'รมว.นฤมล' นำกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.หนองคาย ติดตามการบริหารจัดการน้ำช่วงหน้าแล้ง ย้ำ มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของเกษตรกรไทยเป็นหลัก

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย แห่งที่ 2 ต.หาดคำ อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ช่วงฤดูแล้ง

โดย ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งรัดดำเนินการในหลายนโยบายให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าเอาไว้ เช่น การแจกโฉนดเพื่อการเกษตร โดยปี 68 เราตั้งเป้าจะทำให้ครบทั้ง 22 ล้านไร่ รวมทั้งเราจะออกโฉนดต้นยางให้กับเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 11.17 ล้านไร่ และโฉนดต้นไม้ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับต้นยางพาราหรือต้นไม้ที่ปลูกอยู่บนที่ดินของตนเองไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการขอสินเชื่อจาก ธ.ก.ส.และนำไปลงทุนต่อยอดทางธุรกิจได้ โดยจะ Kick off เปิดโครงการในวันที่ 1 เม.ย.นี้ โดยเราตั้งเป้าออกโฉนดต้นยางให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง และในอนาคตชาวสวนยางยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เพิ่มเป็นรายได้เสริม

“ดิฉันกล่าวมาตลอดว่า กระทรวงเกษตรฯ มีหน้าที่ 2 เรื่อง คือ การถวายงานให้กับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพราะกรมต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ เกิดขึ้นเพราะในหลวง ร.9 และ ร.10 สานงานต่อ ซึ่งก็คือการดูแลเกษตรกรของพระราชา ดังนั้น เราจึงต้องดูแลผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกรเป็นหลัก ไม่ว่ารัฐบาลจะไปเจรจาข้อตกลงใดๆ ก็แล้วแต่ สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ผลประโยชน์จะต้องตกอยู่ที่เกษตรกรไทยก่อน ซึ่งถ้าเกิดผลทางลบ เราก็จำเป็นที่จะต้องทักท้วงและโต้แย้ง เพื่อแสดงว่า เราไม่เห็นด้วย“ศ.ดร.นฤมล กล่าว

จากนั้น ศ.ดร.นฤมล ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาติดตามโครงการที่ได้ดำเนินการเอาไว้ อย่างเช่นเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกับพี่น้องชาวภาคอีสาน โดยเฉพาะที่จังหวัดหนองคายที่มีพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก รวมไปถึงงบประมาณต่างๆ ที่จะต้องผ่านมติของที่ประชุมสภาฯ รวมไปถึงการดูแลพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ กำลังเดินหน้าจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการผลิตข้าวด้วยตนเอง และให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ข้าวชุมชนแล้วทั้งสิ้น 4,985 แห่ง และในปี 68 จะสามารถมีศูนย์ข้าวชุมชนได้ประมาณ 7,000 แห่ง และปี 69 จะจัดตั้งได้เพิ่มอีก 500 แห่ง ซึ่งจริงๆ แล้วเราต้องการดำเนินการได้มากกว่านี้ แต่ก็เข้าใจในเรื่องข้อจำกัดของงบประมาณ จึงอยากให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่า ศูนย์ข้าวชุมชนจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพี่น้องชาวนา เพราะจะทำให้เกิดพันธุ์ข้าวที่ดีเหมาะสมกับพื้นที่

ในโอกาสนี้ ศ.ดร.นฤมล และนายอิทธิ ได้ร่วมกันมอบโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 100 ราย พร้อมปัจจัยการผลิต อาทิเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 1,300 ตัน ,พันธุ์ปลา,หญ้าแพงโกล่าแห้ง ,ถุงยังชีพปศุสัตว์ และเครื่องมืออุปกรณ์ทอผ้าไหมเกษตรกรอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แก่ตัวแทนเกษตรกรผู้มาร่วมงานด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี จีนเปิดแลปตรวจทุเรียนเพิ่ม ขยายโอกาสส่งออกของไทย

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าตามข้อสั่งการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)

“รมว.นฤมล”อวยพร‘ขรก.-ประชาชน’สงกรานต์ 68 ให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงตลอดปี ขอครอบครัวเกษตรฯทำหน้าที่ให้สมเกรียติที่ได้ดูแลเกษตรกรของพระราชา

เมื่อวันที่ 12 เม.ย.เวลา 09.30 น. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม(กธ.) กล่าวว่า เนื่องด้วยวันสงกรานต์ ถือเป็นวันที่มีความหมายและมีคุณค่า เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย เป็นวันของผู้สูงอายุ ครอบครัว

สศก.เผย เกษตรกรไทย ถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 24.97 ไร่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตรของไทย โดยการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดินของครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2566 พบว่า ครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 24.97 ไร่ต่อครัวเรือน

“รมว.นฤมล”นำ กระทรวงเกษตรฯ ยืนไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว ก่อนกำชับนโยบาย ขรก.ต้องกล้าสู้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรไทย ขอทุกคนช่วยดูแลเกษตรกรของพระราชา

เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยพร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าโครงการส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายเดิม พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ครอบคลุมสินค้าเกษตร 5 ประเภท

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการส่งเสริม “เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” ถือเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์