'ไอติม' ตามหา 'อุ๊งอิ๊งค์' หายไปจากบทสนทนาแก้รธน.

‘ไอติม’  เหน็บ ‘นายกฯ’ หายจากบทสนทนาแก้รัฐธรรมนูญ  แม้เคยแถลงนโยบายในรัฐสภา ชี้หากสภาสูงเตะโด่งปิดประตูฉบับใหม่บังคับใช้ทันเลือกตั้ง 70

9 ก.พ.2568 – ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน​ กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ผ่าน ม.256 เปิดประตูเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ซึ่งจัดโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 

โดยนายพริษฐ์ กล่าวว่า หากลองคำนวณตามไทม์ไลน์ระยะเวลาแล้ว หากที่ประชุมรัฐสภาไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมี สสร. ในวาระ 1 วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้นั้น การที่เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ทันต่อการเลือกตั้งปี 2570 ก็จะเป็นไปไม่ได้เลย จึงถือว่าวันดังกล่าวจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราจะยังคงความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันต่อการเลือกตั้งครั้งถัดไป ซึ่งตนเองมองว่าฝ่ายการเมืองที่มีความเกี่ยวกับข้องกับเรื่องนี้อาจจะยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่มากพอ นั่นคือน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่หายไปจากบทสนทนาเรื่องรัฐธรรมนูญ และต้องยอมรับว่าเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่แค่นโยบายของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่เคยแถลงต่อรัฐสภาไว้ด้วย โดยขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 5 วันเท่านั้นก่อนจะถึงวันที่มีการพิจาณาในวาระที่ 1

”ทั้งนี้ อย่าว่าแค่นายกรัฐมนตรีจะพูดถึงเลย แต่ปกติเราจะเห็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอร่างเข้ากฎหมายต่างๆ เข้ามาประกบด้วยไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอะไรก็ตาม แค่ทำไมเมื่อเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญเราจึงเห็นเพียงแค่ร่างของพรรค พท. หากจะบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภา ไม่ใช่เรื่องฝ่ายบริหารนั้น เราจะมองเช่นนั้นไม่ได้ เพราะเราอยู่ในระบบรัฐสภา ที่เลือกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติแยกกัน เนื่องจากฝ่ายบริหารอยู่ได้เพราะได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายสภา ฉะนั้น หัวหน้าฝ่ายบริหารหรือนายกรัฐมนตรีย่อมถูกคาดหวังให้รับผิดชอบงานของรัฐบาลในสภาด้วย นั่นคือการแก้กฎหมายในสภา อีกทั้งยังมีเรื่องการโน้มน้าวเสียงในสภาด้วย และระยะเวลาก่อนที่จะมีการพิจารณาในวาระที่ 1 นั้น ผมจึงอยากเห็นนายกรัฐมนตรีออกมาช่วยกันอีกหนึ่งแรงเพื่อให้นโยบายเรือธงอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนั้นประสบความสำเร็จและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาได้“ นายพริษฐ์ กล่าว

เมื่อถามว่า ที่มีความกังวลว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนเองมองว่ามี 4 โจทย์ที่หากจะมี สสร.แล้วต้องไปขบคิดกันคือ 1.วุฒิสภา ที่เราต้องไปคิดกันว่าสุดท้ายต้องออกแบบระบบรัฐสภาแบบสภาเดี่ยวหรือสภาคู่ หากสภาคู่ที่มีวุฒิสภาด้วยนั้นเราจะทำอย่างไรให้วุฒิสภามีที่มาและอำนาจสอดคล้องกันมากขึ้นตามระบบสากลที่หากวุฒิสภาจะมีอำนาจสูงต้องที่มาจากการเลือกตั้งและยึดโยงกับประชาชน 2.ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ประชาชนคาดหวังให้เข้ามาทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง เป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 นั้นมีการออกแบบให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีการขยายขอบเขตอำนาจ เช่น เรื่องการยุบพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่มา ที่เราจะทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งคนที่ประชาชนเชื่อมั่นจริงๆ รวมถึงกลไกการให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ ที่ในอดีตประชาชนสามารถเข้าชื่อถอดถอนได้ แต่ในปัจจุบันสิทธิ์เหล่านี้กลับหายไป

 นายพริษฐ์  ระบุว่า 3.การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้เขียนเรื่องของการกระจายอำนาจแม้แต่คำเดียว และเนื้อหาสาระก็ถูกมองได้ว่ามีบทบัญญัติที่ทำให้การกระจายอำนาจไม่ได้คืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น และ 4.นโยบายของรัฐบาลที่ยังถูกครอบงำโดยยุทธศาสตร์ชาติของ คสช. ที่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้นโยบายของรัฐบาลไม่คล่องตัวหรือเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้เท่าที่ควร 

นายพริษฐ์ ระบุว่า สำหรับการแก้เกณฑ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากเดิมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้จะแก้ไขเพียงแค่ถ้อยคำเดียวต้องอาศัยเสียงของรัฐสภาทั้งหมด 3 ส่วนคือ ต้องได้เกิน 50% แต่ต้องเป็น 1 ใน 3 ของสว. และมี 20 % ของสส.ฝ่ายค้าน ฉะนั้น ตนเองเห็นว่าการจะตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของเสียงสว.ออกที่เคยได้ผ่านการเห็นชอบมาแล้วในปี 2563 นั้น จะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขในการที่จะไม่เห็นชอบในปีนี้ และการแก้ไขรายมาตราบางมาตรานั้น มีเงื่อนไขที่บอกว่าแม้จะผ่าน 3 วาระไปแล้ว ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็บอกว่าหากจะไปแก้ไขมาตราหมวด 1 หมวด 2 หมวด 15 นั้น หรืออะไรก็ตามเกี่ยวกับคุณสมบัตินักการเมือง อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ต้องมีการทำประชามติปิดท้าย ครั้งนี้เราก็มองว่าบางเรื่องในหมวด 15 ที่มีการแก้ไขควรมีการทำประชามติปิดท้าย ซึ่งเราวางกรอบไว้ 360 วันในการจะทำให้รัฐธรรมนูญเสร็จ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายค้านอาจล้มรัฐบาลไม่ได้ในทันที แต่จะ ‘ปลูกต้นไม้แห่งความไม่ไว้วางใจ’ ในใจประชาชน

นักวิชาการธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ศึกซักฟอก“ฝ่ายค้าน” อาจปิดเกมรัฐบาลในสภาไม่ได้ในทันที แต่จะปลูกต้นไม้แห่งความไม่ไว้วางใจขึ้นในใจประชาชน หวังผลในระยะยาว ขณะที่ “อิ๊งค์” ต้องใช้โอกาสนี้พิสูจน์ภาวะผู้นำ ระบุนักการเมืองที่ดีต้องเข้าใจงาน ตอบคำถามได้ทันที ไม่มัวแต่รอรายงาน

โฆษกรัฐบาล ยืนยันนายกฯอิ๊งค์ 'เก่งจริง' จี้ฝ่ายค้านซักฟอกสร้างสรรค์ ไม่บูลลี่ด้อยค่า

จิรายุ-โฆษกรัฐบาล มั่นใจในความสามารถของ นายกฯแพทองธาร จะสามารถชี้แจงทุกประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พร้อมเรียกร้องฝ่ายค้านทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก๋าอภิปรายในเชิงสร้างสรรค์เพื่อร่วมแก้ปัญหาประเทศ

'เทพไท' เสนอเปิดซักฟอกที่ดาวอังคาร-เมืองบาดาล หลังเพื่อไทยยืดอภิปรายถึงตี 5

อดีตสส.นครศรีธรรมราช ประชดควรเปิดซักฟอกในเมืองบาดาลหรือดาวอังคาร หากพรรคเพื่อไทยยังยืนยันให้การอภิปรายยืดเยื้อจนถึงตี 5 พร้อมเรียกร้องให้ประธานสภาฯทบทวนกำหนดเวลาการประชุมใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ฝ่ายค้านได้เปรียบ 3:1 ยก 4 เหตุผลทำประชาชนจับตาศึกซักฟอก

อดีตหัวหน้า ศรภ. ยกเหตุผล 4 ข้อทำให้ประชาชนให้ความสนใจการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ในสภา ฝ่ายค้านมีความได้เปรียบ 3:1

ตีปี๊บไฟเขียวกม.คุมน้ำเมา โฆษณาเหล้าได้ กระตุ้นศก. เปิดทาง 'สุราชุมชน'

รัฐบาลหนุน ร่าง กม.ควบคุมแอลกอฮอล์ ผ่านสภาฯ ฉลุย ปลดล็อกโฆษณา 'เหล้า-เบียร์' เปิดทาง 'สุราชุมชน' ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย