ชำแหละ เอ็มโอยู44 - แผนที่แนบท้าย กำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ลุกล้ำอธิปไตยไทย

'เทพมนตรี'ชำแหละ เอ็มโอยู 44 และแผนที่แนบท้าย ชี้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดต่อข้อบทของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลฯ ลุกล้ำอธิปไตยของไทย จนผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต

13 มี.ค.2567 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เขตแดนทางบกและทางทะเล ตอนที่ 4 พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน มีเนื้อหาดังนี้

ก่อนอื่นเราควรเข้าใจเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลโดยภาพรวมเสียก่อนเพื่อเป็นรากฐานให้กับผู้อ่านมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ไปศึกษาค้นคว้าหรือทำความเข้าใจกับข้อเขียนของนักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปที่กล่าวถึงเอ็มโอยู 44 หรือบันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในหลายทวีปทับซ้อนกันฉบับปีพ.ศ. 2544

ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อพ.ศ. 2515 ไม่มีหลักการ กฎเกณฑ์หรือกฎหมายทะเลรองรับแต่ประการใด รัฐบาลกัมพูชาในเวลานั้นจึงใช้จุดอ้างอิงที่หลักเขต 73 บนแหลมสารพัดพิษ เล็งไปยังจุดสูงสุดของเกาะกูดและลากเส้นลงไปในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยโดยพละการ การที่รัฐบาลกัมพูชาทำเช่นนั้นจึงส่งผลให้เราสูญเสียพื้นที่ทางทะเลด้วยการใช้วิธีการประกาศอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว

เพื่อความเข้าใจของผู้อ่านรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้ส่งผู้แทนของฝ่ายไทยไปลงนามและอนุสัญญากรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่าด้วยกฎหมายทะเลรวมสี่ฉบับเมื่อวันที่ 29 เมษายนพ.ศ. 2501 กฎหมายทะเลสี่ฉบับประกอบไปด้วย
ข้อหนึ่ง อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
ข้อสอง อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
ข้อสาม อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง
และข้อสี่ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป

การไปลงนามในครั้งนั้นได้รับความเห็นชอบของสภาร่าง รัฐธรรมนูญในคณะรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาพฤษภาคมพ.ศ. 2511 รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ลงสัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวและได้มอบสัตยาบันสานต่อเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมพ.ศ. 2511 ตามข้อความในข้อบทวรรคสองของข้อ 29 34 18 และ 11 ของอนุสัญญาสี่ฉบับ และมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ. 2511 เป็นต้นมา และมีประกาศในวันที่ 29 เมษายนพ.ศ. 2512 ซึ่งตรงกับรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 พฤษภาคม 2512

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศได้สรุปสาระสำคัญ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเลไว้ดังนี้

สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
การกำหนดเขตทางทะเลต่าง ๆ สถานะทางกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของรัฐชายฝั่งและรัฐอื่น ๆ ในแต่ละเขตทางทะเล ได้แก่
น่านน้ำภายใน (internal waters) หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางผืนแผ่นดินของรัฐชายฝั่ง ซึ่งรัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยใน (หรือเหนือ) น่านน้ำภายในทะเลอาณาเขต (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

เขตต่อเนื่อง (contiguous zone) โดยได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต โดยในเขตต่อเนื่อง รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันหรือลงโทษการละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสาธารณสุข

เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต
ในเขต EEZ รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่จำกัดกว่าอำนาจอธิปไตย แต่ครอบคลุมเรื่องการสำรวจ การแสวงประโยชน์ การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหนือพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของพื้นดินท้องทะเล และในห้วงน้ำเหนือขึ้นไป รวมถึงการสร้างเกาะเทียม สิ่งก่อสร้าง และสิ่งติดตั้งในทะเล เป็นต้น

ไหล่ทวีป (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต และในบางกรณี ไหล่ทวีปสามารถขยายได้จนถึง 350 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน

ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป

ทะเลหลวง (high seas) หมายถึง ทะเลที่ไม่ใช่น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐใด ทั้งนี้ ในทะเลหลวง รัฐทั้งปวงมีเสรีภาพในการเดินเรือ การบินผ่าน การวางสายเคเบิล และท่อใต้ทะเล รวมทั้งเสรีภาพในการทำประมง เสรีภาพในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามกฏหมายทะเลโดยนำมาวิเคราะห์กับข้อบทในเอ็มโอยู 44 และแผนที่แนบท้าย ผลปรากฏว่าการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาไม่สอดคล้องต้องกันกับการกำหนด เขตไหล่ทวีป รวมถึงการลากเส้นประอ้อมเกาะกูดหรือผ่ากลางเกาะกูด ส่งผลกระทบ ต่อการประกาศ กำหนดเขตไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2516
การกระทำของรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ขัดต่อข้อบทของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลซึ่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออาณาเขตและเขตต่อเนื่องทางทะเล รุกล้ำเข้ามายังอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยทั้งห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต ตลอดจนพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของทะเลอาณาเขต

เป็นการลิดรอนสิทธิและอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยจนได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตในอนาคต

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คำนูณ' จ่อซักฟอกปมเจรจาพื้นที่ทับซ้อน ดักคอ 'อุ๊งอิ๊ง' บินกัมพูชา

'คำนูณ' เตรียมซักฟอกรัฐบาล ปมเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ขุมทรัพย์ใต้อ่าวไทย 20 ล้านล้าน ดักคอ 'อุ๊งอิ๊ง' บินกัมพูชา ไม่ใช่เรื่องมุบมิบทำอะไรได้ ชี้ต้องเป็นข้อตกลง รธน. ม.187 รัฐสภาเห็นชอบ

'เทพมนตรี' งัดแผนที่ฟาด 'กัมพูชา' ลากเส้นลงทะเล รุกล้ำเขตแดนไทย เรียกว่า 'เส้นเก๊'

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมภาพแผนที่เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า

'เทพมนตรี' หยาม 'พิธา' ขาดความกล้าหาญ มันก็ปราชัยพ่ายแพ้ร่ำไป

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก พร้อมจดหมายของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เขียนถึงน.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้ต้องหาคดีม. 112 ว่า