สส. ระดม ทสม. 17 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมเวทีเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดเวทีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติงาน (AAR) และพัฒนากลไกความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิด ระหว่างวันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนแผนและสถานการณ์ปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน รวมถึงพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ ส่งเสริมบทบาทให้เครือข่าย ทสม. เครือข่ายอาสาสมัคร และประชาจิตอาสาทุกภาคส่วน เข้ามาเป็นกลไกในการสร้างการรับรู้ให้ชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งจัดทำข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชน เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในระดับนโยบาย ได้นำข้อเสนอของภาคประชาชน มากำหนดนโยบาย มาตราการและสนับสนุนการทำงานให้ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อม ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาไฟป่า หมอกควัน ภาคเหนือ และค่าฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน เป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ที่จะส่งผลกระทบให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และอาจเกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ ประกอบกับปริมาณเชื้อเพลิงใบไม้สะสมในพื้นที่ป่า ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและฝุ่นควันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้าง สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง” จึงมีประกาศแต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนการจัดทำแผนงานป้องกันไฟป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะที่ปรึกษา คณะทำงาน และผู้ประสานงาน เป็นองค์ประกอบ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์แห่งแรกของภาคเหนือ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้เข้ามาใช้ประโยชน์ อีกทั้งเตรียมพร้อมรองรับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ได้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเชิงรุก สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน “มุ่งเน้นมาตรการป้องกัน มากกว่าการแก้ไขปัญหา” รวมถึงประเด็นสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังในรูปแบบเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ในการประสานความร่วมมือ ร่วมกันทำงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วน ประสานพลังสู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยในปี 2566 ได้กำหนด มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง มุ่งเน้น “3 พื้นที่ 7 มาตรการ” เพื่อยกระดับความเข้มงวดใน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เมือง พื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกรรม และ 7 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย 1. เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก 2. ยกระดับมาตรการการดำเนินงาน 3. ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร 4. กำกับ ดูแลการดำเนินการในทุกระดับอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง 5. ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบพยากรณ์ 6. ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ แก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน 7. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละออง โดยเฉพาะการสนับสนุนบทบาทเครือข่ายอาสาสมัครและจิตอาสาภาคประชาชน เป็นกลไกในการสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน รวมถึง การตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดเวทีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติงาน (AAR) และพัฒนากลไกความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว จำนวน 160 คน ประกอบด้วย เครือข่ายทสม. 17 จังหวัดภาคเหนือ เครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน เครือข่ายสมัชชาสิ่งแวดล้อมม้ง เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ องค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ เวทีเสวนา: เรียนรู้ เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังไฟป่า ฝุ่นควัน ในสถานการณ์เอลนีโญ่ (El Nino) เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้: บทเรียนการทำงานเครือข่ายภาคประชาชน ในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควันกับ แนวทางการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ่ และกิจกรรมการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง จัดทำแผนและข้อเสนอเชิงนโยบายของเครือข่ายภาคประชาชน เปิดโอกาสให้ภาคีทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกสำคัญในการตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' จ่อเคลียร์ใจ 'ปานปรีย์' ชวนนั่งกุนซือพรรค ไม่รู้ 'นพดล' เสียบแทน

'เลขาฯ เพื่อไทย' รับต้องคุย 'ปานปรีย์' หลังไขก๊อกพ้น รมว.ต่างประเทศ แย้มชงนั่งที่ปรึกษาพรรค มั่นใจไม่เกิดแรงกระเพื่อม ปัดวางตัว 'นพดล' เสียบแทน ชี้ 'ชลน่าน-ไชยา' หน้าที่หลักยังเป็น สส.

'อนันต์' การันตี 'ลุงป้อม' ส่งชื่อนั่ง รมต. โควตากำแพงเพชร

'อนันต์' การันตี 'ลุงป้อม' ส่งชื่อนั่ง รมต. มั่นใจคุณสมบัติไร้มลทิน ลั่นเก้าอี้ตัวนี้โควตากำแพงเพชร ไม่ท้อหากชวดตำแหน่ง เชื่อพรรคไม่แตกแม้ผลออกมาเป็นอย่างไร

'สุระ' ดึงสติ ลากประธานสภาฯ เข้าสู่เกมปรับครม.แลกเก้าอี้ ชี้คนละส่วนอำนาจหน้าที่

“สุระ” ไม่เห็นด้วย ลากประธานสภาฯ เข้าสู่เกม ปรับครม. แลกเก้าอี้ ย้ำ คนละส่วนอำนาจหน้าที่ อัด รัฐมนตรีหวังร่วมครม.ปล่อยข่าว มีโควตาสส.ในมือ สร้างอำนาจต่อรอง มั่นใจผู้มีอำนาจพิจารณารู้ดี ใครของจริง ของปลอม