รู้ไว้ซะ! 'เสียงข้างน้อย' สำคัญไม่แพ้เสียงข้างมาก ยกโลกตะวันตกเทียบ

21 ก.ค. 2566 – พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เสียงส่วนมาก ไม่ได้สำคัญกว่าเสียงส่วนน้อย

จากกรณีที่ ส.ส. สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย บางคนได้ออกมาแทรกแซงการจัดตั้งรัฐบาลของประเทศไทย ว่าควรจะสนับสนุนเสียงส่วนมาก ให้เป็นรัฐบาลนั้น

เรื่องนี้ก็อยากจะทบทวนความจำให้ ส.ส. ต่างชาติ ทั้ง 2 คนนี้สักหน่อยครับ เพราะพวกเขาไม่น่าที่จะไม่รู้เรื่องเหล่านี้ได้

1.ทุกประเทศในโลกใบนี้ ย่อมมีวิธีบริหารประเทศให้เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ยิ่งต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น พลาดไปแล้วจะแก้ไขได้ลำบากมาก

2.มาลองดูเรื่องเสียงส่วนมากของประเทศในซีกโลกตะวันตก ว่าแตกต่างหรือเหมือนกับประเทศไทย อย่างไรบ้าง

(1) มาดูสหรัฐตัวดีก่อน ตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

แม้จะได้รับเลือกเข้ามาด้วยเสียงข้างมากจากประชาชน (Poppular Vote) แต่ถ้าไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากตัวแทนมลรัฐต่างๆ (Electoral Vote)แล้ว ก็ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้ เช่นเดียวกับระบบประเทศไทย ที่ประชาชนเลือก ส.ส. แต่รัฐสภาเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะคล้ายคลึงกับสหรัฐ

(2) เสียงส่วนใหญ่ ถ้าได้ขึ้นบริหารประเทศแล้ว อาจไม่เหมาะสมกับความมั่นคงของประเทศ เสียงส่วนน้อยก็จะเข้ามาเป็นนายกฯ แทน เช่น จัสติน ทรูโด (นายกฯ แคนาดา) ขวัญใจคุณพิธา นายกฯ ฝรั่งเศส สเปน สวีเดน ฯลฯ

(3) เอาตัวอย่างชัดๆ เรื่องเสียงส่วนน้อยเข้ามาเป็นนายกฯ คือ สวีเดน ที่มีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่มี NGOsมากที่สุดในโลกอีกเช่นกัน เพียงแต่ NGOsของเขา แม้จะได้รับเงินต่างชาติบ้าง แต่ก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องภายในประเทศเลย

สวีเดน เป็นประเทศที่มีรัฐบาลเสียงข้างน้อยถึง 7 รัฐบาลติดต่อกันมา ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

รัฐบาลชุดปัจจุบันของสวีเดน มีพรรคร่วม 3 พรรค คือ พรรค Moderate (70), พรรค Christian Democrat (22), พรรค Liberal (20) … 3 พรรค มีที่นั่งรวมกันเพียง 112 ที่นั่ง … มีพรรคพันธมิตร แต่ไม่เข้าร่วมรัฐบาล คือ พรรค Sweden Democrats (62) และ ส.ส. อิสระ (2) คอยค้ำประกันความมั่นคงให้พรรคร่วมรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาล มีเสียงสนับสนุนในรัฐสภาทั้งสิ้น 176 เสียง ในขณะที่ ฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดยพรรคที่มีที่นั่งมากที่สุดในสภา คือ พรรค Swedish Social Democratic (100) มีคะแนนเสียงรวมกับพรรคอื่นๆ รวม 173 เสียง จากที่นั่งทั้งหมด 349 ที่นั่ง (เลือกตั้ง 310 และแต่งตั้ง 39 ที่นั่ง)

ตอนนี้ ถ้าจะอ้างเรื่องเสียงส่วนมาก ก็จะต้องเข้าใจด้วยว่า เสียงส่วนน้อยก็มีความสำคัญ ไม่แพ้กันครับ ดังนั้นเสียงส่วนมากก็จะต้องทำตัวให้ เสียงส่วนน้อยยอมรับด้วยนะครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' สะกิด พท. ชง 'พรบ.นิรโทษกรรม' ในนามพรรคร่วมรัฐบาล

'นิกร' แนะชงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในนามพรรคร่วม โชว์รัฐบาลสมานฉันท์ ชี้สังคมแหยงคำว่า 'นิรโทษ' เรียกอย่างอื่นแทน พร้อมตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาจัดทำ กม.

ปชป. วิกฤต! ถดถอยสู่พรรคระดับจังหวัด เจอทุนนิยมครอบ

ปชป. อุดมการณ์สั่นคลอน! จากระดับชาติสู่พรรคระดับจังหวัด เลือกตั้งครั้งหน้าได้ไม่เกิน 15 เสียง แฟนคลับป่วนหนักหลัง 'อภิสิทธิ์' ลาออก จับตา! ซบ ครม.เพื่อไทย

'ดร.อานนท์' โวย 'ดีอีเอส' ยังปล่อยคลิป 'วัคซีนพระราชทาน' ว่อนโซเชียล

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์

'ส.ศิวรักษ์' หนุน 'นักการเมืองดี' แม้มีน้อยยังคงแพ้ไฟ สร้างรัฐสภาที่มีศักดิ์ศรี

“ชวน” ปาฐกถา ย้ำ 'คนดี-รัฐธรรมนูญดี' ต้องควบคู่กัน ด้าน ส.ศิวรักษ์ ขอให้นักการเมืองดี แม้มีน้อยยังคงแพ้ไฟ สร้างรัฐสภาที่มีศักดิ์ศรี เป็นรัฐบาลของปชช.อย่างแท้จริง

ประธานสภาฯ ชี้ปมรัฐธรรมนูญเพียงแค่กระดาษ จากรัฐประหารจนเคยชิน ผู้กระทำไม่มีความผิดใดๆ

ประธานสภาฯ  กล่าวเปิดงานวันรัฐธรรมนูญ ‘ร่วมก้าวย่างบนเส้นทางประชาธิปไตย สู่เส้นชัยแห่งรัฐธรรมนูญ’ ประกาศกู้ศักดิ์ศรีความศรัทธารัฐสภากลับคืน-พิทักษ์อำนาจประชาชน

'พิธา' เมิน ปชป. ได้หัวหน้าพรรคคนใหม่ ไม่สนพลิกขั้วหรือไม่

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ มีมติแต่งตั้งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ โดยระบุว่า ตนพึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศเกาหลีใต้ ยังไม่ได้ติดตามว่าเรื่องเป็นอย่างไรบ้าง ก็คงเป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์