กูรูมาแล้วจ้า! 10 ปรากฏการณ์การเมืองสำคัญที่จะเห็นในปี 2565

4 ม.ค.2565 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

10 ปรากฏการณ์การเมืองสำคัญที่จะเห็นในปี 2565

1. ปรากฏการณ์ขาลงอย่างต่อเนื่องในคะแนนนิยมของพลเอกประยุทธ์ เนื่องจากทั้งไม่มีผลงาน และคนเบื่อหน่ายในบุคลิกภาพ ไม่สามารถเป็นผู้นำประเทศในสายตาประชาชนได้

2. การพยายามใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อสร้างคะแนนเสียงให้แก่พรรครัฐบาล โดยมุ่งหวังคะแนนนิยมในการเลือกตั้งครั้งต่อไปโดยไม่คำนึงถึงฐานะการเงินการคลังของประเทศ

3. การทำหน้าที่ของ ส.ส.ในสภา ที่ให้ความสำคัญต่อการลงพื้นที่หาคะแนนเสียง มากกว่าการทำหน้าที่ในสภา ซึ่งนำไปสู่สภาล่มบ่อยครั้งขึ้น

4. การเร่งรัด แก้ไข กม.ลูก 2 ฉบับ คือ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ที่เอื้อต่อพรรคใหญ่ แต่อาจไม่สำเร็จโดยง่าย เนื่องจากยังมีกับดักในรัฐธรรมนูญอีกมากมาย

5. ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายก ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองและประชาชน แต่จะติดขัดในขั้นวุฒิสภา หรือหากผ่านวาระหนึ่ง อาจมีการยุบสภา เพื่อหนีการแก้ไขกติกา

6. คณะผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะเริ่มหาทางสืบต่ออำนาจ โดยหาตัวผู้เล่นใหม่ หรือตั้งพรรคการเมืองที่ดูคล้ายว่าแตกต่างเพื่อให้ประชาชนเลือก แต่ท้ายสุดคือพวกเดียวกัน

7. พรรคการเมืองขนาดใหญ่ จะเนื้อหอม คนไหลเข้า หรือแม้อยู่คนละพรรคที่เป็นคนละฝ่าย ก็ยังเผื่อช่องทางแยกตัวออกมาร่วมในอนาคตในจังหวะนาทีสุดท้าย

8. การยุบสภาเกิดได้ตลอดเวลา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป

9. ประเด็น ครบ 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จะเป็นประเด็นร้อนตลอดปี ตั้งแต่ ต้นปี 2565 ไม่ออกไม่เลิก และร้อนขึ้นเรื่อยๆ

10. อย่าคิดว่า รัฐประหาร จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น และอย่าคิดว่า รัฐประหารแล้วจะอยู่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป