สสส. สานพลัง กทม. เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองทุกช่วงวัย-กลุ่มเปราะบาง ชูนวัตกรรมสร้างสุขภาวะคนเมือง พัฒนาศักยภาพภาคีหนุนการทำงานผ่านกลไกชุมชน ตั้งเป้าภายใน 5 ปี ครอบคลุม 50 เขต มุ่งสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. สานพลัง กรุงเทพมหานคร (กทม.) พัฒนาแผนบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะคนเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มุ่งบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยใช้ทิศทางและเป้าหมาย 10 ปี และต้นทุนองค์ความรู้ คน ทรัพยากร กับนโยบาย 9 ดี กรุงเทพฯ ‘เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ เป็นกรอบดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนและชุมชน ตั้งเป้าสนับสนุนให้เกิดกลไกระดับเขตนำร่องครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม ทั้งนี้ ในปี 2570 มีแผนการดำเนินงานครอบคลุม 50 เขตในพื้นที่กรุงเทพฯ
ดร.ประกาศิต กล่าวต่อว่า ความก้าวหน้าในช่วง 1 ปี ได้ขับเคลื่อนผ่านกลไกการทำงาน 7 กลุ่มงาน 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กแบบไร้รอยต่อ (แพลตฟอร์ม “เติมเต็ม”) ทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว กลุ่มเปราะบาง นำร่องในเขตลาดกระบัง และอยู่ระหว่างการหารือเพื่อการขยายผล 2.การพัฒนากลไกหน่วยจัดการเพื่อหนุนเสริมการทำงานชุมชนอย่างมีส่วนร่วมทุกระดับ 10 เขต สนับสนุนโครงการกว่า 200 ชุมชน 3.การเข้าถึงทรัพยากรเพื่อยกระดับบริการปฐมภูมิ สนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม นำร่อง 22 เขต ให้ประชาชนเข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเพื่อจัดการสุขภาพตนเอง 4.การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบาง พัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับการจ้างงานหน่วยงานในกรุงเทพฯ และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านให้เข้าถึงโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยและได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
“กลไก 5.การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะสร้างสรรค์เพื่อทุกวัย พัฒนาพื้นที่สุขภาวะสร้างสรรค์นำร่องทั้งด้านการปรับพื้นที่ทางกายภาพและเชื่อมโยงกิจกรรมสุขภาวะเพื่อคนทุกวัย 6.องค์กรสุขภาวะและการบริหารจัดการที่ดี จัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนาสุขภาวะของบุลากรในสังกัด กทม. และนำร่องสำรวจสถานการณ์สุขภาวะใน 2 พื้นที่ 7.การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ กทม. ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาชุมชน หนุนเสริมการใช้ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพแกนนำและออกแบบระบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นำร่อง 11 พื้นที่ ใน 4 เขต นอกจากนี้ยังร่วมกับ กทม. และภาคีเครือข่าย ทำงานเชิงระบบโดยใช้ทุนเดิมออกแบบการทำงาน เพื่อสนับสนุนการบูรณาการ ให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกัน สร้างนวัตกรรม/การบริการแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้จริง เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ กลไกการทำงาน และคนทำงานสร้างเสริมสุขภาพในทุกระดับ” ดร.ประกาศิต กล่าว
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การทำงาน 2567 มุ่งขยายผลงานนำร่องให้ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต สร้างกลไกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนงานเชิงประเด็น (ผู้สูงอายุ เกษตรในเมือง การสร้างฐานข้อมูลร่วมของทุกหน่วยงานเป็นฐานข้อมูลเดียว “one map”) ปรับกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ที่สำคัญคือ การระเบียบ/ข้อบัญญัติ/แนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน ซึ่งแม้ผู้บริหารจะเปลี่ยนไป แต่พลังภาคีเครือข่ายยังคงทำงานได้เข้มแข็งและต่อเนื่อง เกิดผลลัพธ์การทำงานจากความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภายใต้นโยบาย 9 ด้าน 9 ดีตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อาทิ จ้างงานคนพิการ 489 ตำแหน่ง รับคนพิการเข้าบรรจุราชการ 9 อัตรา มีพื้นที่สาธารณะ 21 แห่ง สวน 15 นาที 28 แห่ง พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ หมอถึงชุมชน 104 แห่ง ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่นำความเชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกัน และขอสนับสนุนการทำงานร่วมกันภายใต้แผนบูรณาการ 5 ปีนี้ เพื่อสุขภาวะของคนกรุงเทพฯ ทุกคน สร้างเมืองให้น่าอยู่ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
คนไทยอ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วม 27 จังหวัด 'กทม.' พุ่งทุกพื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้