กรมส่งเสริมสหกรณ์ สั่งเข้ม “นิคมสหกรณ์” ห้ามมีการเผาในเขตพื้นที่นิคมฯ เด็ดขาด พบฝ่าฝืนตัดสิทธิ์มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐทันที

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ตรงกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร และการเผาในพื้นที่เกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจให้ได้หลายรอบต่อปี เช่น การเผาใบอ้อย ตอซังฟางข้าว และตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากปัญหาดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร จึงมีมติให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกมาตรการเชิงรุกกับเกษตรกรที่ไม่ให้ความร่วมมือทำการเผาผลผลิตทางการเกษตรในที่ดินของรัฐจัดให้ พร้อมวางบทลงโทษพิจารณาตัดสิทธิ์ ไม่ให้สิทธิ์เพิกถอนสิทธิ์ หรือไม่ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งพิจารณาตัดสิทธิ์ความช่วยเหลือหรือชดเชยต่าง ๆ จากภาครัฐ และสิทธิ์การทำการเกษตรในที่ดินของรัฐบาลด้วย

ด้านนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ภายใต้การกำกับดูแลของศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญเรื่องแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นอย่างมาก เนื่องจากเล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนทุกภาคส่วน จึงออกแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ภาคการเกษตร ในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ โดยสั่งการไปยังสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ที่มีพื้นที่ Hotspot ให้กำชับกวดขัน “นิคมสหกรณ์” ในพื้นที่รับผิดชอบให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่ให้มีการเผาในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์โดยเด็ดขาด หากตรวจสอบพบว่ามีเกษตรกรสมาชิกที่ฝ่าฝืนเผาในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการชะลอการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ (กสน.3) และชะลอการได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ซึ่งเป็นเอกสารที่สามารถนำไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ รวมทั้งจะไม่ได้รับการสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/เงินอุดหนุนของรัฐบาล ในฐานะสมาชิกนิคมสหกรณ์ และจากสหกรณ์ที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย

“อย่างไรก็ตาม นิคมสหกรณ์ต้องรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการรายเดือน ภายใต้มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี พ.ศ.2568 ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ภายในวันที่ 7 ของทุกเดือนจนกว่าจะสิ้นสุดสถานการณ์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป เพื่อให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รวบรวม
ผลการดำเนินการ และรายงานให้กรมควบคุมมลพิษทราบเพื่อวางแผนดำเนินการต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร้อนจัดทะลุ 40 องศา! โฆษกรัฐบาลเตือนระวังฮีทสโตรก ฝุ่นภาคเหนือยังน่าห่วง

อากาศร้อนจัดหลายจังหวัดแตะ 40+ องศาฯ ‘จิรายุ’ เตือนประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ลดเสี่ยงฮีทสโตรก ขณะเดียวกัน ฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือยังเกินมาตรฐาน จับตาค่าฝุ่นขยับเพิ่มใน 7 วันข้างหน้า

“109 ปี การสหกรณ์ไทย” กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าสร้างสหกรณ์เข้มแข็ง เศรษฐกิจไทยมั่นคง

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2568 ครบรอบ 109 ปี การสหกรณ์ไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย"

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ลุยต่อ จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รับมาตรการแก้ปัญหาการก่อฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตร

ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานทุกภาคส่วนพยายามร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน

ปลดล็อก!! กรมส่งเสริมสหกรณ์ หารือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ เร่งแก้ไขกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนฯ หลังเกิดผลกระทบกับสหกรณ์ที่มีเงินล้นระบบ

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2567 ทำให้เกิดความกังวลต่อสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ ถึงความเดือดร้อนที่เกิดจากผลกระทบของกฎกระทรวง

“ศูนย์การเรียนรู้และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ในรูปแบบฟาร์มกลาง“ ต้นแบบการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด

ในช่วงที่เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในสภาพไม่แน่นอน การดำเนินธุรกิจขนาดเล็กย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันกับทุนรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบจากต้นทุนทางการเงินที่มากกว่า