ศักดิ์สยาม ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุดและการพัฒนาประสิทธิภาพการเดินเรือในแม่น้ำป่าสักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุดและการพัฒนาประสิทธิภาพการเดินเรือในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพบปะประชาชน  เพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและการขนส่ง พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมลงพื้นที่ โดยมีนายธีรศักดิ์ โฉมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ ในวันที่ 2 มีนาคม 2566 ณ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
.
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า สามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างเท่าเทียม สนับสนุนการค้า การท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่และเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการตามนโยบาย โดยมอบให้หน่วยงานในสังกัดเร่งรัดขับเคลื่อนพัฒนาระบบคมนาคมไปสู่ความยั่งยืน ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในทุกมิติ ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ เร่งรัดการเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคมเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และรับฟังความคิดเห็น ความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน โดยให้กรมเจ้าท่า เร่งรัดดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการเดินเรือในแม่น้ำป่าสักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากแม่น้ำป่าสัก มีสัดส่วนการขนส่งทางลำน้ำสูงสุดของประเทศ ประมาณ 30 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 60 ของประเทศ และรองรับการขนส่งสินค้าจากถนนที่มาจากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าชายฝั่งและต่างประเทศ สำหรับสภาพปัญหาในปัจจุบันสภาพร่องน้ำมีความตื้นเขินและแคบ เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ จึงจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพด้วยการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งก่อนการขุดลอก รวมทั้งแก้ปัญหาสิ่งกีดขวางและที่จอดเรือในลำน้ำ เพื่อให้เรือขนาด 2,500 ตัน เดินเรือได้สะดวก จากจุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา (กม.0) ขึ้นไปถึงเขต อำเภอนครหลวง (ที่ กม.23) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง และขุดลอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางเดินเรือ ในแม่น้ำป่าสัก โดยโครงการที่กรมเจ้าท่าดำเนินการนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ความยาวรวม 8.5 กิโลเมตร ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ปี 2562 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,025 ล้านบาท ในส่วนของระยะที่ 2 จำนวน 8 ตอน โดยตอนที่ 1 - 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทาง 4.1 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,010 ล้านบาท ส่วนตอนที่เหลือก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้การพัฒนาเต็มศักยภาพและช่วยเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก ในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือปี 2594 จะขนส่งปริมาณสินค้าที่ผ่านลำน้ำป่าสักได้ถึง 65 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ถึงประมาณ 2 เท่า เป็นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางน้ำในแม่น้ำป่าสัก อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำได้รับประโยชน์จากเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณวัดเรือแข่ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในท้องถิ่นให้ก้าวไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน
.
นายศักดิ์สยาม ได้กำชับให้กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการตามมาตรฐานด้วยความปลอดภัยและเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมกำชับเกี่ยวกับการบริหารจัดการในลำน้ำให้เกิดประโยชน์สนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทางน้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ พร้อมยินดีรับฟังปัญหาและจะเร่งนำไปแก้ไข โดยมุ่งเน้นการดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุด รวมถึงการนำเรือพลังงานไฟฟ้า (EV) มาใช้ในอนาคต และเน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในระดับจังหวัดและภาคประชาชนอย่างเข้มข้น และการดำเนินโครงการต่าง ๆ จะต้องเข้มงวดเรื่องความปลอดภัย ถูกต้องตามมาตรฐาน มีความทันสมัยมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมพัฒนาชุมชน

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม มอบหมายให้นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ร่วมกับหน่วยงาน กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชุมพูดคุยกับชาวบ้าน อำเภอนครหลวง เรื่องช่วยเหลือประชาชนแก้ปัญหาด้านการสัญจรทางน้ำและทางบก ในวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 - 11.00 น. เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มท.2 ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ตรวจตลิ่งริมแม่น้ำอิง ก่อนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอกภพ เพียรพิเศษ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายกฯ พบว่าเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย

ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล ต.อินทขิล อ.แม่แตง นายโอตากะ มาซาโตะ (H.E. Mr. OHTAKA Masato) ว่าที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เข้าพบนายเศรษฐา ท

‘ภราดร‘ ย้ำ! คว่ำร่าง กม.คุ้มครองแรงงาน ฉบับ ‘เซีย ก้าวไกล‘ เหตุกระทบสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง และโฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวานนี้ (6 มี.ค.) มีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่เสนอโดยนายเซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลว่า นาย

'ปธ.กกต.' ยันไม่ชักช้า แจงคืบหน้าคดียุบ 'ก้าวไกล-ภูมิใจไทย'

'ประธาน กกต.' แจงไม่ชักช้า พิจารณายุบพรรคก้าวไกล เร่งศึกษาคำวิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ส่วนคดียุบภูมิใจไทย ยังอยู่ในกรอบเวลา

'ธนกร' ขอบคุณ 'มท.1' สั่งล้างบางมาเฟียต่างชาติในภูเก็ต

'ธนกร' ขอบคุณ 'อนุทิน' สั่งกวาดล้างมาเฟียต่างชาติในภูเก็ต ฝาก มท.-ตร. เร่งสแกนพื้นที่ ตัดวงจรฟอกเงิน มั่นใจช่วยผู้ประกอบการไทยทำธุรกิจดีขึ้น หนุนท่องเที่ยวภาคใต้โตตามเป้า