แซนด์บ็อกซ์..ปทุมวันโมเดล กระตุ้นคนกรุงใส่ใจลดมลพิษ

เป็นปัญหาประจักษ์ชัดว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในช่วงต้นปีของทุกปีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล   รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM 2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย  

รัฐบาลได้กำหนดให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ได้ออกแบบในการป้องกันและแก้ไขให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามพันธกิจของตนเอง โดยมุ่งเน้นไปในด้านขอความร่วมมือประชาชนในการลดความเสี่ยง และลดการกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ที่มาจากการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะรถเก่าที่ก่อให้เกิดควันดำ วางแผนการเดินทางโดยเลือกเส้นทางที่รถติดน้อย เพราะยิ่งรถติดมากก็ยิ่งก่อมลพิษมาก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กรองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 เพื่อเป็นองค์กรหลัก ซึ่งทำหน้าที่ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งหมายให้คนไทยมีสุขภาพกาย จิต  ปัญญา และสังคมที่ดี ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อคุณภาพชีวิต อันจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย

นับเอาโจทย์ปัญหาอันเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองมาเป็นพันธกิจตั้งแต่ปี 2564 โดยร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้

นายมงคล เพียรพิทักษ์กิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด

ล่าสุด!! สดๆ ร้อนๆ แต่มั่นใจได้ว่าจะส่งต่อแรงกระเพื่อมในความใส่ใจต่อปัญหาป้องกันมลพิษทางอากาศได้ไม่มากก็น้อย นั่นคือ การจัดกิจกรรม “ที ลีสซิ่ง เปื้อนยิ้ม เพิ่มห่วงใย ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ฟรี! ปี 3”  ให้บริการตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้แก่ประชาชนก่อนเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด ร่วมกับบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ศูนย์การค้า เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตปทุมวัน สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส.

ทั้งนี้ เนื่องจากมลพิษจากรถยนต์เบนซิน หรือรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟด้วยการใช้น้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ก๊าซธรรมชาติ หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงนั้น ระบายมลพิษหลายชนิดที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เป็นอันตรายต่อระบบเลือดที่มีผลต่อสมองโดยตรง

หากมีก๊าซนี้เกิน 5,000 ส่วนในล้านส่วนของอากาศที่หายใจ มีอาการถึงขั้นโคม่า ชีพจรเต้นอ่อน ระบบหายใจล้มเหลว อาจถึงแก่ชีวิตได้ สารอินทรีย์ระเหย และมลพิษทางเสียง ส่วนมลพิษจากรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ 2จังหวะและ 4 จังหวะ มลพิษที่ระบายออกจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ค่าควันขาวและมลพิษทางเสียง ถ้าร่างกายได้รับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในปริมาณที่มีความเข้มข้นสูง จะทำอันตรายต่อปอด ทำให้ปอดอักเสบ เกิดเนื้องอกในปอด ทำให้หลอดลมตีบตัน

กิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย 1.การตรวจเช็กควันดำ โดยกรมควบคุมมลพิษ ทส. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความปลอดภัยเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 และ 2.การให้ความรู้ด้านการขับขี่และความปลอดภัยบนท้องถนน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ร่วมกันส่งต่อเทคนิคในการขับรถกลับบ้านและท่องเที่ยวอย่างราบรื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทำให้ทุกคนได้ใช้เวลาในวันหยุดเทศกาลอย่างมีความสุขและปลอดภัย” นายมงคลกล่าว

"จากรายงานคุณภาพอากาศโลก ปี 2564 (World Air Quality Report 2021) รายงานอันดับเมืองที่มีมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 ทั่วโลกพบว่า ไม่มีประเทศที่ผ่านมาตรฐานคุณภาพอากาศตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งกรุงเทพฯ จัดอยู่ในอันดับที่ 42 จากทั้งหมด 107 เมือง สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนเมืองในประเทศ  ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย ริเริ่มโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ถือเป็นการนำแนวคิดของเขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) ที่มีต้นแบบจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยสร้างความร่วมมือในการตรวจสอบสภาพรถที่อาจปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมการใช้รถสาธารณะพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ"

คำอธิบายถึงเหตุผลความสำคัญในกิจกรรมตรวจสอบรถต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาของ นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. ซึ่งพร้อมเปิดเผยด้วยว่า

“สสส.ขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กรุงเทพฯ มีค่าความเข้มข้นของมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มลดลงจาก 20.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2561 เหลือ 20.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2564 หรือลดลงร้อยละ 5 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับ PM 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การฟื้นฟูอากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะของประชาชนที่ดีขึ้นได้จริง” นายชาติวุฒิกล่าว

สสส.โฟกัสที่พฤติกรรมสุขภาพ คนต้องไม่ป่วย การใช้ชีวิตบนพื้นฐาน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง มีกิจกรรมนอกสถานที่ได้มากน้อยเพียงใด เด็กและผู้สูงวัยต้องรู้เท่าทันมาตรฐานของอากาศแต่ละวันที่มีความเลวร้าย  ดังนั้นควรใช้ชีวิตอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เพื่อบริหารจัดการตัวเองให้ได้ มีหลายคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่กลายเป็นว่าเราอยู่ในพื้นที่มี PM 2.5 ที่มีค่าเฉลี่ยสูง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดได้ โรคภูมิแพ้มีอาการเจ็บป่วยเพราะเราเข้าไปอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีคนสูบบุหรี่ ด้วยนวัตกรรมทางสังคม เราต้องจัดการดูแลในเรื่องความปลอดภัย ทำอย่างไรให้เราเจ็บปวดน้อยที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาซับซ้อน เราจะฝากความหวังกับคนคนเดียวไม่ได้ ต้องสร้างเครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายงดเหล้าฯ อะไรที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษเราต้องจัดการได้ ทุกคนล้วนมี Solution จัดการมาตรฐานความปลอดภัย การจัดการแยกขยะเพื่อให้มลพิษลดน้อยลง 

ในขณะที่ รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ กล่าวว่า บรรยากาศกทม.ในช่วงฤดูฝุ่นวิกฤตสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ประชาชนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษคิดเป็นมูลค่านับล้านๆ บาท ศูนย์วิชาการโดยการสนับสนุนของ สสส.เขตปทุมวัน 4 องค์กรจัดทำโครงการเป็น แซนด์บ็อกซ์ปทุมวันโมเดล ด้วยแนวคิดจากลอนดอน ทำอย่างไรที่จะลดมลพิษใน กทม.ที่มีประชากรหนาแน่นได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากรถที่ปล่อยมลพิษออกมาบนท้องถนน สี่แยกราชประสงค์-แยกปทุมวัน ที่ผ่านเข้ามายัง MBK Center ต้องผ่านการตรวจวัดมลพิษจำนวน 4 จุด ด้วยการชักชวนผู้ประกอบการลดมลพิษ บรรดา supplier ที่เข้ามาส่งของช่วยกันลดมลพิษด้วยการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องถึงเดือน ก.ย. ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ฯลฯ

ขณะเดียวกัน เราร่วมมือกันในการขับเคลื่อนกฎหมายคุ้มครองให้อากาศสะอาด เป็นปากเป็นเสียงให้ กม.มีผลบังคับใช้ พกหน้ากากลดมลพิษสูดลมหายใจบริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันช่วยกันดูแลให้เป็นจริง

ความร่วมมือและความเข้าถึงเข้าใจถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขป้องกันปัญหาฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว จึงถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ไปกว่าการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ หรือส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องใส่ใจมุ่งมั่นบริหารจัดการช่วยเหลือเยียวยาสุขภาวะของประชาชน และเชื่อว่าหาก "แซนด์บ็อกซ์..ปทุมวันโมเดล"  สามารถสร้างอุบัติการณ์จิตสำนึกร่วมต่อการใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ ก็จะเป็นแรงกระพื่อมส่งต่อไปยังทุกพื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและมั่นคงแน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ