สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งดำเนินงานในบทบาทธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีความคล่องตัว เปิดกว้างในการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนทำงานเพื่อสังคม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต มีสุขภาวะที่ดี และปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สสส. จึงได้สานพลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีสู่สังคม” ยกระดับนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ ผ่านความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้ และความชำนาญการของคณะฯ นำร่องพัฒนานวัตกรรม “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร” ของทีมเยาวชน จากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2021 ของ สสส.

“สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาการใส่หมวกนิรภัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาสุขภาวะด้านการป้องกันเชื้อโรค ลดกลิ่นอับจากหมวกนิรภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความมั่นใจต่อประชาชน เพิ่มอัตราการสวมหมวกนิรภัยลดปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในสังคม เตรียมขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งจุดวางเครื่องฆ่าเชื้อโรคในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรมภายในปี 2567” น.ส.ภาสวรรณ กล่าว

รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งสร้างธุรกิจเอสเอ็มอีและเพิ่มพื้นที่สร้างเสริมสุขภาพ ให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมา ได้พัฒนานวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99% ควบคุมระยะห่าง กำหนดความเร็วแม่นยำ ทำงานอัตโนมัติแทนมนุษย์ได้ 24 ชม. เช่น เครื่องอบฆ่าเชื้อใบปริญญาบัตร โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หุ่นยนต์ได้ช่วยปฏิบัติงานทางการแพทย์ใน รพ.สนาม นำไปสู่ความมั่นคงทางสุขภาพ การสร้างความร่วมมือกับ สสส. ครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการบ่มเพาะนวัตกรสุขภาพ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสร้างนวัตกรรมสุขภาพที่มีคุณภาพ ใช้งานได้จริง เป็นประโยชน์กับประชาชนให้ใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ