องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่อนแถลงการณ์ค้านลดโทษคนโกงชาติ วอนนายกฯทบทวน

11 ธ.ค.2564 - ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่ แถลงการณ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เรื่อง คัดค้านการลดหย่อนผ่อนโทษให้กับผู้ต้องขังคดีคอร์รัปชัน

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ แก่ผู้ต้องขัง ส่งผลให้ผู้ต้องขังในคดีคอร์รัปชันหลายรายที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับเศรษฐกิจของประเทศตลอดจนความอัปยศอดสูของชาวนา กลายเป็นประเด็นแห่งความชอกช้ำของสังคมอย่างที่ประวัติศาสตร์ไม่อาจจะลืมได้ แต่ขณะนี้กลับได้รับการลดหย่อนโทษอย่างรวดเร็วด้วย

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ในฐานะตัวแทนของสังคมในการสร้างพลังของคนไทยในการล้มล้าง ต่อต้านการคดโกงแผ่นดินมีข้อสังเกตว่า ในการพระราชทานอภัยโทษฯ เมื่อปี พ.ศ. 2559 ได้ยึดหลักว่า จะไม่พิจารณาลดหย่อนผ่อนโทษให้กับคดีคอร์รัปชัน คดีข่มขืนและคดียาเสพติด ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ได้ทำกันมาอยู่แล้ว ตามที่พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรีและอดีต รมว.ยุติธรรม ได้เคยกล่าวไว้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ไม่ทราบว่าด้วยเหตุใดและโดยใคร ทำให้หลักเกณฑ์ที่เคยเป็นหลักความเชื่อมั่นของระบบยุติธรรมเปลี่ยนแปลงไปจนเอื้อประโยชน์ในการลดหย่อนผ่อนโทษให้กับนักโทษโดยเฉพาะคดีคอร์รัปชันอย่างไม่น่าได้ลดหย่อนรวดเร็วขนาดนั้น

การที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำเสมอว่า คอร์รัปชันเป็นเรื่องร้ายแรงของสังคมไทย ต้องปราบปรามอย่างจริงจัง คนผิดต้องถูกจับติดคุกโดยเร็วด้วยโทษทัณฑ์ที่เด็ดขาดรุนแรง รวมทั้งประกาศให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ การลดหย่อนผ่อนโทษขึ้นครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องสวนทางกับความรู้สึกของประชาชน บ่อนทำลายความพยายามของ ป.ป.ช. อัยการ และศาล ในการเอาคนผิดมาลงโทษ ซึ่งเท่ากับส่งเสริมให้คนโกงไม่เกรงกลัว และกลับทำให้คนที่เป็นพยานและคนชี้เบาะแสกลโกงต้องหวาดกลัวว่าคนโกงที่ติดคุกไม่กี่วันแล้ว เมื่อถูกปล่อยตัวออกมาจากคุก อาจกลับมาคุกคามสวัสดิภาพของพวกเขาเหล่านั้นได้

ดังนั้นเพื่อให้คนโกงชาติ ทำร้ายสังคมเกิดความยำเกรงกับบทลงโทษที่รุนแรงให้สาสม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณานำหลักเกณฑ์การอภัยโทษ พ.ศ. 2559 กลับมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด และกำหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนในกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้อภัยโทษ การลดหย่อนผ่อนโทษ และการพักโทษนั้นจะสามารถกระทำได้ภายใต้เงื่อนไขใด นอกจากนั้นให้มีการกำหนดเพิ่มเติมถึงข้อห้ามที่เข้มงวดอย่างยิ่งสำหรับคดีคอร์รัปชันร้ายแรงและมีโทษรุนแรงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

ก. กระทำโดยนักการเมือง ข้าราชการระดับสูงหรือข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม
ข. ความผิดตามที่รัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้
ค. คดีที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
ง. การเสนอชื่อรับสิทธิ์ของผู้ต้องขังคดีร้ายแรงต้องมีกระบวนการทบทวนอย่างเหมาะสม
จ. เงื่อนไขอื่น เช่น ต้องไม่ได้รับสิทธิ์ต่อเนื่องกัน หรือ ผู้ต้องขังต้องถูกจำคุกแล้วอย่างน้อยกี่ปี เป็นต้น

ในการนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันขอย้ำเสนอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ทบทวนในกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนยังมีความเชื่อถือ เชื่อมั่นและไว้วางใจว่าคณะรัฐบาลชุดนี้ยังคงให้ความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงใจและจริงจังสมเจตนารมณ์ อย่าให้คนไทยและสังคมรู้สึกว่าได้รับการคดโกงความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบยุติธรรมอีกครั้งหนึ่ง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอย้ำว่า เราและคนไทยจะไม่ยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและจะทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
11 ธันวาคม 2564

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันต่อต้านคอร์รัปชัน (อยากให้มีวันนี้ทุกๆวันในประเทศไทย)

เมื่อวันที่  6 กันยายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน จัดโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทย (Anti -Corruption Organization of Thailand หรือ “ACT”) และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

เปิด10ปี68นักการเมืองโกง

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" รวบรวมข้อมูล นักการเมืองโกงในรอบ 10 ปี พบ 61 คดี นักการเมืองกระทำผิด 68 คน

เปิดข้อมูล 10 ปี คดีโกง 'จำนำข้าว' นำโด่งสร้างความเสียหายสูงสุด 1.3 แสนล้านบาท

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) รวบรวมข้อมูลคดีคอร์รัปชันของนักการเมืองในรอบ 10 ปี พบ 61 คดี และมีนักการเมืองกระทำผิด 68 คนซึ่งมีลักษณะการกระทำความผิด 10 แบบทั้งจากพรรคใหญ่

ยื่นอุทธรณ์เพื่อกลั่นแกล้ง ปัญหาใหม่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ภาครัฐต้องสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้อำนาจตรงไปตรงมา มีกลไกเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้ทุกคนเข้าถึงและตรวจสอบย้อนหลังได้โดยง่าย

องค์กรต้านคอร์รัปชั่นเผย ความตื่นตัวภาคประชาชน ระบบราชการเกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่พอต่อกรกับเหล่าคนโกง

มีแนวโน้มว่า คอร์รัปชันของนักการเมือง คอร์รัปชันเชิงนโยบาย และคอร์รัปชันในเมกะโปรเจค ยังสูงมากเช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่คอร์รัปชันในระบบราชการยังวิกฤต อาจลดลงบ้างอันเป็นผลมาจากข้าราชการรุ่น