“สมศ.” เปิดผลความสำเร็จ “โครงการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก”

สมศ. เปิดผลความสำเร็จการขับเคลื่อน “โครงการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก” พบสถานศึกษาพึงพอใจการทำงานของผู้ประเมินภายนอกกว่าร้อยละ 95 พร้อมเดินหน้ายกระดับมาตรฐานผู้ประเมินภายนอก ภายใต้ 3 บทบาทหน้าที่หลัก “ประเมินแม่นยำ – ก้าวทันเทคโนโลยี – ไม่สร้างภาระสถานศึกษา” เพื่อพัฒนาให้ผู้ประเมินภายนอกของ สมศ. เป็น Best Quality Consultant รับการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567ดร. นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า สมศ. ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมศักยภาพและพัฒนาผู้ประเมินภายนอกทุกประเภท และทุกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อยกระดับไปสู่ “ผู้ประเมินมืออาชีพ” เป็นที่ยอมรับและพึงพอใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะจากสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. และหน่วยงานต้นสังกัด เพราะผู้ประเมินภายนอกมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้แทนของ สมศ. ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและสะท้อนผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอกได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากสถานศึกษาดังนั้น ผู้ประเมินภายนอก จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้พันธกิจหลักของ สมศ. ก้าวไปสู่ความสำเร็จ และเพื่อให้การพัฒนาผู้ประเมินภายนอกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมศ. จึงมี “โครงการการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก (QC100)” ซึ่งได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดย “QC” มาจาก “Quality Control” และ “100” หมายถึง ผู้ประเมินทุกคน ทุกระดับการศึกษา โดยให้สถานศึกษาซึ่งเป็นผู้รับบริการโดยตรงของ สมศ.ตอบแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอกผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (AQA) เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก และนำผลจากการติดตามมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้ประเมินภายนอกต่อไป

สำหรับผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอกจากสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษามีความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้

1) สถานศึกษาพอใจในด้านทักษะ ผู้ประเมินภายนอก สมศ. กว่าร้อยละ 95 ประกอบด้วย  1) ทักษะการเขียนรายงานการประกันคุณภาพภายนอก 2) ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีเหตุมีผล และ 3) ทักษะการรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกจากข้อมูลรายงาน     การประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

2) สถานศึกษาพอใจในด้านคุณลักษณะ ผู้ประเมินภายนอก สมศ. กว่าร้อยละ 94 ด้านการประสานงานและการสื่อสารระหว่างสถานศึกษาและผู้ประเมินภายนอก (เพื่อการจัดส่งเล่มรายงานการประกันคุณภาพภายนอก และผลการประเมิน SAR) มีความเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพ

3) สถานศึกษาพอใจในด้านความรู้ความสามารถ ผู้ประเมินภายนอก สมศ. กว่าร้อยละ 94 สถานศึกษามองว่าผู้ประเมินภายนอกมีความรู้ตามแนวทาง รูปแบบ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment) หรือ EQA และสามารถเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance) หรือ IQA หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน ตามวงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act)      เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้นๆ และมองว่าผู้ประเมินภายนอกมีความรู้ความเข้าใจในบริบทของสถานศึกษา จากการศึกษาข้อมูลรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

ทั้งนี้ สมศ. ขอเชิญชวนให้สถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. เรียบร้อยแล้ว เข้ามาประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอก เพื่อที่ สมศ. จะได้นำข้อมูลไปใช้เพื่อการพัฒนาหรือส่งเสริมผู้ประเมินภายนอกให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทการทำงานของสถานศึกษามากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ประเมินภายนอกสะท้อนผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

นอกจากนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สมศ. ยังคงเดินหน้าแผนยกระดับมาตรฐานผู้ประเมินภายนอกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยพัฒนาหลักสูตรและอบรมผู้ประเมินภายนอกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับผู้ประเมินภายนอกเป็น Best Quality Consultant ให้กับสถานศึกษาใน 3 บทบาทหน้าที่หลัก ได้แก่

ด้านวิชาการ ผู้ประเมินภายนอกจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน สามารถทำการประเมินและสะท้อนผลการดำเนินงานของสถานศึกษาด้วยความถูกต้อง สอดคล้องตามบริบท      มีความแม่นยำ ตรงไปตรงมา เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินที่ สมศ. กำหนด และสามารถให้ข้อเสนอแนะเป็นรายสถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของการประเมิน โดยข้อเสนอแนะที่ให้กับสถานศึกษาต้องนำไปปฏิบัติได้จริง สอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษาจึงจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อสถานศึกษาได้จริง

ด้านเทคโนโลยี ผู้ประเมินภายนอกจะต้องมีความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ดี เป็นการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และสอดรับกับนโยบายของ สมศ. ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Organization) ทั้งนี้ สมศ. ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมิน        ในทุกขั้นตอน เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก (AQA) ระบบจัดเก็บรายงานประเมินตนเอง (e-SAR) การพัฒนาระบบ Mobile Application (ONESQA-V) สำหรับผู้ประเมินภายนอกในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแบบ Onsite สถานศึกษาทุกระดับ เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการประเมิน และนับได้ว่ามีความทันสมัยเท่าเทียมกับระบบการประเมินสถานศึกษาของนานาประเทศ

ผู้ประเมินภายนอกสะท้อนภาพลักษณ์ของ สมศ. ในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยการทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาและเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะกับสถานศึกษาอย่างถูกต้องตรงประเด็น ภายใต้ “ความเป็นกัลยาณมิตร” และ “ไม่สร้างภาระกับสถานศึกษา” ซึ่งการดำเนินงานของ สมศ. ที่ผ่านมาให้ความสำคัญเรื่องคุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก โดยผู้ประเมินภายนอกถือเป็นตัวแทนของ สมศ. ดังนั้น ผู้ประเมินภายนอกไม่เพียงแต่จะต้องมีองค์ความรู้ตามที่ สมศ.กำหนด แต่ยังต้องก้าวทันเทคโนโลยี  ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อการประเมินที่มีประสิทธิภาพ อันเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ของประเทศต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บิ๊กซี" จับมือ "ททท." สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวไทย ผ่าน 2 แคมเปญใหญ่

บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าส่งเสริมท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำความเป็นผู้นำจุดหมายของนักท่องเที่ยว

DITP และ GIT ผนึกกำลัง 13 องค์กรพันธมิตร เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 69

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT

ครบรอบ 51 ปี การเคหะแห่งชาติ แถลงผลงานดำเนินงาน เผยแผนขับเคลื่อนปี 67

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติ มีภารกิจหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง

เครือ BDMS นำร่อง รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จับมือ แอสตร้าเซนเนก้า ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ

“เทศกาลบอลลูนนานาชาติ International Balloon Fiesta 2024” 14-18 ก.พ. ที่สิงห์ปาร์ค เชียงราย

สิงห์ปาร์ค เชียงราย ร่วมกับ พันธมิตร ได้แก่ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และธนาคารกสิกรไทย