นวัตกรรมซีรีส์"รู้มั้ย by Cofact" เพื่อเด็ก-ผู้สูงวัยรู้เท่าทันข่าวลวง

มีรายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยประจำปี 2565 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่า คนไทย 85% กำลังใช้ชีวิตใน “โลกคู่ขนานออนไลน์” ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8.06 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญยังพบว่า คนไทย 62.5% กังวลเรื่องข่าวลวง ซึ่งสูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

จากข้อมูลดังกล่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้สานพลัง โคแฟค  (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย จัดเวที Infodemic   Literacy Forum เสวนาสาธารณะรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาวะ #1 มุ่งเป้าพัฒนาระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ พัฒนาทักษะเท่าทันสื่อ จิตสำนึก ค่านิยม และพฤติกรรมการใช้สื่อ สนับสนุนให้เกิดกลไกเฝ้าระวัง เป็นวิถีปฏิบัติในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็น "เหยื่อ" การหลอกลวงบนโลกออนไลน์มากที่สุด

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส.  กล่าวว่า “ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เกิดข้อมูลข่าวลวงสุขภาพในโลกออนไลน์จำนวนมาก ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนให้ระมัดระวังภัยจากการสื่อสาร ทั้งนี้ กลุ่มเด็กและผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลสุขภาพที่บิดเบือน พบผู้สูงอายุถึง 75% ขาดทักษะการใช้สื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเท่าทันสื่อในสังคม ที่น่าห่วงคือ ข่าวลวงเกี่ยวกับการรักษาโรค โดยเฉพาะมะเร็ง"

ข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ราว 140,000 คนต่อปี หรือ 400 คนต่อวัน สสส.และโคแฟคจึงได้พัฒนานวัตกรรมซีรีส์สุขภาพรู้ทันข่าวลวงมะเร็ง 4  ตอน และซีรีส์รายการ “รู้มั้ย by Cofact” กรองข่าวลวงสุขภาพ 10 ตอน เผยแพร่ผ่านช่องทางยูทูบ สสส. และโคแฟค หากประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง นำไปสู่การเป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลโรคได้

นางญาณีชี้แจงว่า ข้อมูลลวงเรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจจะต้องฟังหูไว้หู มีสติ เช็กข่าวก่อน ฟังเสียงตัวเองให้เป็นด้วย จะเป็นทิศทางนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย เด็กได้รับข่าวลวงที่ส่งผลกระทบต่อการคุกคามทางเพศ ปัญหา Cyber Bully ตลอดจนแก๊ง Call Center หลอกทุกช่วงวัย

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค เปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับข้อมูลข่าวสารถาโถมเข้ามามากมาย จึงต้องหาแนวทางตรวจสอบจากศูนย์ข่าวภาครัฐว่าเป็นจริงหรือเท็จ  ด้วยแนวคิดโคแฟคอยากให้ทุกคนมีสติตรวจสอบข่าวหาความจริงร่วมกัน ได้ความคิดนี้มาจากไต้หวันที่ปล่อยให้เปิดกว้างรับทราบข้อเท็จจริงหลายชุด แต่ก็ต้องตรวจสอบบนพื้นฐานของเหตุผล โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องสุขภาพจะได้รับมากที่สุด ประเทศไทยมีปรากฏการณ์แนวทางการรักษาสุขภาพ ต้องมองด้วยความเข้าใจ ไม่แบ่งแยก “ทำไมไม่รู้จักคิด ช่วยกันหามุมมองที่ทำความเข้าใจ”

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัดทั้งเต้า ใช้เคมีบำบัด ฉายแสงกินยาตลอดระยะเวลา 5 ปี “เก๋มีเนื้อร้าย 1 ซม. หาข้อมูลการรักษาจากเพื่อนพี่น้องให้แนวทางการรักษา ทั้งเรื่องสมุนไพร เป็นแพทย์ทางเลือก    เราต้องตั้งสติ เป็นมะเร็งเต้านมเสี่ยงมาก รอเวลาไม่ได้  แต่จากสถิติการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันก็หายเยอะ เก๋เลือกตัดทั้งเต้า ใช้เคมีบำบัด 8 ครั้ง ร่างกายสะบักสะบอมมาก แต่เรารักษาแบบไม่เหยียบเรือสองแคม  เชื่อมั่นหมอมาก ไม่ใช้สมุนไพร ยาจีน กัญชาแต่อย่างใด ใช้สมาธิและทำงานๆๆ ผ่านมาได้ด้วยกำลังใจ ต้องกินยาทุกวัน หาหมอทุกๆ 3 เดือน ตอนนี้เริ่มใช้ยาจีนเพื่อบำรุงร่างกาย เสริมผงไข่ขาวรับโอโซนเพื่อให้ร่างกายสดชื่นขึ้น บางคนรักษาครบกระบวนการสายมู  สายสมุนไพร สายวัด”

นางสาวสุภิญญาย้ำว่า "ขอฝากข้อคิดถึงทุกคน รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดและเชื่อตามนั้นเป็นเรื่องอันตรายที่สุด เป็นเรื่องที่เราต้องแก้ไข Grey Area เป็นความคิดความเชื่ออยู่ที่ปัจเจกบุคคล เราต้องช่วยกันรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจกันอย่างถ่องแท้ด้วย จำเป็นต้องใช้เวลาตรวจสอบด้วย ข่าวลวงที่เกิดขึ้นในเมืองไทยอันดับ 1 เป็นเรื่องสุขภาพ  อันดับ 2 เรื่องการเมือง ดังนั้นอย่าเพิ่งเชื่อ จำเป็นต้องตั้งสติแล้วหาข้อมูลคิดวิเคราะห์ให้รอบด้านอย่างที่เรียกว่า M-Party เปิดกว้างทุกมุมมองถึงจุดลงตัวในการรักษา"

ซีรีส์สุขภาพเกิดขึ้นจากความสนใจในประเด็นด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในโลกดิจิทัล รวมถึงข่าวลวงที่วนซ้ำ  เช่น เรื่องมะนาวโซดารักษามะเร็ง ฐานข้อมูลของโคแฟคพบข่าวลวงสุขภาพมากถึง 7,482 ข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการตรวจสอบข่าวที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐบาล ที่ผ่านมา ได้เปิดพื้นที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลให้กับพลเมืองด้วยการเป็น Fact Checker ด้วยตนเอง โดยวางระบบเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชันและไลน์แชทบอท สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใช้ประโยชน์ ค้นหาความจริงร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้เรื่องปัญหาข่าวลวงด้านสุขภาพ มุ่งเป้าสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่เข้มแข็ง จากความร่วมมือขับเคลื่อนเพื่อป้องกันและตรวจสอบข่าวลวงจากกว่า 40 ภาคี ทั้งในและต่างประเทศ

ทุกวันนี้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก   ต้องมีสติเพื่อรู้เท่าทัน ทุกวันนี้ AI เข้ามามีบทบาทมาก  เราต้องรู้เท่าทันอนาคต ต้องแยกให้ออกและสร้างความตระหนักรู้ โคแฟคลดผลกระทบจากข่าวลวงได้ โดยเฉพาะการเผยแพร่แนวความคิดเพื่อให้ทุกคนตรวจสอบข่าวสารด้วยตัวเอง บนพื้นฐานของเหตุผลและข้อมูล การอ้างอิง ผลกระทบจากข่าวลวงไม่ถูกต้องแล้วแชร์ต่อกันจนเป็นไฟลามทุ่งย่อมเกิดผลกระทบเป็นอย่างมาก เกิดอคติ โดยเฉพาะผู้สูงวัยถูกหลอกลวงเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว มีความละเอียดอ่อน  ยิ่งป่วยด้วยโรคมะเร็ง หัวใจ การเข้าถึงหมอที่จะพูดคุยอย่างละเอียดไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนไข้เยอะมาก คุยกับหมอได้เพียง 5 นาทีก็ต้องตรวจคนไข้รายอื่น ยุคนี้จึงต้องหาข้อมูลเรื่องสุขภาพจากช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือ

“ปัญหาข่าวลวง หรือข้อมูลบิดเบือนยังมีความแตกต่างตามบริบทของพื้นที่หรือภูมิภาค โคแฟคได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกเครือข่ายเฝ้าระวังตรวจสอบข้อมูลข่าวลวงใน 12 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ชลบุรี พะเยา สงขลา เชียงใหม่ ปัตตานี ขอนแก่น ปทุมธานี อำนาจเจริญ มหาสารคาม สุรินทร์ และศรีสะเกษ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมค้นหาข่าวลวงตามบริบทในแต่ละพื้นที่ พร้อมเป็นสื่อกลางสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องในสังคม” นางสาวสุภิญญาเปิดเผย

แพทย์หญิงณัษฐา พิภพไชยาสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มงานโภชนศาสตร์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีเป็นจำนวนมาก มีข่าวลวงเกิดขึ้นมากมาย เพราะทุกคนให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ไม่มีใครอยากป่วย เจ็บ หรือตาย ถ้าได้ฟังวิทยากรทางด้านการแพทย์อย่างถูกต้องจะช่วยลดความหวาดกลัวลงได้ มะเร็งอยู่ในกลุ่มโรค NCDs การรักษายุ่งยากซับซ้อน มีผลข้างเคียงทำให้คนทั่วไปรู้สึกหวาดกลัว คนเราอยากฟังแต่ข่าวดีไม่อยากฟังข่าวร้าย   กรมการแพทย์ สถาบันทางวิชาการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยาบางตัวเคยใช้รักษาอย่างถูกต้องในอดีตผ่านงานวิจัย รับรองมานานสิบปี แต่ปัจจุบันเกิดอันตรายก็มี

อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชี้แจงเรื่องสมุนไพรต้านมะเร็งว่า ปรากฏเป็นข่าวลืออยู่เสมอๆ เรื่องยาต้านมะเร็ง รักษามะเร็งได้เป็นเรื่องต่างกัน มีงานวิจัยเมื่อนำเซลล์มะเร็งมาเพาะเลี้ยง จะลดการแบ่งตัวได้ เมื่อทำในหนูทดลองในห้องแล็บ จะนำมาใช้กับคนได้เหมือนกันหรือไม่ มะเร็งคือการอักเสบ มีแผลปะทุ ผักผลไม้สมุนไพรแทนทุกตัวลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง กล้วยมีคุณส่งเสริมทำลายเซลล์มะเร็ง คงเป็นเรื่องยากที่เราจะกินกล้วยแล้วมะเร็งจะหาย เรื่องอนุมูลอิสระและการอักเสบซ้ำๆ เกินเยียวยาจากภูมิคุ้มกันในร่างกาย สมุนไพรต้านมะเร็ง ขมิ้นชัน รางจืด ตรีผลา หญ้าปักกิ่ง สถาบันมะเร็งวิจัยร่วมกับ ม.มหิดล พบว่าหญ้าปักกิ่งช่วยยืดอายุ ลดผลข้างเคียงจากการฉายแสง แก้น้ำเหลืองเสีย โรคสะเก็ดเงิน  ผิวหนังที่มีปัญหาน้ำเหลืองไม่ดี แผลเรื้อรังอยู่ภายใน รางจืดล้างยาเสพติด ยาฆ่าแมลง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022