อีกแล้ว! ปปช.ชี้มูล 'เจริญ จรรย์โกมล' อดีตรองประธานสภาจากพรรคเพื่อไทยทุจริต

ป.ป.ช. ชี้มูล 'เจริญ จรรย์โกมล-สุวิจักขณ์' พร้อมพวก ทุจริตโครงการเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ส่งอัยการสูงสุดดำเนินคดีกราวรูด

06 ก.ย.2566 - นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดนายเจริญ จรรย์โกมล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งกับพวก ทุจริตโครงการเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ในทางการเมืองการปกครอง โดยข้อเท็จจริงจากการไต่สวนปรากฏว่า นายเจริญ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของกลุ่มงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงในการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือพรรคการเมือง โดยนายเจริญได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการค่าใช้จ่าย ในการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง กำหนดขอบเขตแนวทางการดำเนินงานจัดกิจกรรมในโครงการตามที่ตนเองสั่งการ

และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตร่วมกันกับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง จัดทำและนำเสนอขออนุมัติจัดโครงการสัมมนาในพื้นที่ซึ่งเป็นฐานเสียงทางการเมืองของตน และพรรคการเมืองของตน และร่วมกันทุจริตจัดทำเอกสารโครงการอันเป็นเท็จเพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้เดินทางไปจัดโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำของนายเจริญ พร้อมพวก จึงเป็นการร่วมกันทุจริตจัดโครงการไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้รับอนุมัติ เป็นเหตุให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้รับความเสียหาย คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของนายเจริญ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147มาตรา 151มาตรา 157มาตรา 161มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 91 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 ซึ่งปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

การกระทำของนางสาววรุณี ผิวนวล มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147มาตรา 151 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

การกระทำของนายสุวิจักขณ์ หรือนายวัชระชัยย์ นาควัชระชัย หรือ นาควัชระชัยท์ นายเอรวัตร อุ่นกงลาด นายเดชชาติ จันทรัตน์ นางสาวลักขะณา นามเที่ยง และนายอมรเทพ เพิกอินทร์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147มาตรา 151 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 91 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง

การกระทำของนายจีรพงศ์ วัฒนะรัตน์ไม่มีมูลความผิดทางอาญา ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง, การกระทำของบริษัท เค.เอ็น.ไอ. (ไทยแลนด์) จำกัด และนางกณกพร เฟื่องศิริวัฒนกุล หรือโพธิ์เกตุ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 มาตรา 151 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 ซึ่งปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91

โดยให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัย ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจ ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการทางวินัยตามฐานความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 แล้วแต่กรณีต่อไป ขณะที่กรณีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินในการดำเนินโครงการตามที่มีการกล่าวหา ซึ่งได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง ให้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอน ดำเนินการทางวินัยไปตามหน้าที่และอำนาจ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา 64 ทั้งนี้ ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปท.นัด 30 เม.ย.บุกยื่นหนังสือ กกต. ‘พิชิต’ ขาดคุณสมบัติ เร่งส่งศาลรธน.พิจารณา

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. คปท.จะไปยื่นหนังสือการขาดคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ กกต.ยื่นต่อยังศาลรัฐธรรมนูญ  ต่อไป

ยุ่งแน่! ‘เรืองไกร’ ร้อง ป.ป.ช. สอบ ครม.เห็นชอบดิจิทัลวอลเล็ต ฝ่าฝืนกม.หรือไม่

จากการติดตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่คณะรัฐมนตรีพึ่งมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 นั้น

'ป.ป.ช.'ฟันจริยธรรมร้ายแรง'ศุภชัย โพธิ์สุ-สุชาติ ภิญโญ'

'ป.ป.ช.' ฟันจริยธรรมร้ายแรง 2 อดีต สส. 'ศุภชัย โพธิ์สุ' สมัยนั่ง รมช.เกษตรฯ ถือครองที่ดิน น.ส.2 โดยไม่มีคุณสมบัติ 'สุชาติ ภิญโญ' โดนด้วย มี ภ.บ.ท. 5 วังน้ำเขียว