เปลี่ยนเศษอาหาร สู่ปุ๋ยสูตรเด็ดในแปลงผัก กับโครงการพัฒนาเมืองฯ

ทราบกันหรือไม่? ว่าอาหารเหลือทิ้งจากจานของเรา กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล คิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด และแน่นอนว่า เมื่อเน่าเสียจะสร้างมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแก๊สเรือนกระจก เช่น มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์

ขยะส่วนให­่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจากการแยกขยะจากต้นทางที่ไม่ถูกต้อง ทั้งยังขาดระบบกำจัดที่ถูกสุขาภิบาล กลายเป็นปั­หาให­่ต่อชุมชนโดยรอบ เนื่องด้วยปริมาณที่มาก รวมถึงองค์ความรู้ในการจัดการเศษอาหารนั้นยังไม่มากพอ ทำให้เกิดการหมักหมม ส่งกลิ่นรบกวน โดยเฉพาะจุดที่มีผู้คนหนาแน่น

หนึ่งในสถานที่ที่พบปั­หาการจำกัดเศษขยะเหลือทิ้ง หนีไม่พ้นโรงอาหารของโรงเรียน ที่ต้องอำนวยความสะดวกด้านโภชนาการกับเด็กๆ

หลายร้อยคน อย่างที่โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ต้องวางมาตรการเข้มงวดในเรื่องนี้ เพราะหากจะให้เพียงพอรองรับความต้องการทางโภชนาการของเด็กๆ โรงอาหารที่มีร้านค้าไม่ต่ำกว่า 20 ร้าน จะต้องเปิดให้บริการสองช่วงเวลา คือรอบแรกในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลา 07.40 น. และอีกครั้งในช่วงเที่ยง ซึ่งยังต้องแบ่งเป็นสองรอบ คือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 11.10-12.00 น. และสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเวลา 12.00 -12.50 น. ส่วนช่วงเย็นโรงอาหารที่นี่จะไม่เปิดให้บริการ

นายปิยวัฒน์ อัครพรกุลฉัตร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงเรียนปากเกร็ด ให้ข้อมูลว่าที่โรงเรียนจะมีการเก็บข้อมูลเศษอาหาร ซึ่งพบว่าโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 30-40 กิโลกรัมต่อวัน วิธีการจัดการกับขยะเหล่านี้ คือแยกตั้งแต่ต้นทาง นำใส่ถุงดำแล้วนำไปจัดเก็บไว้ในโรงขยะของโรงเรียน รอรถเทศบาลเข้ามาจัดเก็บ แต่ปั­หาคือขาดความต่อเนื่องในการนำไปกำจัด เพราะกว่ารถเทศบาลจะเข้ามารับขยะออกไป ก็กินเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ทำให้เกิดการหมักหมมเน่าเสีย ส่งกลิ่นรบกวน ทั้งยังมีหนูไปกัดแทะ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

“โรงเรียนเคยมีโครงการที่จะจัดซื้อเครื่องกำจัดเศษอาหาร แต่เนื่องจากงบประมาณค่อนข้างสูง โครงการฯ จึงหยุดชะงักไป ทราบข่าวจากศิษย์เก่าว่า มีโครงการสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กำลังจะดำเนินการ โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ จึงส่งเรื่องเสนอขอไปยังกองทุนฯ ตั้งใจนำไปติดตั้งด้านหลังจุดชำระล้างภาชนะ และวางแผนไว้ว่าจะนำปุ๋ยที่ได้จากการแปรรูปโดยเครื่องกำจัดขยะตัวนี้ ไปใช้ในแปลงเกษตรหลังโรงเรียน ต่อยอดไปใช้ในวิชาการเกษตรของเรา” นายปิยวัฒน์กล่าว

สำหรับเครื่องกำจัดเศษขยะที่กองทุนหมู่บ้านฯให้การสนับสนุน ผ่านโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ นี้ จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนเศษอาหารเป็นสารช่วยการเจริ­เติบโตของพืชหรือผลผลิตทางการเกษตร ผ่านกระบวนการย่อยสลายเศษอาหารด้วยจุลินทรีย์และเทคโนโลยีภายใน 24 ชม. สามารถกำจัดเศษอาหารได้ไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม/วัน และผลิตสารช่วยการเจริ­เติบโตของพืชไม่น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/วัน ใช้ระบบไฟฟ้าแรงดัน 220-380 โวลต์ อัตราการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 7.8 กิโลวัตต์ มีระบบเซนเซอร์อัตโนมัติรักษาความปลอดภัย และมีระบบเผาไหม้อากาศที่ช่วยกำจัดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจกได้

นายปิยวัฒน์ ยังกล่าวถึงแนวทางการต่อยอดเทคโนโลยีว่า ในอนาคตโรงเรียนจะมีการอบรมครู นักเรียน และชาวบ้านในชุมชนทั่วไป ให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีและการกระจายองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะอาหารอย่างทั่วถึง ครอบคลุมบริบทแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่า ตัวเองเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

ต้องขอขอบคุณกองทุนหมู่บ้านฯ ที่ทำโครงการดีๆ แบบนี้ เพราะเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักมาหนุนเสริมให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ทางโรงเรียนก็จะนำเทคโนโลยีนี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทุนหมู่บ้านฯ โชว์ โครงการโรงอัดถ่าน จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการโรงอัดถ่าน เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิง จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ ภ

ข่าวดี! สมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้สิทธิ์ประกันอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ฟรี

'สมศักดิ์' แจ้งข่าวดี 'กองทุนหมู่บ้าน' จับมือ 'ทิพยประกันภัย' แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท นาน 30 วัน นับจากวันที่กดรับสิทธิ์

โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ ส่งเสริมชุมชนเมืองมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อเมืองที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป ด้วย 6 นวัตกรรม พัฒนาเมืองให้ ดี-งาม-ยั่งยืน ไม่ทำร้ายโลก

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้เศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นผลักดันการพัฒนาชีวิตเศรษฐกิจ สังคม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริม และสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และสะดวกสบายให้แก่สมาชิกในพื้นที่ชุมชน

“รถพยาบาลฉุกเฉินอัจฉริยะ” เพิ่มวินาทีชีวิต ต่อลมหายใจคนห่างไกล

คำกล่าวที่ว่า “ความแน่นอน คือสิ่งที่ไม่แน่นอน” ใช้ได้จริงกับวินาทีแห่งชีวิต และแม้จะไม่ได้ประมาท ก็ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า เหตุฉุกเฉินจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อใด ขณะที่การเข้าถึงการรับบริการสาธารณสุข

พาณิชย์ตรวจสต็อกปุ๋ย พบปริมาณเพียบ ราคาลดลง แนะเกษตรกรรวมกลุ่มกันซื้อปุ๋ยจากโรงงานลดต้นทุนได้

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจโรงงานปุ๋ยเคมี บจ. ไอซีพี เฟอไลเซอร์ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีสต็อกปุ๋ยอยู่ในปริมาณที่มาก ทั้งแม่ปุ๋ย ปุ๋ยที่บรรจุกระสอบแล้ว และวัตถุดิบสำหรับผสมปุ๋ยสูตร และโรงงานยังมีการนำเข้าปุ๋ยมาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง พร้อมรองรับการใช้ปุ๋ยในช่วงฤดูเพาะปลูกของเกษตรกร