“สมศ.” เปิดทิศทางการประเมินคุณภาพภายนอก ปี’66 พร้อมเดินเครื่องพัฒนาระบบประเมินฯ เน้นใช้เทคโนโลยีมุ่งลดภาระสถานศึกษา

สมศ. เปิดนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 23 สมศ. “2 ทศวรรษแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา” ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมเดินเครื่องจัดทำแนวทางพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แบ่งการดำเนินงาน 4 ไตรมาส เน้นนำระบบเทคโนโลยีใช้สนับสนุนการประเมินตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตลอดจนการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดภาระของสถานศึกษาให้มากที่สุด

ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวในการประชุมวิชาการระดับชาติ “2 ทศวรรษแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา” ประจำปี พ.ศ. 2566 เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 23 สมศ.ฯ โดยเป็นการบรรยายในหัวข้อ “แนวคิดและทิศทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายหลังสถานการณ์โควิด-19” ว่า ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา สมศ. ได้เริ่มพัฒนากรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก โดยได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค หลังจากนั้นได้เสนอกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบฯ และคณะกรรมการ สมศ. เพื่อประกาศกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกต่อไป

สำหรับในปีนี้ สมศ.ได้จัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ไตรมาส ได้แก่

ไตรมาสที่ 1 ดำเนินการปรับปรุงเครื่องมือการประเมินคุณภาพภายนอก 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พร้อมกำหนดวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก

ไตรมาสที่ 2 รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พร้อมประกาศกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2567

ไตรมาสที่ 3 พัฒนาระบบการคัดเลือกและสรรหาผู้ประเมินภายนอก ฝึกอบรมและพัฒนาผู้ประเมินภายนอก ทดลองประเมินนำร่อง KM/PLC ผู้ประเมินภายนอก ทดลองประเมินนำร่อง 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

ไตรมาสที่ 4 ทดลองประเมินนำร่อง 1) การศึกษาปฐมวัย 2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ด้านการอาชีวศึกษา 4) การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และจัดทำรายงานสรุปผลเสนอต่อคณะกรรมการ สมศ.

“สำหรับแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สมศ. ยังคงให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาการยกระดับคุณภาพ (Quality Improvement) โดยกำหนดวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา (วิธีการ (online/onsite) และจำนวนวันประเมิน (1-3 วัน) แตกต่างกันตามบริบทสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการประเมินตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตลอดจนการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดภาระของสถานศึกษาให้มากที่สุด”ดร.นันทา กล่าวทิ้งท้าย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สมศ.” เปิดผลความสำเร็จ “โครงการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก”

สมศ. เปิดผลความสำเร็จการขับเคลื่อน “โครงการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก” พบสถานศึกษาพึงพอใจการทำงานของผู้ประเมินภายนอกกว่าร้อยละ 95

“สมศ.” ประชุมเตรียมความพร้อมสถานศึกษา 42 แห่ง สร้างความเข้าใจสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทดลองประเมินนำร่อง ตามกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา

สมศ. ประชุมเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาจำนวน 42 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการทดลองประเมินนำร่องตามกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา