ย้อนดูคะแนนโหวตร่างรัฐธรรมนูญ รัฐสภาเทใจ 'ฉบับไอลอว์' มากกว่า 'ฉบับระบอบปิยบุตร'

ส่องผลการลงคะแนนโหวตร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปีที่แล้วไอลอว์ถูกตีตกแต่คะแนนเห็นด้วยมีถึง 212 เสียง ส่วนฉบับไอติมบูด-ระบอบปิยบุตรกลับคะแนนร่วงเหลือแค่ 206 เสียง

17 พ.ย.2564 - ในระยะเวลาใกล้เคียงในปี 2563 ที่ประชุมรัฐสภาได้มีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ที่มีประชาชนเข้าชื่อ จำนวน 98,041 คน ซึ่งร่างของไอลอว์นั้นมีเนื้อหาสาระหลักคือ 1. ยกเลิกช่องทางนายกฯ คนนอก - นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. 2.ยกเลิกที่มาและอำนาจ ส.ว. ชุดพิเศษ และให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง 3. ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูป 4. ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้การรับรองประกาศ - คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. รวมถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องให้ชอบด้วยกฎหมาย 5.ยกเลิกที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 6. เซตซีโร่ องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ 7.ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญใช้เพียงเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา และ 8. ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน

โดยผลการลงมติจากจำนวนสมาชิก 732 เสียง ต้องมีเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียง และใน 366 เสียง ต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 หรือ ส.ว. 84 เสียง ซึ่งพบว่าร่างดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุน 212 เสียง เป็นของ ส.ส. 209 คน และ ส.ว.3 และมีผู้ไม่เห็นด้วย 139 เสียง และงดออกเสียง 369 เสียง

ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. .. ที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แกนนำกลุ่มรีโซลูชั่น กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 135,247 คน เป็นผู้เสนอนั้นมีหลักสำคัญ 4 ข้อคือ 1.ยกเลิกวุฒิสภา ใช้ระบบสภาเดียว คือ ส.ส. 2.แก้ไขที่มาการตรวจสอบถ่วงดุลศาล และองค์กรอิสระ 3.ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ -แผนปฏิรูปประเทศ และ 4.ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 2557

โดยผลการลงมติเมื่อวันที่ 17 ก.ย.2564 ที่มี่สมาชิกทั้งหมด 723 คน และต้องได้รับคะแนนเสียงกึ่งหนึ่ง 362 คน โดยจะต้องมีเสียง ส.ว. 84 คนนั้น พบว่ามีมติไม่รับหลักการ 473 เสียง รับหลักการ 206 เสียง และงดออกเสียง 6เสียง โดยคะแนนเห็นชอบฝ่าย ส.ส. 203 เสียง และ ส.ว. 3 เสียง ส่วนคะแนนไม่เห็นชอบ ส.ส. 249 เสียง และ ส.ว. 224 เสียง ส่วนงดออกสียง ส.ส. และ ส.ว. ฝ่ายละ 3 เสียง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' ยก 'เลนิน-กรัมชี่' การปฏิวัติที่ยั่งยืน ต้องสถาปนาระบอบสภาเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพทั้งในและนอกสภา

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล หัวข้อ การเลื

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ