มช. เปิดประตูล้านนาสู่ความประทับใจในระดับสากล ในงาน “Creative Lanna Marketplace”

มช. เปิดประตูล้านนาสู่ความประทับใจในระดับสากล ด้วยงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองเหนือ ใน “Creative Lanna Marketplace” งานแสดงความสร้างสรรค์ที่จะครองใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ สืบสานความงามผลัดเปลี่ยนใน 4 พื้นที่ 7 Concept รอบเมืองเชียงใหม่ ให้ทุกคนได้ชิม ช็อป แถมความรู้กลับบ้านไปเต็มกระเป๋า ได้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2566 ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 โดยเริ่มย่านสุดฮิป สันป่าข่อย เป็นที่แรก ภายใต้ ชื่องาน “ALIVE UP  SANPAKOI ส่อง / สร้าง / สันป่าข่อย”

“Creative Lanna Marketplace” นอกจากจะเป็นพื้นที่แสดงความสร้างสรรค์โดยใช้เอกลักษณ์ความเป็นล้านนาเป็นหลักสำคัญแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการแสดงศักยภาพทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ Heritage , Wellness , Art and Crafts , Costume , Gastronomy , Festival และ Performing Music and Media ของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน อาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรของมหาวิทยาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมการสัมมนา กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 ล้านนาสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาบนฐานศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา

การจัดเทศกาลจะจัดผลัดเปลี่ยนภายใน 4 พื้นที่ ภายใต้ 7 Concept ได้แก่ พื้นที่ชุมชนย่านสันป่าข่อย , ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา (คุ้มเจ้าบุรีรัตน์) , พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ (ท่าแพ) โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Service) ที่สร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ ไม่น้อยกว่า 20 ต้นแบบ/ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 จากทีมที่ปรึกษาในแต่ละโครงการ พร้อมทั้งทำการประชาสัมพันธ์พื้นที่ที่จัดโครงการและกิจกรรม

ทั้งนี้ พื้นที่ทั้ง 4 แห่ง ยังเป็นพื้นที่ผสานองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ากับย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อติดด้วยการคมนาคมขนส่งทางเรือ ทางรถไฟ ตลอดจนสนามบิน และเป็นพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการตลอดเส้นทาง มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการจากเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ตามแนวคิด (Concept) ตามแต่ละพื้นที่ทั้ง 4 แห่งให้ทุกคนได้สัมผัส

1.CL Food & Wellness Festival เทศกาลที่เน้นการแสดงศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมกินอยู่อย่างสร้างสรรค์ และสร้างสรรค์ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก สถานที่ : ย่านสันป่าข่อย บริเวณหลังอาคารอนุสาร สันป่าข่อย ถนนเจริญเมือง วันที่ : 16 – 17 กันยายน 2566 เวลา : 10.00 น. – 20.00 น. 2.CL Heritage & Costumes Festival เทศกาลที่เน้นการแสดงศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมย่านและเมืองสร้างสรรค์ และการแต่งกายสร้างสรรค์ สถานที่ : ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา (คุ้มเจ้าบุรีรัตน์) วันที่ : 11 – 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา : 10.00 น. – 20.00 น. *เวลาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่ 3.CL Music and Film Festival เทศกาลที่เน้นการแสดงศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดง ดนตรี และสื่อสร้างสรรค์  สถานที่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์  วันที่ : 8 – 10 ธันวาคม 2566เวลา : 10.00 น. –20.00 น. *เวลาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่  และ4.CL Art and Craft Festival เทศกาลที่เน้นการแสดงศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ หัตถกรรมสร้างสรรค์ สถานที่ : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ (ท่าแพ) วันที่ : 3 – 4  กุมภาพันธ์ 2567 เวลา : 10.00 น. –20.00 น. *เวลาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่

สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมตลอดทั้งงานได้ที่เพจ Creative Lanna Business Launchpad (https://www.facebook.com/CLbusinesslaunchpad)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มช. เปิดตัวเว็บไซต์ แสดง Dashboard ระบบการเฝ้าระวังโรคที่เป็นผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการวิจัย

มช. เปลี่ยนการเผาเป็นพลังงานสะอาด พัฒนาชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้ถ่านหิน ลดมลพิษ เพิ่มโอกาสแก่ชุมชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสาธิตวิธีการใช้เครื่องต้นแบบ Torrefactor และ Pyrolyzer นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์

เปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือ “โรงเรียนโรงสีแห่งแรก” ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด จ.นครสวรรค์ มีพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว มี ดร.วิสูตร จิตสุทธิภากร ตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท ยนต์ผลดี จำกัด

มช. ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไร้ฝุ่น PM2.5 ทั้งในรั้วไปจนถึงพื้นที่ห่างไกล พร้อมนำเอานวัตกรรมพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ แจ้งเตือน ป้องกันการเผาแบบ Real time

“PM 2.5” คำยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมักได้ยินจากข่าวในช่วงต้นของปีหลังการสิ้นสุดฤดูหนาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน หนึ่งในปัญหาที่พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยประสบในทุกปี