ขอปลายทาง 30 ก.ย. คำนึงความสงบสุขประเทศ

เปิดเวทีคณะหลอมรวมฯ ขอปลายทาง 30 ก.ย.คำนึงความสงบสุขประเทศ สับยับมีพรรคจระเข้ขวางในสภา “เจษฎ์” จับตาล่วงหน้าหลุมพรางรัฐประหารแล้วตีกิน ต้องเดินหน้าทำให้อำนาจเป็นของประชาชน

18 ก.ย.2565 –  ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะหลอมรวมประชาชน จัดเสวนา “นับหนึ่งประเทศไทยของปวงชน หลัง 30 กันยายน”  โดยมีนายเจษฎ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย และ อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรปริญญาเอกสาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายเจษฎ์ กล่าวกรณี วาระ 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า  การที่ต้องกำหนดเวลา เพื่อแก้ไขการผูกขาดอำนาจ ดังนั้นแล้วเมื่อถามว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนอยู่ที่ไหนเรื่องนี้ก็ต้องกลับไปยังสภาอีก และประชาชนจะอยากให้มีหรือไม่มีต้องทำอย่างไรบ้าง นอกเสียว่าประชาชนจะผลักดันให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม อาจจะให้มีส.ส.ร.ที่มาจากทุกภาคส่วนมายกร่างฯ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้หลังวันที่ 30 ก.ย. อำนาจอธิปไตยของประชาชนก็อยู่ที่มือบรรดาผู้แทนราษฎรของท่าน ซึ่งไม่รู้ว่าท่านอยากเลือกหรือเต็มใจเลือกเข้ามาหรือไม่

นายเจษฎ์ กล่าวว่า  ถ้าศาลให้วันที่ 24 ส.ค. พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดนายกฯ เรื่องก็ไม่จบ และยิ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องเลือกนายกฯคนใหม่ ตามที่มีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคเคยเสนอชื่อไว้ แต่ถ้าไม่เอานายกฯตามรายชื่อดังกล่าวก็จะต้องไปใช้เสียงของสภากึ่งหนึ่งให้มีการเอานายกฯคนนอกมา เรื่องนี้อำนาจอธิปไตยก็ยังอยู่ที่สภา และสุดท้ายเขาก็กลับมาอีก เพราะถ้าดูตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพล.อ.ประยุทธ์สามารถกลับมาเป็นนายกฯรักษาการได้ และสามารถยุบสภา ตั้งรัฐมนตรีได้ หรือถ้าศาลบอกนับตั้งแต่ปี 62 นั้นแสดงว่าการเป็นนายกฯได้ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งนั้นเอง

“ ไม่ได้มองว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนนั้น ไม่ใช่การไม่เหมาะไม่ควร แต่ให้ระวัง เพราะมันจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามา ในภาวะการชุมนุมมันจะมีกลุ่มคนที่ตีกิน ฉะนั้นพอเราเคลื่อนไหวของประชาชนแล้วมีคนกลุ่มหนึ่ง ถ้าเราชุมนุมจนเขาอ้างว่ามันไม่สงบ เท่ากับว่าจะมีการรัฐประหารแล้วตีกินอีก เราต้องทำให้อำนาจของเราเป็นอำนาจที่ไม่มีใครมาตีกินได้” นายเจษฎ์ ระบุ

ด้านนายพิชาย กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเราโดยปกติแสดงได้ผ่านการเลือกตั้ง แต่ 8 ปีนั้นอำนาจเราอยู่ในกรง ถูกจับและขังเอาไว้ ในปี 57 ถูกขัง และมาปี 60 แม้เอากำแพงออกแต่ใส่ลูกกรง กรงที่ขังนั้นคือรัฐธรรมนูญปี 2560 และมีเครื่องมือเป็นการให้อำนาจ ส.ว.ที่ให้เลือกนายกฯได้ ฉะนั้น ส.ว.จึงไม่ได้มีหน้าที่อะไร แต่ทำหน้าที่ตามเจ้าของกรง

“ ดังนั้นทางเดียวที่เราจะออกจากกรงขังคือเราต้องร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน แต่มันก็ยังมีการขัดขวางอยู่ แล้วยังมีคนที่ประชาชนเลือกเข้าไปยังสภาไปร่วมมือกับเขา มีพรรคการเมืองบางพรรคไปจับมือกับเขาแล้วทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองขัดขวางการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน มีนักการเมืองส่วนหนึ่งร่วมมือกันกักขังอธิปไตยอำนาจของปวงชน” นายพิชาย ระบุ

นายธีระชัย กล่าวว่า  ตนเองอยากคิดว่าถ้าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรให้คำนึงถึงความสงบของประเทศและการเมือง ตนเองไม่อยากคิดเลยว่าใน 8 ปีนั้นมันเป็นการเลี้ยงความขัดแย้ง จึงจำเป็นต้องนับหนึ่งประเทศไทย และ 8 ปีนั้นมีการปิดประตูไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอะไรเลย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รทสช.' ลั่นเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทุกประการ!

'รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนเดิมที่มั่นคงแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ยันการทำประชามติ 3 ครั้งใช้งบมาก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลและรัฐธรรมนูญ

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ชี้ 'บิ๊กทิน' กินยาผิด! ยันทหารไม่อยากยึดอำนาจถ้านักการเมืองไม่โกง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart หัวข้อ

'ก้าวไกล' หนุนแก้กฎหมายสกัดรัฐประหาร ลั่นกองทัพต้องอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม มีข้อเสนอให้สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…)