ผุดนวัตกรรมเกมออนไลน์ ‘สต๊าซ’รุกปั้นสูงวัยฉุกคิดรู้ทันสื่อ

ปัง ปัง ! ยุคสื่อออนไลน์กลบสื่อกระแสหลักตัวจริงเสียงจริง   สสส. จับมือ ม.มหิดล เปิดตัว "ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ" แก้ปัญหาช่องว่างจากการต้มตุ๋นทางออนไลน์   ยกปมผู้สูงอายุถูกหลอกในโลกออนไลน์ ผุดนวัตกรรมเกมออนไลน์ หยุด-คิด-ถาม-ทำ ‘สต๊าซ’ รุกปั้น สูงวัยรู้ทันสื่อ

ภาพผู้สูงวัยในสมัยก่อนจะนั่งเก้าอี้โยก ถักไหมพรมโดยมีแมวคู่ใจอยู่ใกล้เคียง หรือผู้สูงอายุนั่งเอกเขนกอ่านหนังสือพิมพ์ดื่มกาแฟตามศูนย์การค้าต่างๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ปัจจุบันนี้กลุ่มผู้สูงวัยอยู่กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ไอแพ็ดตั้งกลุ่มไลน์กลุ่มก่อการดี ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างที่เรียกว่าปฏิบัติการเพื่อสังคม บริหารจัดการปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มีศักดิ์ศรี มองเห็นอนาคต แต่ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรู้ไม่เท่าทันข้อมูล   เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือถูกแก็งค์Call Center ต้มตุ๋นหลอกลวงให้โอนเงิน หรือการเล่นแชร์ลูกโซ่ การเล่นเกมออนไลน์อย่างเสียรู้เสียทรัพย์โดยใช่เหตุ

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าว “การจัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ และการเสวนา หยุด-คิด-ถาม-ทำ : วัคซีนออนไลน์เพื่อสูงวัยรู้ทันสื่อ” เมื่อวันที่31มีนาคม2565 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรม “เกมออนไลน์ หยุด คิด ถาม ทำ หรือ STAAS (สต๊าซ) เครื่องมือ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ด้วยตัวเอง บนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ ทั้งในระบบปฎิบัติการ iOS และ Android เป็นการถ่ายทอดสดผ่านทางFacebook Live:RILCA.Mahidol University ที่ห้อง305 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรศ.ดร.นิธิดา แสงสิงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ 

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ประกอบกับสื่อมีอิทธิพลสำคัญต่อโลกยุคใหม่ การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะ ทักษะเท่าทันสื่อ เพื่อให้ผู้สูงอายุก้าวข้ามขีดจำกัดไปเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ เพื่อเตรียมพื้นฐานก่อนที่จะให้ผู้สูงวัยเริ่มไปใช้สื่อ ฝึกให้ผู้สูงวัยมีสติก่อนเชื่อ สามารถใช้สื่อได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย มีโรงเรียนผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 20 โรงทั่วประเทศ

นางญาณีกล่าวว่าสสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เร่งขยายผลการขับเคลื่อนงานรู้เท่าทันสื่อให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมสูงวัย โดยเฉพาะประเด็นสูงวัยเท่าทันสื่อ ได้จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy : ICEM) โดยมีสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือที่ง่าย สร้างผลกระทบทางสังคมได้จริง ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมผู้สูงวัยของไทย โดยใช้กลไกของศูนย์วิชาการเป็นระบบสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คนในกรุงฯคนในชนบทมีการใช้สื่อดิจิทัล สื่อบุคคลกระจายเข้าไปในพื้นที่ชุมชน รพ.สต.อสม.เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อ การจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุวัย๖๐-๗๐ปีใช้สื่อออนไลน์เป็นมีโอกาสถูกหลอกลวงมากกว่าคนวัย๗๐ปีขึ้นไปที่ไม่ใช้สื่อออนไลน์ หลอกให้ซื้อสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งหาย คนกลุ่มวัย๗๐ปีขึ้นไปในชนบทจะเลือกใช้สื่อบุคคล “ผู้สูงอายุบางคนเชื่อข่าวลวงที่มีการบอกต่อจากบุคคลน่าเชื่อถือในสังคม เกิดความเกรงใจ ทั้งๆที่ข้อความส่งมานั้นเป็นเรื่องบิดเบือน ไม่ถูกต้อง เกิดความเกรงใจไม่กล้าเตือนว่าส่งข่าวเท็จ เมื่อมีการส่งต่อก็กลายเป็นsuper spreader กลายเป็นการแพร่ระบาดข้อมูลที่ผิด ดังนั้นสังคมจะต้องช่วยกันดูแลกันเอง อสม.จะช่วยทำงานได้เป็นอย่างดีเพราะทำงานอยู่กับชุมชนอย่างใกล้ชิด มีโอกาสตรวจสอบข่าวลวงข่าวเท็จ”

รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (ICEM) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าในช่วง5ปีที่ทำงานรู้เท่าทันสื่อ ต้องเน้นผู้สูงวัยเป็นหลัก ลดช่องว่าง เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงสื่อออนไลน์ขณะเดียวกันต้องใช้สื่ออย่างรู้เท่าทันด้วย สมัยก่อนมีสื่อกระแสหลัก มีหลากหลายสำนักพิมพ์ให้ตรวจสอบได้   สื่อบุคคล แต่ปัจจุบันมีช่องว่างเกิดขึ้น ด้วยการยึดหลักการรู้เท่าทันตัวเองจะทำให้รู้เท่าทันสื่อได้ ต้องใช้คาถาเพื่อให้รู้ทันสื่อไม่ถูกหลอกด้วยการใช้สติเปิดรับสื่อ ยิ่งมีเกมออนไลน์เป็นการฝึกทักษะทดลองเล่น

จากข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย 2,000 คนทั่วประเทศ ปี 2564 พบผู้สูงอายุเปิดรับสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคลตามลำดับ ที่สำคัญพบความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงถึงร้อยละ16โดยเฉพาะการซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เชิญชวนลงทุนธุรกิจ และทำบุญ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุต้องเสียเงิน เสียความรู้สึก และเสียรู้ (ได้รับสินค้าไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง) สะท้อนได้ว่าผู้สูงอายุไม่มีทักษะการรู้เท่าทัน ทำให้ถูกหลอกและหลงเชื่อสิ่งที่สื่อนำเสนอ

ผลงานวิจัยเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจเปิดรับสื่อมากที่สุด 1.ข่าวทั่วไป 2.รายการบันเทิง 3.รายการเกี่ยวกับสุขภาพ 4.รายการศาสนาและทำบุญ 5.รายการด้านการเมือง สื่อที่ผู้สูงอายุเปิดรับมากที่สุด 1.โทรทัศน์ 2.สื่อบุคคล โทรศัพท์จากCall Center และ3.สื่อออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ใช้สิทธิโครงการภาครัฐ โครงการคนละครึ่ง แชร์ข้อมูลเพื่อทักทาย ส่งต่อความรู้ที่เป็นประโยชน์

“นวัตกรรมเกมออนไลน์ “สต๊าซ” เป็นเครื่องมือให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ และฝึกทักษะ “หยุด คิด ถาม ทำ”ที่เป็นหัวใจของ ‘หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ’ ในรูปแบบเกมออนไลน์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเกมที่จำลองเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ มี 4 เหตุการณ์ คือ 1. ได้รับข่าวน้ำมะนาวเกลือรักษามะเร็ง 2. ข้อความจากครูหนุ่ม 3. ลูกสาวเข้าโรงพยาบาล และ 4. ตำรวจตรวจเงิน ผู้ร่วมเล่นเกมจะได้พิจารณาจากเหตุการณ์แล้วเลือกว่า ควรจะ หยุด คิด ถามหาแหล่งข้อมูล และตัดสินใจทำอย่างไร รวมถึงเกมยังให้ความสำคัญกับการส่งต่อข้อมูลอีกด้วย ทั้งนี้ เกมออนไลน์ “สต๊าซ” ถือเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อที่เข้ากับยุคสมัย เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุไทยเป็น ‘สูงวัยหัวใจสต๊าซ’ รู้เท่าทันสื่อ” รศ.ดร.นันทิยา กล่าว

ทั้งนี้ภายในการเสวนาหยุด-คิด-ถาม-ทำ : วัคซีนออนไลน์เพื่อผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุกกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สสส. เข้าร่วมย้ำให้เห็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมรู้ทันสื่อของผู้สูงวัย สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลติดตามได้ทางเว็บไซต์ สสส.

 

         ไอดอลด้านสุขภาพในการรักษาสุขภาพเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.

สังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้สูงวัยไม่ได้ขึ้นตรงต่อลูกหลาน แต่เชื่อมต่อกับเครือข่าคนนอกกับสื่อออนไลน์โดยตรงหลายรูปแบบ ผู้สูงวัยต้องรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากสื่อให้เกิดความสมดุล ใช้อย่างรู้เท่าทันสื่อ

กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีจะเข้ามาทำตัวสนิทสนมผู้สูงวัย มีการพูดชักจูงใจให้เสียทรัพย์ มีปัญหาทางจิตใจ ยิ่งในวันนี้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย มีผู้อายุ๖๐ปีขึ้นไปจำนวนมากกว่า๒๐%ของประชากรของประเทศ เราต้องช่วยกันปกป้องผู้สุงวัยในการใช้Social Media ไม่ให้ถูกหลอก ต้องสร้างความสมดุลทางด้านจิตใจ ด้วยการหยุด คิด  ถาม  ทำ ให้เกิดความสมดุลทางสติ เพื่อควบคุมกิเลส วัฒนธรรมไทยมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน ถ้าจะเปรียบเทียบตาชั่งต้องสร้างความสมดุลระหว่างสติ และ กิเลส สติจะต้องควบคุมมิให้เกิดกิเลสมากไปหรือน้อยไป เพื่อให้เกิดความสมดุลจะเกิดเป็นความสุขใจ ถ้าปล่อยให้ตาชั่งเอียงสติสตังค์ก็จะเกิดความเสียหายได้

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะของโลกเคยกล่าวถ้อยคำคมไว้ว่า If there is religious that would cope with modern scientific needs it would be Buddhism  ปรัชญาพุทธสติ-กิเลส การแก้ไขปัญหาต้องรู้ให้เท่าทัน ผู้สูงวัยมีปัญหาทางจิตใจถึง70%มากที่สุด เน้นหนักให้มีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม วิชาการสื่อสารต่างๆ ต้องใช้สติสัมปชัญญะ สติคือการรู้เท่าทัน ใช้ในเหตุการณ์เฉียบพลัน ต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจ หยุดความคิดชั่ววูบด้วยการใช้สติเป็นเครื่องมือ ให้เกิดความรู้สึกตัวและรู้เท่าทัน มีความรู้ตัวตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้ใจลอย สติเสริมพลังรู้ผิดชอบชั่วดี มีเพื่อนคู่หูที่พร้อมจะเดินเคียงข้างกันเมื่อประสบปัญหาชีวิต  สติ(รู้เท่าทัน) สัมปชัญญะ(รู้สึกตัว) สติมาปัญญาเกิด ถ้าตาชั่งเอียงเมื่อไหร่โอกาสเกิดความเศร้าหมองทำให้เสียทรัพย์ได้

ถ้าสติเล็ก กิเลสจะขยายใหญ่ขึ้น ถ้าสติใหญ่ กิเลสจะอาย และเล็กลง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ