'กกต.' ตอบ 'ก้าวไกล' ชัดปมจ้างคนนอกสังเกตการณ์​นับคะแนนหลังปิดหีบ

“กกต.” ตอบข้อซักถาม”ก้าวไกล” ปมจ้างคนนอกสังเกตการณ์​นับคะแนนหลังปิดหีบ​ ชี้สามารถทำได้แต่ต้องสอดคล้องกับค่าแรงแต่ละจว.​ ส่วนอาสาสมัครไม่รับค่าจ้างพรรค​ ต้องนำมาคำนวณค่าใช้ลต.ด้วย

7 พ.ค. 2566 – เมื่อวันที่​ 6 พ.ค.66 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง​ (กกต.)​ ได้ทำหนังสือตอบข้อสอบถามกรณีพรรคก้าวไกลได้ขอสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติของพรรคการเมืองให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง หรือข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศกกต.

โดยพรรคก้าวไกลได้สอบถามว่าในวันเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง สามารถจ้างแรงงานบุคคลให้สังเกตการณ์การนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้ง หลังปิดหีบเลือกตั้ง​ หรือจ้างแรงงานผู้สังเกตการณ์การทุจริตในการออกเสียงลงคะแนนโดยประจำอยู่ที่บริเวณนอกหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งมิใช่บุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งเป็นผู้แทนพรรคการเมืองเพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ได้ใช่หรือไม่ และกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง สามารถจ้างแรงงานบุคคลได้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชี​รายชื่อ​ สามารถ​จ่ายค่าจ้างแรงงานในอัตราค่าตอบแทนตามความเหมาะสม เช่น ในอัตรา 500 บาท ต่อวัน ได้หรือไม่​ โดยสำนักงานกกต.พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถจ้างได้ โดยการจ่ายค่าจ้างแรงงานควรสอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัด

นอกจากนี้ยังได้สอบถามกรณีที่บุคคลซึ่งพรรคการเมืองแจ้งเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง อันเป็นกรณีพรรคการเมืองได้ดำเนินการตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่ประสงค์รับค่าจ้างตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่สังเกตการณ์การเลือกตั้ง และไม่รับค่าจ้างตอบแทนในการดำเนินการดังกล่าว เช่นนี้ พรรคการเมืองจะต้องคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือไม่​ โดยสำนักงานกกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า พรรคการเมืองต้องนำไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

และข้อสอบถามสุดท้ายกรณีการดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ วันสุดท้ายที่พรรคการเมืองสามารถดำเนินการสรรหาผู้สมัครดังกล่าวได้ คือวันก่อนวันเริ่มรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ใช่หรือไม่​ สำนักงานกกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า ต้องดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 47 ถึง มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

'ช่อ' ฟาดกลับ กกต. เอาอำนาจอะไรมาห้ามรณรงค์ประชาชนสมัคร สว. บอกมาให้ชัดผิดระเบียบข้อไหน

นางสาวพรรณิการ์ วานิช อดีต สส.พรรคบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และโฆษกคณะก้าวหน้า กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกประกาศว่าไม่สามารถจูงใจหรือชี้ชวนบุคคลให้สมัครเป็น สว. ได้ ว่า เรื่องนี้ต้องแยกให้ชัดว่า กกต. กำลังทำอะไรอยู่กันแน่

เปิดระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน​กรรม​การ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ ได้ลงนามในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.2567

ชงไทยบี้เมียนมา งดขายน้ำมันให้ เจรจาสันติภาพ

"โรม" เสนอให้ไทยงดขายน้ำมันให้ "เมียนมา" ปูดใช้ไทยฟอกเงินเครือข่ายซื้ออาวุธที่ใช้ปฏิบัติการ เตือนถูกดึงไปเอี่ยวร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์