'อัษฎางค์' ชำแหละนักการเมืองรุ่นใหม่ขายฝันล้มล้างขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อความศิวลึงค์

มีนักการเมืองรุ่นใหม่ขายฝันล้มล้างขนบธรรมเนียมประเพณี ชักชวนคนไทยเลิกไหว้ เลิกเรียกลุงป้าน่าอา เพื่อความศิวลึงค์ (อ่านถูกแล้ว ศิวลึงค์)

14 มี.ค.2566- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค หัวข้อ ฝรั่งเรียกพี่เรียกน้อง ลุงป้าน่าอาหรือไม่ ? ตอนที่ 1 การเรียกครูอาจารย์ ! มีรายละเอียดดังนี้

มีนักการเมืองรุ่นใหม่ขายฝันล้มล้างขนบธรรมเนียมประเพณี ชักชวนคนไทยเลิกไหว้ เลิกเรียกลุงป้าน่าอา เพื่อความศิวลึงค์ (อ่านถูกแล้ว ศิวลึงค์)

แล้วสังคมฝรั่งจริงๆ ศิวิไลหรือศิวลึงค์ !

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ฝรั่งมีหลายเชื้อชาติ และแต่ละเชื้อชาติอาจมีบางอย่างที่แตกต่างไปบ้าง แต่โดยองค์รวมคล้ายคลึงกัน ในที่นี่ของเล่าถึงฝรั่งออสซี่ เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ในออสเตรเลียมานาน

ขอเริ่มกันที่โรงเรียนในออสเตรเลีย เด็กนักเรียนตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมจะเรียกครูอาจารย์ว่า Mr. Mr. Miss. มิสเตอร์ มิสซิสหรือมิส ตามเพศ

ซึ่งการเรียก “มิสเตอร์ มิสซิสหรือมิส” คนไทยมักเข้าใจว่า เด็กๆ เรียกครูอาจารย์ของตนว่า “คุณ”

เช่น อาจารย์ชื่อจอห์น แล้วเด็กนักเรียนเรียกเขาว่า Mr.John นั้นไม่ได้แปลว่า “คุณจอห์น” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
ความจริงแล้วนั้นคือการเรียกว่า “อาจารย์จอห์น” หรือ “ครูจอห์น” แล้ว

ยกตัวอย่าง เหมือนคนไทยนิยมเรียกคนด้วยการมีไตเติ้ลนำหน้าเสมอ เช่น การเรียกใครสักคนว่า “ทนายอานนท์” แล้วถ้ามีฝรั่งชื่ออานนท์ทำงานเป็นทนาย ฝรั่งก็ไม่เรียกคนนั้นว่า Lawyer Anond

คำว่า Teacher ก็เหมือนคำว่า Lawyer มันคืออาชีพ ไม่ใช่คำนำหน้าชื่อ

ดังนั้น จึงไม่มีใครเรียกอาจารย์จอห์น ว่า Teacher John

การแปลภาษา แปลตรงๆ ตัวไม่ได้ เช่น Hello ไม่ได้แปลว่า สวัสดี

สวัสดี แปลว่า ความดี, ความงาม, ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความปลอดภัย

และคนไทยเราใช้คำว่า สวัสดี มาเป็นคำทักทาย

ส่วนฝรั่งใช้คำว่า Hello มาเป็นคำทักทาย

ดังนั้น เราจึงเข้าใจว่า Hello แปลว่า สวัสดี หรือเราให้คำว่า Hello แปลว่าความดี, ความงาม, ความเจริญ, ความรุ่งเรือง, ความปลอดภัย อย่างนั้นหรือ ซึ่งมันไม่ใช่

คนจีน(แต้จิ๋ว)เรียกอาจารย์ว่า เหล่าซือ

เราคนไทยก็เอาคำว่า เหล่าซือ มาเทียบเคียงเพื่อให้หมายถึง ครูอาจารย์ ซึ่งนั่นคือวัฒนธรรมจีน

ส่วนวัฒนธรรมตะวันตก ก็ย่อมแตกต่างกันออกไป

ดังนั้นการที่นักเรียนฝรั่งเรียกครูอาจารย์ว่า Mr. Mr. Miss. มิสเตอร์ มิสซิสหรือมิส นั้นคือวัฒนธรรมของการเรียกผู้ที่สอนหนังสือเป็นครูอาจารย์ของเขา

เมื่อเด็กเข้ามหาวิทยาลัย ก็จะมีอายุ 18 ปีพอดี ซึ่งในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกนั้น คนอายุ 18 คือผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เขาถือว่า เป็นผู้ใหญ่แล้ว

ดังนั้นเมื่อเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย นักศึกษาจะไม่เรียกครูอาจารย์ว่า ว่า Mr. Mr. Miss. มิสเตอร์ มิสซิสหรือมิส อีกต่อไป แต่จะเรียกชื่อจริง

รวมทั้งเรียกอาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่า Professor ซึ่งก็คือการเรียกผู้สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยว่า อาจารย์นั้นเอง
ซึ่งเทียบเคียงกับเมืองไทยเรา เวลาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ครูอาจารย์มักเรียกนิสิตนักศึกษาว่า คุณ และแทนตัวเองว่า ผม (กรณีเป็นอาจารย์ชาย) หรือแทนตัวเองว่าครู (ทั้งอาจารย์ชายและหญิง)

ซึ่งนั้นเพราะถือว่า เด็กนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีความเป็นผู้ใหญ่แล้ว

สรุปว่า ในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกหรือฝรั่ง มีการเรียกผู้สอนหนังสือว่า ครูหรืออาจารย์ เช่นเดียวกัน เพียงแต่เป็นไปตามวิถีทางของจารีตประเพณีแบบตะวันตก ซึ่งก็เหมือนในวิถีทางของชาวเอเชียและไทย

ตกลงสังคมฝรั่งก็มีอำนาจนิยมที่กัดกันโอกาส อย่างนั้นหรือ ?

ตกลงใครของจริง ใครบิดเบือน

ยังเล่าไม่จบ ยังมีต่ออีก

โปรดติดตามตอนต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.อานนท์' ชงสูตรการเมืองทำลาย 'ก้าวไกล-ธนาธร' เชื่อยอมเจ็บเถิด จะได้จบ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า

'เอ็ดดี้' ข้องใจ! 'โชกุน' ทำตามออร์เดอร์ 'พญาอินทรีย์'

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุข้อความว่า น่าแปลใจไหมครับ ญี่ปุ่นให้รางวัลนี้กับ อ.ธงชัย ทั้งที่ญี่ปุ่นนี้ โค-ตะ-ร

ต่างชาติยังรู้ แก๊งบีบแตรไล่ขบวนเสด็จฯ โดนชาติตะวันตกล้างสมอง!

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ชาวต่างชาติทราบข่าวตะวันบีบแตรไล่ขบวนเสด็จ โดยระบุรายละเอียดว่า เมื่อสั

'อัษฎางค์' เปิดกะลาด้อมส้ม เป็นอาณานิคมอย่างฟิลิปปินส์ ดีกว่าเป็นเอกราชอย่างไทย จริงมั้ย!

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้น-พูดอังกฤษ ต้องก้าวไกล" ผมอยู่ที่ซิดนีย์ ก็มีเพื่อนฟิลิปปินส์หลายคนเหมือนกัน เพื่อนสนิทของลูกก็เป็นฟิลิปปินส์ จริงๆ