นักธรณีวิทยา จุฬาฯ พบหลักฐานใหม่ร่องรอยสิ่งปลูกสร้างบนเขาพนมรุ้ง บุรีรัมย์

ร่องรอยบนรูปสี่เหลี่ยมคล้ายสิ่งปลูกสร้าง

5มี.ค.65-ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯผู้สนใจศึกษาด้านโบราณคดีผ่านข้อมูลโทรสัมผัส (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศ(GIS) พบร่องรอยบนพื้นผิวโลกที่มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมบนเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ คาดเป็นร่องรอยสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ร่วมสมัยกับปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี

“ทักษะในการสำรวจและแปลความทางธรณีวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาด้านโบราณคดีได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาลักษณะภูมิประเทศผ่านข้อมูล โทรสัมผัส (Remote Sensing)และภูมิสารสนเทศ (GIS)” ศ.ดร.สันติ เผยถึงที่มาของการค้นพบร่องรอยดังกล่าว

ปราสาทหินพนมรุ้ง


ก่อนหน้านี้ ศ.ดร.สันติ และนิสิตปริญญาเอกได้ศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้ของแนวเส้นทางเท้าในการเดินขึ้นเขาพนมรุ้ง พบว่าก่อนที่จะมีเส้นถนนที่คดเคี้ยวอย่างเช่นปัจจุบัน ในอดีตคนเดินขึ้น-ลงเขาพนมรุ้งเป็นแนวเส้นตรงจากทางทิศตะวันออกของเขา ซึ่งเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดเนื่องจากพบแนวเส้นตรงคล้ายร่องทางเดินให้เห็นอย่างเด่นชัดจากภาพถ่ายดาวเทียมและจากการลงพื้นที่สำรวจตลอดแนวเส้นพบหลักฐานการกดอัดและเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นธรรมชาติของหินในพื้นที่

แนวเส้นทางคาดว่าเดินจากสิ่งปลูกสร้างไปยังสระน้ำ


นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาและก้อนศิลาแลงบริเวณที่ราบติดเชิงเขาซึ่งบ่งชี้ว่าแนวเส้นตรงที่พบจากภาพถ่ายดาวเทียม อาจจะเป็นเส้นทางเท้าที่คนในอดีตใช้ในการเดินขึ้น-ลงเขาพนมรุ้ง

ร่องรอยคาดว่าเดินไปยังสระน้ำ

ล่าสุด ศ.ดร.สันติ พร้อมด้วยนิสิตปริญญาโท ภาควิชาธรณีวิทยาได้ศึกษาเส้นทางที่คาดว่าจะใช้ขนย้ายหินก่อสร้างจากแหล่งตัดหินเชิงเขาพนมดงรัก บริเวณบ้านสายตรี 3 อ.บ้านกรวด ขึ้นไปสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง โดยจำลองเส้นทางที่เป็นไปได้ทางภูมิประเทศจากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM)ประมวลผลร่วมกับเครื่องมือทางภูมิสารสนเทศ (GIS)จากนั้นแปลความเพิ่มเติมในรายละเอียดผ่านภาพถ่ายดาวเทียม ทำให้พบร่องรอยที่คาดว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างบนเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นร่องรอยที่ยังไม่มีการพบและเผยแพร่สู่สาธารณชนมาก่อน


โดยร่องรอยที่พบจากภาพถ่ายดาวเทียมมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีสีแตกต่างจากบริเวณข้างเคียงมีขนาดหรือพื้นที่ใกล้เคียงกับขอบเขตของปราสาทหินพนมรุ้ง นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกันยังพบแนวเส้นที่คล้ายการเดินซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าไปยังสระน้ำทางด้านหน้าของตัวปราสาท ซึ่งปกติจะไม่พบร่องรอยแบบนี้ในทางธรรมชาติหรือทางธรณีวิทยาและปัจจุบันไม่พบกิจกรรมของมนุษย์ตามแนวเส้นนี้

ดร.สันติ ภัยหลบลี้


“จึงสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ากรอบสี่เหลี่ยมที่ตรวจพบน่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออาจจะเป็นขอบเขตที่พักอาศัยในอดีต ที่น่าจะมีกิจกรรมหรือกิจวัตรที่สัมพันธ์กับสระน้ำดังกล่าวการค้นพบในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะเข้าไปสำรวจและพิสูจน์ทราบเพื่อหาข้อสรุปต่อไป” ศ.ดร.สันติ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุรีรัมย์พายุถล่มยับรอบ 30 ปี โรงเรียน–พระพุทธรูปล้มพังทั้งแถบ

บุรีรัมย์ ระทึก พายุถล่ม ร.ร.หนักสุดรอบ 30 ปี อาคารเรียน บ้านพักครู โรงอาหารพังยับ สะเทือนใจ พระพุทธรูปถูกพัดคอขาด เร่งสำรวจความเสียหายป้องกันความเสี่ยงให้ครู – นักเรียน

เทศกาลสงกรานต์ พวงมาลัยดอกมะลิ ปรับขึ้นราคา อากาศร้อนทำคนซื้อน้อย

ใกล้ถึงวันสงกรานต์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วกลับพบว่ามีประชาชน ออกมาเลือกซื้อหา พวงมาลัยดอกมะลิ เพื่อนำไปกราบไหว้รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควรเหมือนทุกปี

'คิม มิน ฮยอค'ช่วยบุรีรัมย์ ดับ'ประจวบ'1-0นำจ่าฝูงต่อ 'เมืองทอง'ชนะต่อเนื่อง

การแข่งขันฟุตบอลไฮลักซ์ รีโว่ ไทยลีก 2023/24 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 ณ ช้างอารีนา “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จ่าฝูงที่มี 50 คะแนน เปิดรังเหย้า รับการมาเยือนของ “ต่อพิฆาต” พีที ประจวบ เอฟซี ทีมอันดับ 14 ที่มี 23 คะแนน จากการลงสนาม 23 นัดเท่ากัน

'หมอโอ๋' มองดราม่าอัญเชิญพระเกี้ยว อย่าเห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู ขอให้รู้ผู้ใหญ่จะตายก่อน

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือ หมอโอ๋ เจ้าของเพจ "เลี้ยงลูกนอกบ้าน" ได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่าด้วยเรื่องอัญเชิญพระเกี้ยว