9 ขั้นตอนสู่บ้านมั่นคง

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของ พอช.จะมีช่างชุมชนหรือช่างจิตอาสามาช่วยก่อสร้างบ้าน  ทำให้ประหยัดงบและก่อสร้างบ้านได้เร็ว

โครงการบ้านมั่นคง  ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เป็นการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงเรื่องที่อยู่อาศัยของชุมชนที่มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ  เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2546  โดยมีชุมชนที่นำร่อง 10 ชุมชนในปีนั้น  เช่น  ชุมชนบ่อนไก่  กรุงเทพฯ, แหลมรุ่งเรือง  จ.ระยอง, บุ่งคุก จ.อุตรดิตถ์, เก้าเส้ง  จ.สงขลา ฯลฯ  รวมประมาณ 1,500  ครอบครัว

โดยรัฐบาลอนุมัติงบประมาณสนับสนุนเบื้องต้นจำนวน 146 ล้านบาท  เพื่อให้ พอช.นำไปสนับสนุนให้ชุมชนแก้ไขปัญหา  โดยมีหลักการที่สำคัญ  คือ  “ชุมชนที่เดือดร้อนเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหา  พอช.และภาคีที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายสนับสนุน”

มีกระบวนการดำเนินการที่สำคัญ  คือ  1.การชี้แจงสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชน  เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน  2.จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นการรวมคน  รวมทุน  สร้างฐานการเงินของชุมชน  เรียนรู้ระบบการจัดการการเงินร่วมกัน  (หลังจากนั้นจึงจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหสถานเพื่อให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล  เพื่อทำนิติกรรม  บริหารโครงการ)  3.การจัดตั้งคณะกรรมการชาวบ้านขึ้นมาดำเนินงาน  โดยแบ่งหน้าที่  ความรับผิดชอบ     

4.สำรวจข้อมูลชุมชน  ความเดือดร้อน  ความต้องการ  เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนงาน  5.การจัดระบบสิทธิในที่อยู่อาศัย  เพื่อเป็นข้อตกลงของชุมชนและสร้างความเป็นธรรม  เช่น  ครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวนมากกว่า 5 คนอาจให้สิทธิมากกว่า 1 สิทธิ  เจ้าของบ้านเช่าที่มีบ้านเช่าหลายหลังจะได้รับเพียง 1 สิทธิ  6.ร่วมกันออกแบบ  ทำผังชุมชน  แบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ส่วนกลาง  ออกแบบบ้านตามความต้องการ  (มีสถาปนิกชุมชนจาก พอช.เป็นพี่เลี้ยง) 

7.เสนอโครงการ  งบประมาณ  สินเชื่อที่จะต้องใช้ในการดำเนินการกับ พอช. (ชุมชนต้องเสนอโครงการในนามสหกรณ์เคหสถานที่จัดตั้งขึ้น  และต้องมีเงินออมรวมกันอย่างน้อย 10 % ของสินเชื่อที่จะขอใช้)  8.ดำเนินการก่อสร้างบ้าน และสาธารณูปโภคตามแผนงาน  โดยการบริหารงานของชุมชนหรือสหกรณ์เคหสถานที่จัดตั้งขึ้น  เช่น  การจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้าง  หรือก่อสร้างเองบางส่วน 

9.พัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว  จะมีแผนพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ  เช่น  ส่งเสริมอาชีพ  สร้างแหล่งอาหารในชุมชน  การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม  สันทนาการ  กิจกรรมเด็กและเยาวชน  จัดสวัสดิการให้สมาชิก  ผู้สูงอายุ  ฯลฯ

สภาพชุมชนริมคลองลาดพร้าวก่อนโครงการบ้านมั่นคง

ส่วนวิธีการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจะขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของแต่ละชุมชน  เช่น  ชุมชนที่ถูกไล่ที่  อาจรวมกลุ่มขอเช่าหรือซื้อที่ดินแปลงใหม่เพื่อปลูกสร้างบ้าน  สร้างชุมชนใหม่  ชุมชนที่สามารถอยู่อาศัยในที่ดินเดิมได้  เช่น  ชุมชนริมคลองลาดพร้าว  จะต้องรื้อย้ายบ้านที่ปลูกสร้างรุกล้ำลำคลอง  เพื่อขยับขึ้นไปสร้างบ้านบนฝั่ง  โดยการปรับผังชุมชนใหม่ทั้งชุมชน  เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถอยู่ในที่ดินเดิมได้  หรือการปรับปรุงสภาพบ้านเรือนและสาธารณูปโภคในชุมชนเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น  ฯลฯ

บ้านมั่นคงชุมชนริมคลองลาดพร้าว  (เขตสายไหม) ขณะนี้สร้างเสร็จแล้วใน 35 ชุมชน  กว่า 3,000 หลัง

ปัจจุบันสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคงทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ  ในพื้นที่ 74 จังหวัด จำนวน 1,332 โครงการ  รวม 127,780 ครัวเรือน   วงเงินสนับสนุน 8,512 ล้านบาทเศษ  

นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล  โดยมีวิสัยทัศน์  คือ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่ว  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายในปี 2579  (ดูรายละเอียดโครงการบ้านมั่นคงได้ที่ https://web.codi.or.th)

บ้านมั่นคงสวยงามที่ชุมชนหินเหล็กไฟ  อ.หัวหิน  จ.ประจวบคีรีขันธ์  เพิ่งสร้างเสร็จไม่นาน  แต่ชาวบ้านต้องร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคไม่ต่ำกว่า 4 ปี

 

เรื่องและภาพ :  สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

พอช. แจงความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากรถไฟทางคู่ 9 จังหวัด ภาคใต้

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.เดินหน้าแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟฯ ทั่วประเทศตาม มติ ครม.14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ 35 จังหวัด 300 ชุมชน จำนวน 27,084 ครัวเรือน ใช้งบประมาณรวม 7,718 ล้านบาทเศษ

พอช. ร่วม ศูนย์คุณธรรม และ สช. ขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม มุ่งสร้างคุณธรรมด้วยระบบเครดิตทางสังคม

กรุงเทพมหานคร / วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

พอช. ร่วม 3 พื้นที่รูปธรรมภาคอีสาน ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียน 3 พื้นที่รูปธรรม

เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ที่สุพรรณบุรี “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ แก้วิกฤตประชากรไทย”

สุพรรณบุรี : เครือข่ายสวัสดิการชุมชน ร่วม กระทรวง พม. พอช. จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ภาคกลางและตะวันตก และภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก

‘วราวุธ’ รมว.พม. เยี่ยมชุมชนริมคลองเปรมประชากร ด้าน ‘พอช.’ เดินหน้าพัฒนาที่อยู่อาศัย-คุณภาพชีวิตแล้ว 17ชุมชน 1,699 ครัวเรือน

คลองเปรมประชากร/ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม.ลงพื้นที่เยี่ยมชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยลงเรือบริเวณท่าเรือชั่วคราวสะพานสูง เขตบางซื่อ