ดุสิตโพลเผยคนไทยตระหนักรู้พฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น

25 มิ.ย. 2566 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 พบว่า ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับมาก ร้อยละ 50.78 โดยมองว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยระดับปานกลาง ร้อยละ 48.54 ทั้งนี้เห็นว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยแสดงออกได้โดยการเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่น ร้อยละ 92.69 ความสำคัญของพฤติกรรมประชาธิปไตยทำให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็น มุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ร้อยละ 75.29 อุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตย คือ การถูกแทรกแซง ควบคุมอำนาจ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 70.57 ส่วนการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ร้อยละ 72.27

จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความตระหนักรู้ในพฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น เห็นความสำคัญของส่วนรวมโดยมองว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงแค่การออกไปเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่นด้วย ทั้งนี้แม้ประชาชนจะเห็นความสำคัญของประชาธิปไตยมากเพียงใด แต่หากถูกควบคุม ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ก็ยังไม่สามารถไปถึงจุดที่เรียกว่า “มีความเป็นประชาธิปไตย” ได้อยู่ดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สวนดุสิตโพล ร่วมกับ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรมเสวนากลุ่ม เรื่อง “พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ผลจากการเสวนา พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องพฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมทั้งการจัดให้มีเวทีดีเบตของสื่อมวลชนหลายสำนักแต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยและอุปสรรคในด้านกฎหมาย จึงควรเพิ่มการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตย เปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออก

โดยผลจากวงเสวนาสอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพลที่เห็นว่าควรส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของผู้แทน ดังนั้น “พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” จึงแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจของประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

'สวนดุสิตโพล' เผยดัชนีการเมืองไทยเดือนก.พ.เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อย

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,335 คน

ดัชนีครูไทยปี66 ปชช.เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น จุดด้อยมีปัญหาหนี้สิน 66.56%

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 19 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ

ดุสิตโพล เปิดผลเหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2566 เรื่อง ก้าวไกล ชนะเลือกตั้งนำอันดับ 1

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2566” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,398 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)

'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยกังวลปัญหาฝุ่น PM 2.5

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,123 คน สำรวจระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างวิตกกังวลกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 48.89 โดยมองว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5