U2T​ for​ BCG​ ร่วมกับอบต.หนองแก้ว​ จ.ศรีสะเกษ​ ยกระดับป่าสาธารณ​ะเป็นป่าชุมชน​ สำรวจพบต้นไม้อายุมาก500ปี

เมื่อวันที่ 17 ส.ค.นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ U2T for BCG ที่ ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ โดยมีนายปัญญา ชูเลิศ ปลัดองค์บริหารส่วนตำบลหนองแก้ว (อบต.หนองแก้ว) พร้อมด้วยทีม U2T for BCG ที่ประกอบด้วย บัณฑิตจบใหม่และประชาชนทั่วไป นำลงพื้นที่ดูผลการดำเนินงานในพื้นที่ ต.หนองแก้ว ทั้งนี้ นายปัญญา กล่าวว่า ใน ต.หนองแก้ว เป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการปลูกถั่วลิสงคุณภาพดี และถือเป็นแหล่งใหญ่ของ อ.กันทรารมย์ นอกจากนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่เป็นสาธารณะประโยชน์ โดย อบต.หนองแก้ว ได้ร่วมกับทีม U2T for BCG ดำเนินการสำรวจป่าทั้งหมดประมาณ 1 พันไร่เศษ เพื่อที่จะยกระดับเป็นป่าชุมชน จากการสำรวจพบว่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ขนาด 2 คนโอบขึ้นไป สูงประมาณ 30-40 เมตรขึ้นไป มีจำนวนมากถึง 400 ต้น มีทั้งต้นยางนา ต้นประดู่ ต้นกระบาก ต้นสะแบงนา และต้นไม้อื่นๆ ที่เป็นไม้มีค่าและต้นไม้เศรษฐกิจ จึงได้ลงทะเบียนต้นไม้ ทำพิกัด ทำจีพีเอสติดต้นไม้ทุกต้น เพื่อให้รู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นอยู่ตรงไหน ขณะเดียวกัน ชุมชนหนองแก้วได้ร่วมกับ U2T for BCG ปลูกป่าที่มีทั้งต้นสัก ต้นพะยูง เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้สมบูรณ์ และยังได้ประชุมกับชุมชนและชาวบ้านเพื่อร่วมกันดูแลรักษาต้นไม้ในชุมชนอีกด้วย

นายปัญญา กล่าวต่อว่า ที่สำคัญขณะนี้ชุมชนได้เตรียมการยกระดับป่าสาธารณะเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากว่าชุมชนหนองแก้วและป่าชุมชนที่กำลังจัดตั้งขึ้นมีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับแม่น้ำมูล ตั้งแต่บ้านท่านางเหงาถึงเขื่อนหัวนา เป็นระยะทาง 48 กม.เช่นเดียวกับทางถนน ซึ่งขณะนี้ได้รับงบสนับสนุนจากทางจังหวัดดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นไปแล้ว 21 กม. คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณปี 2568 การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจะมีทั้งทางน้ำ ซึ่งจะใช้เรือและแพ โดยไฮไลต์สำคัญของการท่องเที่ยวทางน้ำคือการมาชมแม่น้ำสองสี ซึ่งตัดกันระหว่างแม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี รวมทั้งชมบานประตูระบายน้ำที่เขื่อนหัวนา จำนวน 14 บานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นต้น

จากนั้น นายปัญญาและชาวคณะ U2T for BCG ได้นำนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ไปดูต้นไม้ใหญ่ที่สุดและมีอายุมากกว่า 500 ปีที่บริเวณวัดจำปา บ้านหัวนา ต.หนองแก้ว เมื่อไปถึงพบป่าขนาดใหญ่และพบต้นยางนาขนาดใหญ่ จากนั้น U2T for BCG กว่า 10 คนได้เอามือคล้องโอบต้นไม้ถึงจะครบรอบ โดยนายปัญญากล่าวว่า ต้นยางนานี้มีอายุมากกว่า  500 ปี สูงประมาณ 50 เมตร เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่เก่าแก่ที่สุดในป่าที่ชุมชนกำลังจะยกระดับให้เป็นป่าชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พอช.-หน่วยงานภาคีร่วมสนับสนุนป่าชุมชนบ้านถ้ำเสือ จ.เพชรบุรี สร้างพื้นที่ต้นแบบการจัดการป่า-สร้างรายได้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพชรบุรี / พอช.และหน่วยงานภาคี เช่น ‘วช.-วปอ.-สสส.-กรมป่าไม้ และจ.เพชรบุรี’ ร่วมสนับสนุนการบริหารจัดการป่าชุมชน ‘บ้านถ้ำเสือ’ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

คนราชบุรีร่วมดูแลป่าชุมชน-สร้างเครือข่าย 119 ป่า ด้าน พอช.-หน่วยงานภาคีหนุนชุมชนทั่วประเทศสร้าง “ป่าที่กินได้”

ราชบุรี / จัดประชุมผู้แทนเครือข่ายป่าชุมชนในจังหวัดราชบุรี 7 อำเภอ เพื่อสร้างความเข้าใจ ‘พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562’ นำมาสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการดูแลบริหารจัดการป่า

ชาวแม่สะเรียง ยกระดับค้าน 'เหมือง' พบพิรุธอ้างป่าเสื่อมโทรม ที่แท้ยังสมบูรณ์ด้วยไม้เต็ง-รัง

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนบ้านโป่งดอยช้าง ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่บริษัทเอกชนกำลังขอประทานบัตรเหมือง แต่บริเวณดังกล่าวเป็นป่าแหล่งต้นน้ำและอยู่ติดกับชุมชนและตัวอำเภอแม่สะเรียง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ออกมาคัดค้านกันอย่างกว้างขวาง

15 ป่าชุมชนนำร่องพิทักษ์ป่า ต้นแบบอยู่ดีมีสุข

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ผืนป่าไทยเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่ป่าและการบุกรุกเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ถือเป็นการช่วยปกป้องและอนุรักษ์ป่าของไทยอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน

ดร.กอบศักดิ์ ประธานบอร์ด พอช.ให้สัมภาษณ์พิเศษ ‘วิทยุครอบครัวข่าว’ ย้ำเดินหน้า ‘ป่าชุมชน-ฝายมีชีวิต-สร้างเศรษฐกิจชุมชน’

วันนี้ (15 มิถุนายน) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ให้สัมภาษณ์พิเศษ รายการวิทยุครอบครัวข่าว คลื่น FM 106 Mhz.

‘ป่าชุมชน’ขจัดความจน ‘ฝาย’ สร้างชีวิต-เศรษฐกิจชุมชน

‘ป่าชุมชนและฝายมีชีวิต’ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ พอช.และหน่วยงานภาคีเครือข่ายกำลังร่วมกันขับเคลื่อน โดยมีการตั้งคณะทำงานป่าชุมชนและฝายมีชีวิตขึ้นมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา