ศาลรธน.นัด 1 มิ.ย.นี้ ตีความ พ.ร.ก.ฉุกเฉินขัดรธน. ม.26 หรือไม่ พร้อมสั่งจำหน่ายคดี คำโต้แย้งประกาศ-คำสั่ง คสช.คุมสื่อ ชี้ถูกยกเลิกแล้ว-ไม่มีผลบังคับใช้
11 พ.ค.2565 - ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณากรณีศาลแขวงดุสิตส่งคำโต้แย้งของนายปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ 1762/2563 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. มาตรา 9 และมาตรา 11 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และ มาตรา 26 หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทำการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดประเด็นพิจารณาวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (2) และมาตรา 11 (6) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ โดยกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ ในวันพุธที่ 1 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
นอกจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญยังได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 51 กรณีศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ในคดีหมายเลขดำที่ 63/2560 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3,4,5,26,27,34 และ มาตรา 35 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 ถูกยกเลิกโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 แล้ว ไม่มีผลใช้บังคับต่อไป ส่วนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ข้อ 1 ที่กำหนดให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการออกรายการที่มีเนื้อหาสาระตามข้อ 3 (1) ถึง (7) ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 เป็นการออกอากาศที่มีเนื้อหาสาระตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 (ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงฯ)นั้น เมื่อประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นถูกยกเลิกไปแล้ว คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2559 ข้อ 1 ย่อมไม่มีผลใช้บังคับต่อไปด้วย อันเป็นกรณีไม่มีเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยคดีนี้ต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อ.ไชยันต์' มั่นใจไม่มีปัญหาลักษณะต้องห้าม สมัครตุลาการศาลรธน.คนใหม่
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้มีการปิดรับสมัครไปเมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
ศาลรัฐธรรมนูญตีตกคำร้องฟัน กกต.ปมฮั้วเลือก สว.
ศาล รธน.ตีตกคำร้อง "ณฐพร" ปมขอสั่งฟัน กกต.เหตุปล่อยฮั้วเลือก สว. ชี้ไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ กกต.ทำตาม กม.หากเสียหายใช้สิทธิทางศาลอื่นได้
'สนธิญา' ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลรธน. วินิจฉัยกฎหมายกาสิโน ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา
“สนธิญา” ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน วินิจฉัยร่างกฎหมายคาสิโน ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา พร่อมส่งศาลรธน.สั่งระงับ นายกฯ-ครม.สิ้นสภาพ ซัดลุยงานเพื่อประโยชน์บางคน ไม่เห็นหัวประชาชน
ระทึก! อาคาร A ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะทรุด สั่งอพยพคนทันที
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรืออาคารเอ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการสำคัญหลายหน่วยงาน
'รมว.ยธ.' ติง 'ประธานวุฒิ' ไม่ควรเซ็นคำร้องศาลรธน.เหตุมีชื่อในโพยฮั้วเลือกสว.
'รมว.ยธ.'ไม่กังวล ศาลรธน.รับวินิจฉัยฝ่าฝืนจริยธรรม แทรกแซงรับคดีฮั้วเลือกสว.ติง 'ประธานวุฒิสภา' ไม่ควรเซ็นคำร้อง เหตุมีชื่อในโพย เผยทำหนังสือขอชื่อผู้ร้องทั้งหมดเพื่อตรวจสอบ ก่อนทำคำชี้แจงส่งศาล ชี้หลายข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนเหมือนวินิจฉัยแทน
กระทุ้ง 'วิโรจน์' ร้องศาลรธน. วินิจฉัย 'นายกฯอิ๊งค์' ส่อไม่ซื่อสัตย์ ปมตั๋วPN
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ชื่นชมนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน