
8 ก.ย. 2566 – นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ *คดีอาญานับอายุความย้อนหลังได้หรือไม่” โดยระบุว่า
มีข่าวใหญ่เรื่อง พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอออกหมายจับอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งคดีจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566
ปัญหามีว่า คดีนี้เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 และคดีนี้มีอายุความ 15 ปี ซึ่งจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566
ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ศาลออกหมายจับใหม่ อ้างว่า ผู้ต้องหาหลบหนี เพราะตามกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ ปี 2561 มาตรา 7 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 13 หากหลบหนีระหว่างคดีจะไม่นับอายุความ (ไม่ขาดอายุความ)
แล้วคดีนี้ จะนับอายุความอย่างไร? เห็นว่า
1.คดีนี้ เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 ขณะนั้นยังไม่มีเรื่องการไม่นับอายุความเพราะหลบหนี จึงต้องนับอายุความทั่วไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 เมื่อไม่ได้ตัวมาฟ้องภายในอายุความ (คือ 15 ปี) จึงขาดอายุความ
2.แม้อายุความไม่ใช่โทษทางอาญา แต่การนำอายุความย้อนหลังมาใช้กับคดีที่เกิดก่อนกฎหมายบังคับใช้ ศาลไทยก็เคยวินิจฉัยไว้ว่า จะนำอายุความมาใช้ย้อนหลังไม่ได้
3.ศาลฎีกา เคยวินิจฉัยไว้ ไม่ให้นำอายุความมาใช้ย้อนหลัง และยืนแนวนี้มาตลอด คือ ฎีกาที่ 17905/2557, ฎีกาที่ 9955/2558, ฎีกาที่ 10166/2558, ฎีกาที่ 10616/2558, ฎีกา (ประชุมใหญ่ ที่ 14/2560, คดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อม.ที่1/2551 และ อม.4/2551
กล่าวโดยสรุป เห็นว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีจนเลยวันที่ 10 กันยายน 2566 แม้ศาลอาญาทุจริต (ศาลชั้นต้น) จะออกหมายจับใหม่ การจับตามหมายจะชอบหรือไม่ชอบ ก็คงต้องสู้เรื่องนี้กันก่อนจนถึงศาลฎีกา และหากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจับได้ เนื่องจากอายุความยังไม่ขาด ก็ต้องกลับคำวินิจฉัยเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยไว้ทั้งหมด ขอยกคำวินิจฉัยเดิมที่เคยวินิจฉัยไว้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 14/2560 ความว่า” บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันยื่นฟ้อง ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 25 ไม่นำมาใช้บังคับแก่คดีที่ยื่นคำร้องไว้ แต่ยังไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามายังศาลจนครบอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95″
4.การสู้กันตามหลักกฎหมาย สู้ไปเถอะครับ ไม่ผิดอะไร หนีเพียง 3 วัน ให้ขาดอายุความ ง่ายกว่าหนี 17 ปี แล้วกลับมานอนโรงพยาบาล
ผมเขียนเรื่องนี้ มิใช่เพราะผู้หลบหนี เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นหลังผม แต่เห็นว่า เรื่องนี้มีอะไรแปลกๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่แปลกอย่างไร อย่าเขียนดีกว่า
อย่าลืมนะครับ เราอยู่ในประเทศไทย ที่ไม่มีอะไรแน่นอน
กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่มีความแน่นอน ดีกว่ากฎหมายที่เป็นธรรมแต่มีความไม่แน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กโจ๊ก' เตรียมบินเยอรมัน สอบผู้ต้องหาซื้อบริการเด็กพัทยา ยัดเงินตำรวจ 1 ล้านแลกปล่อยตัว
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้ประชุมหารือร่วมกับเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ทราบว่านายเจน ผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ได้หลบหนีไปที่ประเทศเยอรมันตั้งแต่เดือน ก.พ. และมีการคุมตัวดำเนินคดีตามกฎหมายของเยอรมัน
ผบ.ตร. เซ็นตั้ง 'อัคราเดช' หน.ชุดสอบคดีรีด 140 ล้าน แทน 'บิ๊กโจ๊ก'
'วัชรินทร์' รองอธิบดีอัยการ หัวหน้าชุดกำกับสอบสวน คดี 140 ล้าน แจง 'ผบ.ตร.' เซ็นตั้ง ‘อัคราเดช พิมลศรี’ หน.ชุดพนักงานสอบสวนคนใหม่ เเทน 'บิ๊กโจ๊ก' ขอศึกษาคดี 2 สัปดาห์ ก่อนนัดถกอัยการ
บี้ 'รมว.ศธ.' ชง ครม. จัดค่าอาหารกลางวันเด็กมัธยม ป้องซ้ำเคส 'ครูชัยยศ'
'มูลนิธิเด็กและสตรี' กระทุ้ง 'รมว.ศธ.' ชง ครม. แก้ปัญหาอาหารกลางวันเด็กมัธยม ป้องซ้ำรอยเคส 'ครูชัยยศ'
ป.ป.ช. แจงปมดราม่า 'ครูชัยยศ' โรงเรียนบ้านยางเปา ถูกปลด
จากกรณีมีการนำเสนอข่าว นายชัยยศ สุขต้อ ครูโรงเรียนบ้านยางเปา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางอาญาและวินัย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
รวบ 2 ขรก.กรมวิทย์ ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง 44 ครั้ง
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ภายใต้การอำนวยการของนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ
ป.ป.ช.บุกรวบถูกกล่าวหาตามหมายจับคาสุวรรณภูมิ ก่อนหนีออกนอกประเทศ
สำนักงาน ป.ป.ช. ภายใต้การอำนวยการของนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะ