'วิรังรอง' ยกเหตุจุฬาฯเคยถอนดุษฎีบัณฑิต 'ผอ.สนช.' สงสัยขอพื้นที่อุเทนฯสร้างศูนย์นวัตกรรม


นิสิตเก่าจุฬาฯ ยกเหตุจุฬาฯเคยถอนดุษฎีบัณฑิต 'ผอ.สนช.' สะท้อนความพร้อมสอนระดับปริญญาเอกและการขอพื้นที่อุเทนถวายคืน สงสัยศักยภาพจุฬาฯ ว่าพร้อมหรือไม่ในการสร้างศูนย์นวัตกรรมฯ

13 มี.ค.2567 - นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า

วันนี้สังคมเห็นว่าควรถอนปริญญาเอกของนายนัฐพล ใจจริง โดยเร็วที่สุด แต่ผู้บริหารจุฬาฯ คงไม่เห็นจึงยังเงียบอยู่ ส่วนในอดีต จุฬาฯ เคยเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของนายศุภชัย หล่อโลหการ ซึ่งเป็นการเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตครั้งแรกในประวัติศาสตร์จุฬาฯ มาแล้ว

ประเด็นที่นอกเหนือจากเรื่องการถอนปริญญาคือ นายศุภชัย เคยดำรงตำแหน่ง "เป็นถึงผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)"

คำถามเกิดขึ้นในใจคือ จุฬาฯ มีความพร้อมทางด้านบุคลากรและด้านวิชาการอย่างไรในการสอนระดับปริญญาเอก

และการที่จุฬาฯ ประกาศว่าต้องการขอพื้นที่อุเทนถวายคืน เพื่อนำไปสร้าง 'ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืน' ทำให้ดิฉันเริ่มสงสัยศักยภาพของจุฬาฯ ว่าพร้อมหรือไม่ในการสร้างศูนย์นวัตกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นว่าจุฬาฯ มีบุคลากรที่มีคุณภาพพร้อมหรือไม่ อย่าอ้างว่านี้ไม่เกี่ยวกันกับเรื่องวิทยานิพนธ์ แล้วพากันมาแสดงความเห็นแบบทัวร์ลงดิฉัน เพราะทุกอย่างเกี่ยวสัมพันธ์กันหมด การไล่ที่สถาบันวิชาการหนึ่งออกไปเพื่อสร้าง'ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืน' ขึ้นมาแทน ทั้งที่จุฬาฯ ไม่มีศักยภาพพอนั้น เป็นเรื่องเกินกำลังของจุฬาฯ

จุฬาฯ ควรพิจารณาทำโครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับอุเทนถวายน่าจะดีกว่า จะได้สร้างสรรค์สังคมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนร่วมกัน การลงทุนก่อสร้างโปรเจกต์ใหญ่บนพื้นที่ถึง ๒๐ ไร่ไม่ใช่น้อย จุฬาฯ ก็มีอาคารอยู่แล้วมากมาย นิสิตก็นับวันจะน้อยลง ประโยชน์ที่นิสิตส่วนใหญ่และประชาชนจะได้รับ จะคุ้มค่ากับการลงทุนไหม หวังว่าจะไม่กลายเป็นศูนย์นวัตกรรมให้นักวิชาการ/อาจารย์ จุฬาฯ ที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีจริยธรรม ทำงานเพื่อรับงานโครงการวิจัย

จุฬาฯ มีปัญหากับชุมชนที่อยู่รอบๆ จุฬาฯ มาโดยตลอดนับได้หลายศตวรรษ ดิฉันจึงเห็นด้วยที่จุฬาฯ มีแนวคิดจะสร้างสรรค์งานเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน แต่นิยาม"ชุมชนยั่งยืน"ของจุฬาฯ อาจเป็นการคิดเข้าใจของจุฬาฯ แต่เพียงฝ่ายเดียว และอาจแตกต่างจากนิยามความเห็นของชุมชนรอบ ๆ พื้นที่จุฬาฯ นี้เป็นเรื่องที่จุฬาฯ ควรทบทวนให้มาก หากอ้างถึงประเด็นว่า "เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนยั่งยืน"
จุฬาฯ ควรแก้ปัญหาภายในรั้วจุฬาฯ คือในบ้านตัวเองก่อน ทั้งปัญหาผู้บริหาร นิสิต/คณาจารย์บางส่วน คุณภาพการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม ยังแก้ปัญหาอื้อฉาวไม่ได้ แต่คิดที่จะขยาย ๆ ๆ ๆ ตึก ขยายอาคารสถานที่ วัตถุทั้งนั้น....

วิรังรอง ทัพพะรังสี
๑๑ มีนาคม ๒๕๖๗

เชิญอ่านข่าวในอดีตที่จุฬาฯ ถอนปริญญาเอกนายศุภชัย หล่อโลหการค่ะ
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ สภามหาวิทยาลัยจุฬาฯมีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต "ศุภชัย" "ผอ.สำนักนวัตกรรมฯ" หลังคัดลอกวิทยานิพนธ์

สภามหาวิทยาลัยจุฬาฯมีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต "ศุภชัย" ผอ.สำนักนวัตกรรมฯ หลังคัดลอกวิทยานิพนธ์

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ประชุม สภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ ของนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจบการศึกษาไปเมื่อปี 2550 เนื่องจากวิทยานิพนธ์ของนายศุภชัยมีการคัดลอก หรือลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarize) ตามที่มีการร้องเรียน

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ แถลงว่า ภายหลังจากได้รับการร้องเรียนทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยการสืบหาข้อเท็จจริง และพบว่าวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ได้คัดลอกผลงานตามเอกสาร งานวิจัยหรือบทความอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดมมิชอบ มหาวิทยาลัยจึงให้ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวได้เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการบริหารคณะที่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ การสำเร็จการศึกษา

จากการพิจารณารายงานการสอบสวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานพบว่า วิทยานิพนธ์มิได้เป็นไปตามระเบียบจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2542 รวมทั้งเป็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางวิชาการ อันทำให้ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ขาดคุณสมบัติข้อที่เป็นผู้มีความประพฤติดีตามระเบียบดังกล่าว สภาจุฬาฯจึงมีมติเพิกถอนปริญญาตามอข้อเสนอและมติของ คณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย และ คณะกรรมการบริหารคณะ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.แต่ไม่มีผลย้อนหลัง

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในฐานะอุปนายกสภาจุฬาฯ กล่าวว่า ระเบียบการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตนั้นจะต้องเป็นความรู้ใหม่ที่ตัวเองต้องสร้างขึ้นซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
"จุฬาฯ ไม่กังวลกรณีที่อาจถูกฟ้องร้องจากผู้ถูกเพิกถอนปริญญาเนื่องจากถือเป็นสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ ในส่วนของสภามหาวิทยาลัยทำตามหน้าที่และได้พิจารณาโดยถี่ถ้วน รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้ป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่แล้ว"นายบวรศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้การที่สภาได้พิจารณาให้มติดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการเพิกถอนสิทธิ์ต่างๆ ในอดีต ส่วนกรณีจะส่งผลถึงสถานะในปัจจุบันของผู้ถูกเพิกถอนปริญญาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานที่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ถูกเพิกถอนว่าต้องมีตลอดไปหรือไม่

ก่อนหน้านี้ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ได้หยิบยกประเด็นการเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของนายศุภชัยมาพูดคุย โดยเป็นการติดตามความคืบหน้าจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยในครั้งก่อนหน้า ซึ่งภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งเรื่องกลับไปยังคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อขอความเห็นจากคณะวิทยาศาสตร์อีกครั้ง ทำให้ทางคณะวิทยาศาสตร์ต้องรวบรวมหลักฐาน และเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนที่จะเสนอผลการพิจารณาให้กับที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.

อนึ่งคณะกรรมการสอบสวนที่ดำเนินการโดยบัณฑิตวิทยาลัย ที่มี ศ.นพ ยง ภู่วรวรรณ เป็นประธานคณะได้รายงานผลสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2553 จโดยสรุปผลว่า วิทยานิพนธ์ของนายศุภชัยมีการคัดลอก หรือลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบจริง แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีการพิจารณาเป็นที่สิ้นสุด จนกระทั่งในเดือนเม.ย. 2555 จึงถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง
ที่มา: https://www.posttoday.com/politics/161160

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ '1ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์' ผ่าน THACCA

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

'อดีตบิ๊กศรภ.' จับผิดอีกจุด 'ขุนศึก ศักดินา กับ ความล้มเหลวของการปฏิวัติ 2475'

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ขุนศึก ศักดินา กับ “ความล้มเหลวของการปฏิวัติ 2475” มีเนื้่อหาดังนี้

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า

'วิรังรอง' อัปเดตข้อมูล ไล่บี้อธิการบดีจุฬาฯ เปิดผลสอบวิทยานิพนธ์ฉาว

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า อัปเดตการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

'ดร.อานนท์' จี้จุฬาฯชดใช้ค่าเสียหายให้ 'สวนสุนันทา' ที่เข้าใจผิดว่า 'ณัฐพล' จบป.เอก

'ดร.อานนท์'จี้จุฬาฯชดใช้ค่าเสียหายให้ม.ราชภัฎสวนสุนันทา ที่หลงเข้าใจผิดว่าคนที่รับเข้ามาเป็นอาจารย์จบปริญญาเอก เสียเงินนิดหน่อยแต่ยังรักษาเกียรติภูมิศักดิ์และสิทธิ์เอาไว้ได้บ้าง