประชุมขอให้ลงมติในญัตติที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว .เสนอค้างไว้เมื่อวันที่ 25 ม.ค. กรณีการประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษ ดำเนินการถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เนื่องจาก ส.ว.ไม่มีส่วนรู้เห็นในการจัดระเบียบวาระประชุมดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมเสียเวลารอให้สมาชิกมาแสดงตนเพื่อลงมติในญัตตินี้นานร่วม 1 ชั่วโมง โดยมีสมาชิกรัฐสภามาแสดงตนเป็นองค์ประชุมเพียง 308 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุม นายชวนจึงสั่งปิดการประชุมในเวลา 12.05 น. ทั้งนี้ นายชวนแจ้งว่า วันนี้ ส.ส.แจ้งลาประชุม 15 คน ส่วน ส.ว. 95 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาล่มเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ต้นปี 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ