‘เนือยนิ่ง’โจทย์ใหญ่ที่’โรงเรียน’ต้องช่วยแก้ไข

เด็กไทยนอกจากเผชิญปัญหาการกินที่ไม่สมดุลทั้งได้รับสารอาหารบางอย่างเกินหรือขาด  ยังมีปัญหากิจกรรมทางกายต่ำ เพราะอยู่หน้าจอนานๆ ทั้งเรียนออนไลน์หรือเล่นเกม  จากรายงานสถานการณ์กิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Report Card 2022) พบเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนักสะสมได้อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 60 นาที เพียง 27% ของเด็กและเยาวชนไทยทั้งประเทศ แม้จะปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2559 และ 2561 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ข้อมูลยังพบว่าเด็กไทยใช้หน้าจอเพื่อความบันเทิงต่อวันนานเกิน 2 ชั่วโมงถึง 85%  นับเป็นปัญหาใหญ่จำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เพราะพฤติกรรมเนือยนิ่งส่งผลเสียต่อพัฒนาการตามช่วงวัย ร่างกายไม่แข็งแรง อีคิวต่ำ และเสี่ยงโรคไม่ติดต่อหรือกลุ่มโรค NCDs

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม

ขณะนี้สถาบันการศึกษาเปิดเรียนแบบออนไซต์เต็มรูปแบบ เด็กและเยาวชนมีความผูกพันต่อโรงเรียนมาก ครูและโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญต่อการผลักดันและส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายแห่งประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาแพลตฟอร์ม www.activekidsthailand.com เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการสนับสนุนเพิ่มกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การยกระดับนโยบายการมีกิจกรรมทางกาย เน้นที่การสร้างความสุข ลดความเครียด สามารถประยุกต์ใช้แนวทางการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายแบบทั้งระบบ (Whole - of – School Programmes) ช่วยเพิ่มโอกาสการมีกิจกรรมทางกายระหว่างวันให้กับนักเรียนมากขึ้น รวมถึงจัดให้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกิจกรรมทางกายอย่างปลอดภัย และเพิ่มพื้นที่สุขภาวะเพื่อให้นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นตลอดทั้งวันขณะอยู่ในโรงเรียน โดยสามารถศึกษาข้อมูลและนำไปประยุกต์ใช้ได้จาก www.activekidsthailand.com  นำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและสม่ำเสมออย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 60 นาที ในกลุ่มเด็กและเยาวชน

คู่มือแนวทางโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเว็บไซต์

“ ความสำคัญของกิจกรรมทางกายในเด็ก มีงานวิจัยยืนยันส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สัมพันธ์กับระบบหัวใจและปอดที่แข็งแรง สภาพกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด สุขภาพของกระดูกของเด็กอีกด้วย อีกทั้งช่วยพัฒนาการด้านอารมณ์และความจำที่ดี กระตุ้นความพร้อมการทำงานของสมอง ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ สามารถคิดแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ช่วยเรื่องการตัดสินใจ ตลอดจนลดอาการซึมเศร้า และการมีความสุขมากขึ้นจากการหลั่งสารเชโรนิน สารโดพามีน และเอ็นโดรฟินออกมา ”ดร.ไพโรจน์ ย้ำกิจกรรมทางกายช่วยเสริมพัฒนาทุกมิติ

สำหรับ www.activekidsthailand.com  ถือเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านวิชาการสำหรับครู โรงเรียนและผู้ที่สนใจใช้วางแผนนโยบายตั้งแต่เริ่มต้นจัดทำแผนการสนับสนุนและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5-17 ปี ทั้งในและนอกโรงเรียน ด้วยแนวคิด 4 PC คือ Active Policy กำหนดนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายในโรงเรียน, Active Program สร้างโอกาสให้กับนักเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลายตามโอกาสและเวลาที่มี, Active Place การพัฒนาพื้นที่ในโรงเรียนให้เล่นได้และปลอดภัย, Active People ส่งเสริมการมีส่วนการทำกิจกรรมระหว่างครูและนักเรียน สร้างต้นแบบ และ Active Classroom ส่งเสริมห้องเรียนฉลาดรู้

ด้าน ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย กล่าวว่า  เว็บไซต์ดังกล่าวประกอบด้วยชุดความรู้ที่น่าสนใจ ทั้งคู่มือแนวทางโรงเรียนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย ผ่านการวิจัยเชิงทดลองกับเด็กไทยนานกว่า 4 ปี จนพบข้อพิสูจน์ว่า สามารถช่วยเพิ่มระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกับเด็กวัยประถมศึกษาด้วยแนวคิด 4 PC ,คู่มือการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กตามแนวคิด ACP ของสมาคมกีฬาประเทศญี่ปุ่น เหมาะสำหรับคุณครู พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ฝึกสอนที่ทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ได้นำกิจกรรมไปปรับใช้ โดยรวบรวมการเล่นทั้งแบบไทยและญี่ปุ่นมากถึง 40 กิจกรรม อาทิ เกมเตยกัก ตี่จับ ปาระเบิด ลิงชิงหาง กระต่ายขาเดียว

คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเหมาะสำหรับครู

      นอกจากนี้ มีคู่มือสารตั้งต้นสนามฉลาดเล่นสำหรับประยุกต์กิจกรรมต่างๆ ผสมผสานระหว่างคู่มือการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการส่งเสริมความรู้ตามสาระการเรียนรู้ที่หลากหลายตามวิชาเรียน เหมาะสำหรับเด็กในวัยประถมศึกษา เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้และการทำกิจกรรมทางกายในสนาม หรือพื้นที่ว่างในโรงเรียน และคู่มือสารตั้งต้นห้องเรียนฉลาดรู้เหมาะสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายพร้อมกับการสอดแทรกความรู้ให้กับนักเรียนในห้องเรียน โดยมีตัวอย่างกิจกรรมที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้ เพื่อเปลี่ยนห้องเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมเป็นห้องเรียนฉลาดรู้ โรงเรียนฉลาดเล่น เด็กจะสนุกและมีความพร้อมต่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ www.activekidsthailand.com  หรือ www.thaihealth.or.th 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กและครอบครัว..บนสองทางแพร่ง โจทย์รอ"รัฐบาลใหม่"สานฝันเป็นจริง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) โดยความร่วมมือระหว่างสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.

สสส. ปลื้ม นวัตกรรม ‘ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค’ มีผู้รับประโยชน์กว่า 7 ล้านคน เร่งสานพลัง รพ.น่าน เดินหน้าขยายผล ‘ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะฯ น่าน’

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ โรงพยาบาลน่าน อ.เมือง จ.น่าน คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะผู้บริหาร สสส. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน “ยินดีจั๊ดนัก รวมพลังสานสุข”

‘คนไร้บ้าน’ เพิ่มโอกาสคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้

คนไร้บ้านหน้าใหม่มีเพิ่มขึ้น ทั้งจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การไร้ที่อยู่อาศัย ชุมชนที่ถูกขับไล่จากการพัฒนาที่ดินหรือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของเมือง แม้กระทั่งคนถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง อาชีพไม่มั่นคง รายได้น้อย รวมถึงพอใจอยากมีชีวิตที่อิสระ หลากหลายเหตุ

เด็กไทยกระหึ่มโลก! คว้าเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย

เด็กไทยสร้างชื่อให้ประเทศ คว้า 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 2 เกียรติคุณประกาศ 4 เกียรติบัตรฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย จากมองโกเลีย

สสส. สานพลัง ภาคี จ.น่าน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ยินดีจั๊ดนัก รวมพลังสานสุข”

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2566 ที่ทำการสถานีวิทยุเสียงใสเรดิโอ FM 100.75 MHz ต.ท่าวังผา อ.ท่าวังผา จ.น่าน คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8

นักวาดการ์ตูนไทย จับมือกับมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.)และสสส.ประชุมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.) ร่วมกับ สมาคมการ์ตูนไทย เครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)