อดีตสว.สมชาย อัดเพื่อไทย-พรรคส้ม ผลประโยชน์ทับซ้อน ชำเรารัฐธรรมนูญ

21 ก.ย.2567 - นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่เป็นแกนนำหลักของอดีตกลุ่ม 40 สว.สมัยที่ผ่านมา ซึ่งร่วมกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในคดีเศรษฐา ทวีสิน จนทำให้นายเศรษฐา พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมฯ กล่าวถึงการที่พรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในขณะนี้ว่าเห็นได้ชัดว่า การยื่นแก้ไขรธน.ครั้งนี้ เป็นการทำเพื่อนักการเมืองและพรรคการเมือง ไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม การเสนอแก้ไขรธน.รายมาตรา ทั้งเรื่องอำนาจศาลรธน.หรือแก้ไขเรื่องมาตราฐานจริยธรรมของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรี ไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงไหน มันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของพวกคุณด้วยซ้ำไป ไม่เชื่อว่าประชาชนจะลงประชามติเห็นด้วยกับร่างที่เสนอฯ

นายสมชายกล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาจากความเห็นชอบของประชาชนผ่านการทำประชามติ 16 ล้านเสียง แต่ก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แก้ไขไม่ได้ หลักสำคัญสามอย่างที่ยังคงยืนมั่นอยู่ในรัฐธรรมนูญคือ หนึ่ง หลักแก้ไขไม่ได้เลย ก็คือ เรื่องรัฐไทยเป็นหนึ่งเดียว สอง แก้ง่าย ที่ก็เคยแก้ไขมาแล้วในรัฐสภาสมัยที่ผ่านมาคือแก้ไขกติกาการเลือกตั้งเปลี่ยนจากระบบเลือกตั้งส.ส.แบบบัตรใบเดียวเป็นบัตรสองใบ สาม แก้ยาก ที่เป็นหลักความคุ้มครองหลักนิติรัฐ นิติธรรม และการปฏิรูปประเทศ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมถึงองค์กรอิสระที่ใช้อำนาจหน้าที่ต่างๆ การออกแบบให้มี ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่เพิ่งเกิดในรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่เกิดมาตั้งแต่รธน.ปี 2540 โดยที่ผ่านมาทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี กรณีที่เสนอแก้ไขรธน.เรื่องศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านคือพรรคประชาชน อาจจะมีการแสวงจุดร่วมเพราะทั้งสองฝ่าย ได้เคยถูกศาลรธน.วินิจฉัยโดยหลักนิติรัฐ-นิติธรรมแล้วทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการป้องกันไม่ให้คนไม่ดี เข้ามามีอำนาจ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติเรื่อง รัฐมนตรี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฯต้องไม่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) ปัญหามันจึงอยู่ที่ตัวบุคคล ไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ และไม่ได้อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหามันอยู่ที่ดุลยพินิจ และการเลือกใช้คนรัฐธรรมนูญปี 2560 จึงออกแบบมาให้ นายกรัฐมนตรี พรรคการเมือง ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ด้วยการต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และไม่ประพฤติผิดมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อมาบริหารประเทศ

“รัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ(5) เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วและยิ่งชัดมากขึ้นเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา ยิ่งเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เป็นเรื่องที่วิญญูชนรู้ดีอยู่แล้วว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็นอย่างไร อย่างเช่นเรื่องถุงขนมสองล้านบาท เรื่องนี้ก็เพียงแค่คนไหนมีปัญหาก็อย่าตั้งให้มีตำแหน่ง ถ้าตั้งโดยซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีเบื้องลึกแอบแฝงมา หรือเป็นเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน ก็ตั้งได้ทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญไม่ได้มีปัญหา ไม่ได้มีความผิด ไม่อย่างนั้นประเทศชาติไปไม่ได้ ถ้าไม่มีกรอบกติกา การจะเสนอแก้ไขรธน.โดยอ้างว่า รธน. มาตรา 160 (4) และ (5)  บัญญัติไม่ชัดเจนนั้น มันเป็นความไม่ชัดเจนของพวกคุณกันเอง เพราะมีทั้งคำตัดสินของศาลฎีกา และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องมาตรฐานจริยธรรมฯ ออกมาแล้ว"

นายสมชาย อดีตสว.กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังเริ่มดำเนินการต่อจากนี้ ไม่เชื่อว่าประชาชนจะลงประชามติเห็นด้วย อยากจะแก้ไข ก็ทำกันไปในรัฐสภา จะได้เป็นการพิสูจน์ว่า พรรคเพื่อไทย ที่กำลังจะเข้าไปลิดรอนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เช่นการแก้ไขให้การลงมติวินิจฉัยคดีในการให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องพ้นจากตำแหน่งต้องใช้เสียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อย ใน เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว -พวกพ้อง หรือทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลเอง ไม่ว่าจะเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา จะไปเห็นพ้องด้วยหรือไม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ไม่เชื่อว่าประชาชนจะออกเสียงประชามติให้ผ่าน

        นายสมชาย -อดีตสว. ยังกล่าวถึงกรณี พรรคเพื่อไทย เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ผลการลงมติให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่งโดยใช้เสียง ใน ของตุลาการศาลรธน.ที่ปฏิบัติหน้าที่ โดยกล่าวว่า ถ้าแบบนี้ เหตุใดไม่แก้เรื่องการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาฯ และวุฒิสภาไปด้วย โดยแก้ว่า ร่างพรบ.ที่จะผ่านความเห็นชอบจากสภาฯและวุฒิสภา ต้องได้เสียงเห็นชอบจากสมาชิกไม่น้อยกว่า ใน ของสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ ทำไมให้ใช้เสียงแค่เกินกึ่งหนึ่งของสภาฯ ของสภาฯที่มีส.ส. 500 คน สว. 200 คน ซึ่งเมื่อก่อนเวลามีประชุม เช่น สว.มาไม่ถึงครึ่งหนึ่ง สว.ลงมติเสียงข้างมาก 80 เสียง ต่อ 70 เสียง กฎหมายก็แก้ไขได้แล้ว ไม่ถึงกึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ จนกระทั่งมีคำวินิจฉัยศาลรธน. จนรัฐธรรมนูญเขียนในเวลาต่อมาว่าสมาชิกต้องมาเป็นองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง และเสียงเห็นชอบต้องมีเกินกึ่งหนึ่ง การวินิจฉัยคดีของศาลรธน. ไม่ได้วินิจฉัยแบบชุ่ยๆกว่าจะออกคำวินิจฉัยมา ต้องมีการไต่สวนคดี กว่าจะออกมาเป็นคำวินิจฉัย ศาลต้องรับผิดชอบต่อบ้านเมืองอยู่แล้ว ไม่ว่าเสียงข้างมากจะออกมาอย่างไร จะเป็น ต่อ 4 หรือ ต่อ ก็ต้องใช้ดุลยพินิจกันเยอะ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนต้องเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนเวลาวินิจฉัยคดีต่างๆ แล้วส.ส.เคยเขียนอะไรหรือไม่เวลาส.ส.ลงมติเรื่องต่างๆ หากเข้าใจเรื่องนี้ มันก็เหมือนกันคือเป็นเรื่องหลักการเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ถูกต้องเหมาะสมแล้วสำหรับการลงมติวินิจฉัยคดีของศาลรธน.ไม่จำเป็นต้องมาแก้ไขโดยให้เป็นมติ ใน แต่อย่างใด 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พริษฐ์' ยันต้องแก้รธน.ทั้งฉบับ เพราะขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เร็ว ต้องแก้รายมาตรา ว่า เป็นความเห็นของนายวิษณุ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ 

‘สมชาย’ ซัด อดีตผู้เสนอ พรบ.นิรโทษฯสุดซอย กำลังรุกฆาตกองทัพ-สถาบันหลักของชาติ

กฎหมายไม่กี่มาตรานี้ จะทำให้กองทัพอ่อนแอ ทั้งที่พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมพ.ศ.2551 คือฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ดีอยู่แล้ว ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซงกองทัพ เหมือนสมัยระบอบทักษิณเรืองอำนาจในอดีต

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ

สว.พันธุ์ใหม่ อ้างต่างประเทศใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำผลประชามติบิดเบือน

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ไม่ว่ามติของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะออกมาเป็นอย่างไร

'วราวุธ' ย้ำ 'ชทพ.' ยึดธง 'แก้ รธน.' ตามแบบปี 40 ชี้ หากจะแก้ทั้งที ควรใช้เวลา

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพั