'ปิยบุตร' เชื่อปฏิรูปสถาบันฯอยู่ใต้รธน.ได้เมื่อไร การหมิ่นประมาทก็จะค่อยๆหมดไปเอง

แฟ้มภาพ

เลขาธิการคณะก้าวหน้า ระบุเหตุวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น เพราะกฎหมายหลายฉบับทำให้สถาบันฯมีพระราชอำนาจเพิ่มมากขึ้น แนะปฏิรูปให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญแบบญี่ปุ่น อังกฤษ เมื่อนั้นการหมิ่นจะหมดไปเอง

6 พ.ย.2564 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังแสดงทรรศนะแลกเปลี่ยนกรณีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า ในรายการ #มีเรื่องLive ซึ่งดำเนินรายการโดย จอมขวัญ หลาวเพชร์ ออกอากาศทางช่อง Youtube Jomquan

ปิยบุตร ระบุว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้มาจากการที่ข้อเรียกร้องของเยาวชนที่ชุมนุมมาตั้งแต่ปีก่อน ไม่เคยได้รับการตอบสนองจากรัฐแม้แต่น้อย รวมถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ “สถานการณ์เดินทางมาจนถึงขนาดนี้ ผมก็พยายามจะหาทางคิดรูปแบบว่าจะทำอย่างไรให้ไปต่อได้ เพราะปฏิเสธข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดสองปีไม่ได้แล้ว การที่มีคนจำนวนมากพูดถึงปัญหาของสถาบันกษัตริย์ ตั้งคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เกิดมาจากอะไร

หนึ่ง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม มีทหารบางกลุ่ม พยายามอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดเวลาเพื่อแสดงให้เห็นว่าอยู่ฝักฝ่ายเดียวกับตน จนทำให้ฝ่ายที่เขาอยู่คนละข้างตั้งคำถามต่อไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

สอง ภายหลังรัฐประหาร 2557 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และ สนช. เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและกฎเกณฑ์ของกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น เช่น พระราชกำหนดโอนกำลังพลฯ, พ.ร.บ.สงฆ์, กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หรือเรื่องของส่วนราชการในพระองค์ การเพิ่มงบประมาณให้แก่สถาบันกษัตริย์จำนวนมากในขณะที่ประเทศมีวิกฤติ ก็เลยเกิดการพูดถึงตัวสถาบันกษัตริย์เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

หากสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมืองหรือในเรื่องสาธารณะโดยแท้ แต่ให้รัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการมีอำนาจและเป็นคนรับผิดชอบ ยกตัวอย่างจักรพรรดิของญี่ปุ่น ดังนั้นถ้าตำแหน่งแห่งที่ บทบาท พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ได้รับการจัดวางให้ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว ผมเชื่อเลยการวิพากษ์วิจารณ์จะไม่มีหรือน้อยมาก

เช่นเดียวกัน ถ้าใครก็ตามที่ใช้อำนาจสาธารณะ คุณก็จะกลายเป็นเป้า พวกเรานักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ ใช้อำนาจสาธารณะ เข้าไปเป็น ส.ส. วันหนึ่งเป็นรัฐมนตรี ก็ต้องถูกวิจารณ์อยู่แล้ว ดังนั้นเป็นวิธีการป้องกัน คือไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจในทางสาธารณะ เมื่อไม่อยู่ในที่สาธารณะ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะไม่มีใครไปไปวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ก็จะไม่มีเรื่องของหมิ่นประมาทดูหมิ่นอะไรตามมา ฉะนั้นเพราะเวลามองเลยอยากชวนมองรอบด้านนอกจาก 112 ด้วย คือมองไปถึงเรื่องของการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย

ผมเชื่อว่าการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคนี้ ในปี 2564 ซึ่งอยู่กับกระแสโลกแบบนี้ด้วย ใช้ 112 แบบนี้ไม่ได้ จำเป็นต้องปรับปรุง 112 และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นแบบญี่ปุ่น อังกฤษ ผมเข้าใจดีว่าคนรุ่นผม คนรุ่นก่อนผม มีทัศนคติที่มองสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เหมือนกับคนรุ่นนี้ที่กำลังเกิดขึ้นโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจะทำอย่างไร เพราะเราทุกคนต้องอยู่ในสังคมด้วยกัน”

#ยกเลิก112 #หมดเวลา112 #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ช่วยกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ที่ www.no112.org

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตะวัน-แฟรงค์' ชวดประกันตัวครั้งที่ 6 ศาลชี้ไม่มีเหตุอื่นให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง

ทนายความได้ยื่นประกัน นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และ นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ ต่อศาลอาญาอีกเป็น

เพื่อไทยเฮลั่น! ศาลรธน.ตีตกคำร้องหาเสียงแก้มาตรา 112

ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวการพิจารณา เรื่องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้อง) ตามคำแถลงการณ์ของ