ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้ปมศึกฟอก "วันนอร์"ปธ.สภา สั่งให้แก้ไขร่างญัตติฯได้ พาดพิงคนนอก เอกสิทธิ์ไม่คุ้มครอง
10 มีนาคม 2568 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำนังสือด่วนที่สุดถึงนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้แก้ไขญัตติ ที่ระบุรายชื่อบุคคลภายนอก อาจทำให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย เนื่องจากไม่สามารถชี้แจงในที่ประชุมสภาได้
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการบรรจุญัตติวาระการอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 เป็นดุลพินิจของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่จะต้องพิจารณาถึงระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 176 วรรคหนึ่ง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบญัตติ หากมีข้อบกพร่องให้แก้ไขภายใน 7 วัน เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบความถูกต้องของญัตติแล้ว ให้บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วนและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ
ขั้นตอนและกระบวนการ ที่ฝ่ายค้านยื่นต่อประธานสภาในวันก่อน ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบญัตติ และประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งให้ฝ่ายค้านแก้ไขร่างญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2566
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าในอดีตที่ผ่านมา กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ปรับปรุงแก้ไขญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ เคยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2545 ลงนาม นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนั้นนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อไปว่าเหตุผลที่ฝ่ายค้านดาหน้ากัน คัดค้านหรือจะอุทธรณ์คำสั่งไม่ถอนชื่อบุคคลภายนอก เพราะการระบุชื่อบุคคลภายนอก ฝ่ายค้านย่อมสามารถอภิปรายระบุชื่อบุคคลภายนอกได้ หากประธานสภาฯสั่งห้าม ฝ่ายค้ายย่อมอ้างว่า การกล่าวถึงรายชื่อบุคคลภายนอกอยู่ในญัตติฯ สามารถกล่าวรายชื่อบุคคลภายนอกโดยพาดพิงได้ เป็นไปตามญัตติ
"พูดภาษาชาวบ้าน มีหลังพิงฝา ไม่กลัวถูกฟ้องกลับ" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวและว่า เพราะหากไม่ระบุรายชื่อบุคคลภายนอก สส.ฝ่ายค้านจะไม่สามารถอภิปรายรายชื่อบุคคลภายนอกได้เลย
ยกตัวอย่าง เห็นได้จาก อากัปกิริยาทางการเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวพรรคพลังประชารัฐ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ออกอาการกระปรี้กระเปร่าว่าจะเป็นหัวหน้าทีมของพรรค อภิปรายไม่ไว้วางใจนางสาวแพทองธารฯด้วยตนเอง แต่เกิดกระแสตีกลับว่า พูดแค่ 2 วิ ไม่เคยเห็นหน้าในสภา แต่ไปออกทีวีรายการล่าสุด ว่ามีหมัดเด็ด
นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวต่อว่าแต่ในมิติทางกฎหมาย ในระหว่างสมัยประชุม กรณีถ่ายทอดสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ หรืออื่นใด กรณีพาดพิงบุคคลภายนอก ที่ไม่ใช่ สส.หรือ รมต. เอกสิทธิ์รัฐธรรมนูญไม่คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 124 วรรคสอง
ส่วนกรณี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะใช้วิธีแก้เกมฝ่ายค้าน เห็นว่าญัตติบกพร่อง สั่งให้ฝ่ายค้านแก้ไขให้ถูกต้อง หากไม่แก้ไขให้ถูกต้อง เพราะเห็นว่าบุคคลภายนอกไม่สามารถชี้แจ้งหรือโต้แย้งได้ และอาจถูกฟ้อง จะไม่สั่งบรรจุวาระ นั้น
ตนเห็นว่าหากยึดหลักกฎหมายและระเบียบการประชุม ข้อ 176 วรรคสอง ฝ่ายค้านควรไปแก้ไขให้ถูกต้องเพราะกลไกลรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ส่วนอำนาจหน้าที่ของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยึดหลักตามข้อบังคับการประชุมสั่งให้แก้ไขก่อนบรรจุวาระสามารถกระทำได้ ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ 176 วรรคสอง
"หากมองเกมการเมือง ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เล็งเห็นว่า อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าบุคคลอื่นใดก็ตาม และอาจถูกฟ้องได้ โดยฝ่ายค้านไม่ยอมแก้ไขข้อบกพร่อง ย่อมใช้อำนาจข้อ 176 วรรคหนึ่ง สั่งให้แก้ไขแล้ว ไม่แก้ไข ย่อมมีคำสั่งไม่บรรจุวาระก็ได้"
ที่ข้อถกเถียงกันว่า สามารถบรรจุญัตติโดยระบุนายทักษิณฯ บุคคลภายนอก ในศึกซักฟอก ได้หรือไม่ ดร.รัฐวุฒิ เห็นว่า การระบุชื่อในญัตติก็ดี การอภิปรายพาดพิงถึงบุคคลภายนอกก็ดี ทำให้เกิดความเสียหาย โดยบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในห้องประชุม และไม่มีโอกาสชี้แจง ไม่ถือว่า ญัตติระบุชื่อ หรือกล่าวพาดพิง มิใช่เหตุจำเป็น
"เพราะศึกซักฟอกนางสาวแพทองธาร เพียงคนเดียว เป้าหมายทางการเมืองต้องการลดทอนความน่าเชื่อถือของผู้ถูกอภิปราย และบุคคลภายนอกที่เป็นบิดา ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ถากถาง ดูแคลน ด่าฟรี ตรงนี้ ถือเป็นดุลพินิจของประธานสภาผู้แทนราษฎร เพราะอาจถูกฟ้องและเอกสิทธิ์ไม่คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ"
ทั้งตามข้อบังคับ ข้อ 178 วรรคสาม เอกสารหรือวัตถุอื่นใด ที่นำเข้ามาแสดงในการประชุม พาดพิงบุคคลภายนอกเสียหาย สมาชิกผู้นั้นต้องรับผลแห่งการกระทำนั้น
ส่วนนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ส่งหนังสือไปยัง ปปช.เพื่อกล่าวโทษนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร นั้น ความผิดยังไม่เกิด เพราะอำนาจประธานสภาผู้แทนราษฎร จะสั่งบรรจุวาระหรือไม่ก็ได้ หากพิจารณายึดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ รัฐธรรมนูญย่อมคุ้มครอง
"ที่ฝ่ายค้านขูว่าจะร้อง ปปช.เหมือนกับนายเรืองไกรฯ มองว่า ข้อเท็จจริงไม่ต่างกัน แต่ฝ่ายนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ยกข้อกฎหมายขึ้นสู้ได้" เขากล่าวและว่า ส่วนกรณีนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ข้อโต้แย้งหนังสือให้แก้ไขข้อบกพร่องญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล กรณีใส่ชื่อนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ลงในญัตติ ใน 3 ประเด็น โดยระบุถึงคำว่า“ข้อบกพร่อง”และระยะเวลา 7 วันตามข้อบังคับการประชุม ข้อ 176 วรรคหนึ่ง
อธิบายได้ว่า คำว่า “บกพร่อง” เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบของประธานสภาฯ ไม่ใช่ว่าฝ่ายค้านคิดไปเองว่าญัตติของตนถูกต้อง ส่วนคำว่า 7 วัน ให้นับแต่วันที่ได้รับญัตติจริงๆ โดยพิจารณาจากเลขรับ ทางราชการ ว่าเลขรับ วันที่เท่าไหร่ อย่างไร ทางฝ่ายธุรการของสำนักสภาผู้แทนราษฎร “ไม่ใช่วันที่ฝ่ายค้านยื่นเสนอผ่านสื่อมวลชน”
ส่วนเอกสารโต้แย้งตรงกับเอกสารที่ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน(ปชน.) โพสต์เฟซบุ๊กนำเอกสารญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อพิจารณาผลกระทบจากการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยไฮไลท์ชื่อบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัดมาประกอบ
พร้อมระบุว่า เพิ่งได้ฟังอาจารย์วันนอร์ ประธานสภาให้สัมภาษณ์รายการของคุณสรยุทธ์ว่า “ผมอยู่ในสภามา 44 ปี ยังไม่เห็นมีญัติไหนมีชื่อคนนอกแล้วอยู่ได้” การพูดแบบนี้ไม่แน่ใจว่า อาจารย์วันนอร์ “ลืม” หรือ ตั้งใจ “โกหก” เพราะในความเป็นจริงสภาเรามีการเอ่ยถึงบุคคลภายนอกมาแล้วหลายครั้ง" นั้น
ตนเห็นว่า ตามหนังสือเลขรับ 18/2562 วันที่ 26 มิ.ย. 2562 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่นำมาแสดง ถือว่า ญัตติต่างกัน ทำไมนายโรมฯ ไม่ไปดูหนังสือที่ฝ่ายค้านสมัยปี 2545 กรณีให้ความร่วมมือประธานสภาผู้แทนราษฎรและความเรียบร้อยตามข้อบังคับการประชุม ประชาชนทางบ้านจะได้ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า มีหลักฐานเด็ดเหมือนราคาคุยโว้ หรือไม่ หรือ เป็นแค่มวยล้มต้มคนดู
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แย่แล้ว บ้านนายก “เบี้ยว” | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568
จับตา! 'นายกฯอิ๊งค์' ส่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อุ๊งอิ๊ง : ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
ศึกนอก ศึกใน ขย้ำ อิ๊งค์ | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568
โปรตีนจากพืช ทางรอดปัญหาฝุ่นพิษ | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 16 เมษายน 2568
‘พิชิต’ ชี้พรรคอนุรักษนิยมแตกแถว พรรคลุงป้อมมาแรง
แกนนำ คปท. ชี้ชัดหลังปรับ ครม. รัฐบาลอาจไปต่อได้ แต่ไม่ถึงเทอม ซัดพรรคร่วมที่เคยต้าน “ระบอบทักษิณ” สูญเสียจุดยืนเอง ด้าน พรรคพลังลุงป้อม กลับน่าจับตา มาแรงในกลุ่มสายอนุรักษนิยม ชี้ “ศัตรูไม่ได้เก่ง แต่ตัวเองรบไม่เป็น”
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ ‘ภูมิธรรม-ทวี’ มีโอกาสตกเก้าอี้สูง!
นักกฎหมายมหาชน อ่านเกมการเมือง ปม กลเกมต่อรองอำนาจ ปม “สว.สีน้ำเงิน” ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ” บิ๊กอ้วน ภูมิธรรม-ทวี สอดส่อง“ ใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษดีเป็นเครื่องมือ โอกาสตกเก้าอี้สูง