มช. โดยอ่างแก้ว โฮลดิ้ง ร่วมทุน ฮอร์แกไนซ์ Startup ศิษย์เก่า Platform การจัดการพื้นที่ให้เช่า อันดับ 1 ในประเทศไทย พร้อมลงนาม MOU เพื่อยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่ใน มช. สู่ยุคดิจิตอล 4.0

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และ บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพศิษย์เก่าของ มช.
ภายใต้การบ่มเพาะผ่านโปรแกรม Basecamp 24 ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ดำเนินธุรกิจแพลตฟอร์มบริหารจัดการพื้นที่อันดับ 1 ในประเทศไทยและได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการวงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อยกระดับเสถียรภาพการบริหารจัดการหอพักภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ณ NSP Exhibition Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวภายในงานว่า การลงนามครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการบริหารจัดการหอพักและพื้นที่ให้เช่าต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย และคุ้มค่ามากที่สุด

นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังได้มีการแถลงแผนการลงทุนรอบ Series-A ในบริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด
ร่วมกันระหว่าง 3 บริษัท ได้แก่ 1) บริษัท ไซเบอร์เอเจนท์ แคปิทัล 2) บริษัท วินเวสต์เม้น จำกัด หรือ “ตลาดไท” และ 3) บริษัท อ่างแก้ว โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้า และเพิ่มบริการใหม่ ๆ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่เช่าในประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล 4.0 และเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดขยายธุรกิจออกต่างประเทศ โดยภายในงานยังจัดการเสวนาในหัวข้อ “Rental Properties Global Trends and Aftermarket Digitalization” ผ่านบริษัทร่วมลงทุนทั้ง 3 อีกด้วย

ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดี มช. ในฐานะผู้แทน มช. หนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทอ่างแก้ว โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทโฮลดิ้งของ มช. ถือเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ และสนับสนุนการร่วมลงทุนในบริษัท Startup ที่มีศักยภาพ โดยให้เหตุผลถึงการพิจารณาร่วมทุนในการระดมทุนของ บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด รอบ Serie-A ครั้งนี้ ว่า บริษัทอ่างแก้ว โฮลดิ้งฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่องของฮอร์แกไนซ์ ที่สามารถเติบโตเข้าสู่ธุรกิจชั้นนำของเอเชียได้ ประกอบกับแผนธุรกิจที่ชัดเจน พร้อมต่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต และสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการร่วมทุนในครั้งนี้จะสามารถเป็นต้นแบบการลงทุนในบริษัท Startup ของมหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไป

ด้านนายธนวิชญ์ ต้นกันยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด กล่าวว่า ในฐานะศิษย์เก่า มช. บริษัทฯ พร้อมให้การสนับสนุนนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) และแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ ว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการร่วมระดมทุนกับ “ตลาดไท” เพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมตลาดสดและการจัดการแผงเช่า ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะปัญหาในองค์รวมคล้ายกับอุตสาหกรรมการจัดการพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเดิมที่บริษัทมีอยู่ มาทำการปรับปรุงและต่อยอดร่วมกับตลาดไท เพื่อให้สามารถบริหารแผงค้าและพื้นที่เช่าในธุรกิจตลาดที่สามารถตอบโจทย์ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอย่างครบวงจร โดยบริษัทฯ ได้นำแพลตฟอร์ม Myket Pro เข้ามาช่วยสร้างระบบการทำบริหารจัดการแผงเช่า ลดข้อผิดพลาดเพื่อยกระดับการบริการที่ดีขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในธุรกิจตลาดสดมากยิ่งขึ้น

ในช่วงท้าย อธิการบดี มช. ได้กล่าวเน้นย้ำว่า มช. มีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาปัจจุบัน
และทั้งศิษย์เก่า จะมีแรงกระตุ้นในการสร้างธุรกิจเติบโตไประดับโลก และกลายเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ดั่งเช่นบริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด ในวันนี้ ซึ่งในอนาคตอาจพัฒนาเป็นโพนีเพื่อต่อยอดสู่การเป็นยูนิคอร์นแห่งวงการ Startup ของไทยรายต่อไป ที่มาด้วยการบ่มเพาะจาก “รั้ว มช.”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มช. เปิดตัวเว็บไซต์ แสดง Dashboard ระบบการเฝ้าระวังโรคที่เป็นผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการวิจัย

มช. เปลี่ยนการเผาเป็นพลังงานสะอาด พัฒนาชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้ถ่านหิน ลดมลพิษ เพิ่มโอกาสแก่ชุมชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสาธิตวิธีการใช้เครื่องต้นแบบ Torrefactor และ Pyrolyzer นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์

เปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือ “โรงเรียนโรงสีแห่งแรก” ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด จ.นครสวรรค์ มีพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว มี ดร.วิสูตร จิตสุทธิภากร ตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท ยนต์ผลดี จำกัด

มช. ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไร้ฝุ่น PM2.5 ทั้งในรั้วไปจนถึงพื้นที่ห่างไกล พร้อมนำเอานวัตกรรมพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ แจ้งเตือน ป้องกันการเผาแบบ Real time

“PM 2.5” คำยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมักได้ยินจากข่าวในช่วงต้นของปีหลังการสิ้นสุดฤดูหนาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน หนึ่งในปัญหาที่พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยประสบในทุกปี