ชาวสวนยาง ปลื้มโครงการจัดทำประกันกลุ่ม กยท.จัดเต็มให้สิทธิ์ผู้ลงทะเบียนก่อน 30 มิ.ย. อีก 1.712 ล้านราย

ผู้ว่ากยท.“ณกรณ์” เผย การจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มตามนโยบายบอร์ด กยท. ทำชาวสวนยาง ปลื้มพอใจสูงถึงร้อยละ 94.8 พร้อมเผยผลงาน ปี 61-64 มีทายาทได้รับสินไหม 26,426 ราย เป็นเงิน 1,319.06 ล้านบาท ส่วนปี 65 จัดเต็มมอบสิทธิ์ให้ผู้ลงทะเบียนก่อน 30 มิ.ย. 65 อีก 1.712 ล้านราย

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า การจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม เป็นโครงการสวัสดิการที่ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ที่ต้องการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต รวมถึงเป็นสวัสดิการแก่เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ในทุกกลุ่ม จากการได้รับความคุ้มครองที่เป็นความเสี่ยงภัยพื้นฐาน และเป็นค่าสินไหมทดแทน เพื่อช่วยเหลือทายาทเกษตรกรชาวสวนยางในการดำรงชีวิต โดยใช้เงินกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(5) ของ พ.ร.บ. กยท. พ.ศ. 2558 ส่วนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ประกอบด้วย ค่าปลงศพ 30,000 บาท เงินสวัสดิกาของ กยท.อีก 3,000 บาท หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไปทางรถยนต์หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง ได้รับเงิน 500,000 บาท ถ้าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง ได้รับเงิน 250,000 บาท ซึ่งเกษตรกรที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิงในช่วงระยะเวลาประกันฯ คุ้มครอง ทายาทสามารถยื่นเรื่องขอรับสินไหมทดแทนได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี หลังจากวันเกิดเหตุ

“ ทั้งนี้ จากที่ กยท. ได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 จนถึงปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรชาวสวนยางมีความพึงพอใจในการจัดทำประกันกลุ่มถึงร้อยละ 94.8 ดังนั้น จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางได้มาขึ้นทะเบียนกับ กยท. เพื่อจะได้รับการช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่าง ๆ ที่ กยท. จัดทำขึ้นต่อไป โดยสำหรับในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 5 กยท.ได้กำหนดจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้กับเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนกับ กยท. ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,712,000 ราย ส่วนบริษัทประกันภัยที่จะเข้ารับทำประกันนั้น ได้มีการออกประกาศการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง การเสนอราคาประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มเพื่อเป็นสวัสดิการของเกษตรกรชาวสวนยางประจำปี งบประมาณ 2565 ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ในเว็บไซต์การยางแห่งประเทศไทย ในหัวข้อข่าวจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงขอความอนุเคราะห์สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ให้บริษัทประกันภัย ที่มีความประสงค์จะรับทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มเพื่อเป็นสวัสดิการแก่เกษตรกรชาวสวนยาง ยื่นเรื่องเสนอราคาประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มตามเงื่อนไขที่ กยท. กำหนดในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. และคณะกรรมการฯ พิจารณาผลในเวลา 13.00 น. ของวันเดียวกัน” นายณกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ว่า กยท. ได้กล่าวถึงผลการดำเนินการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2564 ว่า ในส่วนของงบประมาณที่ใช้รวม 833.61 ล้านบาท มีทายาทเกษตรกรชาวสวนยางผู้เสียชีวิตได้รับสินไหมแล้ว 26,426 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 1,319.06 ล้านบาท โดยในส่วนของผลการดำเนินการล่าสุดในปีงบประมาณ 2564 ระยะเวลาประกันตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 – 15 สิงหาคม 2565 ได้มีการจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มโดยบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  พร้อมได้นำแอพพลิเคชั่น “TIP FLASH CLAIM” เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรชาวสวนยางหรือทายาท สามารถยื่นเรื่อง และติดตามสถานะการเรียกร้องค่าสินไหมได้อย่างรวดเร็ว

“ โดยในปีงบประมาณ 2564 มีจำนวนเกษตรกรที่มีสิทธิ์ในโครงการ 1,407,921 ราย  งบประมาณที่ใช้ประมาณ 292.97 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรายละ 206 บาท ทั้งนี้ จากรายงานวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 พบว่า มีเกษตรกรชาวสวนยางที่รับค่าสินไหมทดแทน จำนวน 4,512 ราย แบ่งเป็น เสียชีวิตทั่วไป 4,300 ราย เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ 89 ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไป รถยนต์116 ราย และทุพพลภาพถาวร 7 ราย คิดเป็นเงินค่าสินไหม 217.92 ล้านบาท”นายณกรณ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

โฆษกรัฐบาล โวผลงานนายกฯ ดันราคายางพุ่งทะลุ 90 บาท สูงสุดในรอบ 7 ปี

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลสำเร็จของนโยบายขับเคลื่อนยางพาราไทยของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งล่าสุดราคายางพาราสูงขึ้นทะลุ 90 บาท ถือเป็นราคาสูงที่สุดในรอบ 7 ปี

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา