'วิษณุ' เชื่อศาล รธน. ใช้เวลาไม่นานมีคำสั่งปมมติสภา ชี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง

“วิษณุ” คาดได้นายกฯ ส.ค.นี้ แต่ยังทำงานไม่ได้ เหตุตั้งครม.ก่อน ชี้ รอฟังศาลรธน.วินิจฉัย ปมข้อบังคับ 41 เสนอชื่อนายกฯซ้ำ ปิดทางนายกฯคนนอก บอก วุ่นวายยุ่งยากหลายขั้นตอน

24 ก.ค.2566 - เมื่อเวลา 15.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีการถกเถียงกันว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจ ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องข้อบังคับการประชุมที่ 41 ว่าจะสามารถเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เข้าสู่กระบวนการเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่ 2 ได้หรือไม่ ว่า ขอไม่ตอบในเรื่องนี้ เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินชี้แล้ว ก็ต้องเคารพท่าน เมื่อผู้ตรวจการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ต้องรอฟังศาลรัฐธรรมนูญก็แล้วกัน

ส่วนเรื่องการเลื่อนโหวตนายกครั้งที่สามในวันที่ 27 ก.ค.นั้น ก็เป็นธรรมดาและได้ยินว่าสภาฯ ก็จะเลื่อนอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ว่าจะเลื่อนไปนานแค่ไหน ก็แล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่ง ระหว่างนี้ก็คุ้มครองชั่วคราวไปก่อน ซึ่งตนคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะไม่ใช้เวลานาน เพราะเป็นปัญหาในเรื่องข้อกฎหมายไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง แต่ต้องให้เวลาพอสมควรเพื่อให้อีกฝ่ายชี้แจง

เมื่อถามว่ารัฐสภาจะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็อยู่ที่ศาลว่าจะสั่งชั่วคราวก่อนหรือไม่

เมื่อถามว่าปฏิทินการได้นายกฯและรัฐบาลที่ล่าช้าอย่างน้อยที่สุดควรจะได้เมื่อไหร่ นายวิษณุกล่าวว่า เขยิบแค่นี้เรายังรู้สึกเดือดร้อน ทนไม่ไหวใครที่ช่างคิดให้เขยิบไปอีก 10 เดือน ซึ่งหากเขยิบก็คงไม่มากเท่าไหร่

"ผมยังมองในแง่ดีว่าในเดือนส.ค. จะได้รัฐบาล แต่ว่าอาจจะยังทำงานไม่ได้ เพราะจะต้องตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ รวมถึงแถลงนโยบายด้วย"

เมื่อถามว่าหากหาทางออกไม่ได้จริงๆนายกฯคนนอกมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ยากมาก เพราะการที่จะมีนายกฯคนนอกจะต้องใช้มาตรา 272 วรรคสอง ซึ่งต้องอาศัยเสียงเสียง 500 คนก่อน และยังต้องอาศัยเสียง 376 คนอีก มันวุ่นวาย ยุ่งยากหลายขั้นตอนไม่มีใครคิดไปถึงขั้นนั้น

เมื่อถามว่าหากเลยเดือนส.ค.ไปรัฐบาลรักษาการจะต้องมีการเตรียมการอะไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีอะไรที่ต้องเตรียม เพราะการแต่งตั้งโยกย้าย สามารถทำได้ แต่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ตนเป็นห่วงว่าจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเกษียณอายุหลายจังหวัด ซึ่งตนก็บอกไปว่าก็เสนอการแต่งตั้งไปตามปกติและไปขอความเห็นชอบจากกกต. ส่วนงบประมาณก็ใช้งบกลางปี 2566 ไปพลางก่อน ทั้งในส่วนของงบทำการ เงินเดือน และค่าตอบแทน ส่วนการทำโปรเจคใหม่ๆนั้นทำไม่ได้ รวมทั้งการเสนอกฎหมายงบประมาณเข้าสภาฯก็ทำไม่ได้ หากสภาฯมีกระทู้ถามรัฐบาลก็ยังต้องไปตอบอยู่

เมื่อถามว่าตั้งแต่รับราชการมาเคยเจอสถานการณ์การเมืองแบบนี้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนอยู่ ในช่วงเวลาที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลมาแล้ว 11 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน ใจหายใจคว่ำแต่ก็ผ่านไปได้ ซึ่งไม่เหมือนปัญหาอย่างทุกวันนี้แต่จะน่าตื่นเต้นโลดโผน และเราก็นึกว่าแย่แล้วแต่มันก็ไม่แย่ มันก็ผ่านพ้นไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยุติสอบฮั้วเลือก สว. ชี้ไม่เข้าเงื่อนไขส่งศาลรธน.

พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์  เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีมีการร้องให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา  (สว.) เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการฮั้วเลือสว.

กังขา 'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' โดดอุ้มทุนโปแตช

ชาวบ้านด่านขุนทดคัดค้านเหมืองโปแตช กังขาผู้ตรวจการแผ่นดินร้อนรนอุ้มนายทุน เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ้างสรุปผลการแก้ไขเรื่องร้องเรียนผลกระทบ ขณะที่ชุดคณะกรรมาธิการวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรยังอยู่ในระหว่างกำลังดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่

'พิธา' นำ สส.ปชน. ร่วมงานประเพณีวิถีไทย ไหว้พระขอพรวันสงกรานต์ที่เชียงใหม่

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาประธานคณะก้าวหน้า และบุตรสาว หรือน้องพิพิม พร้อมด้วย สส.เชียงใหม่ และ สส.กทม. ของพรรคประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมประเพณี วิถีน้ำ วิถีไทย ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

นักวิชาการ ม.ฮาร์วาร์ด แจงกลับมาเล่นน้ำสงกรานต์โดยเฉพาะ ไม่ได้ปาดหน้าทักษิณ

'พิธา' เผย แอ่วเหนือเล่นสงกรานต์ ไร้นัยยะทางการเมือง เหตุ มีเลือกตั้งซ่อม ต้องระมัดระวังการหาเสียงในงานรื่นเริง บอก ไม่แปลกใจ '

'พิธา' จี้รัฐบาลค้นหาต้นตอสารหนูปนเปื้อนแม่น้ำกก รีบชี้แจงข้อเท็จจริงให้ปชช.คลายกังวล

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาประธานคณะก้าวหน้า กล่าวถึงกรณีการพบสารปนเปื้อน หรือสารหนูในแม่น้ำกก จ.เชียงราย ว่าจากที่ได้รับฟังข้อมูลจากคณะกรรมการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สะท้อนได้ว่าการดูแลสิ่งแวดล้อม

'อ.ไชยันต์' มั่นใจไม่มีปัญหาลักษณะต้องห้าม สมัครตุลาการศาลรธน.คนใหม่

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้มีการปิดรับสมัครไปเมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา