ศาลฎีกาพิพากษายืน กักขัง 1 เดือน 'ไบรท์ ชินวัตร' คดีละเมิดอำนาจศาล

27 มี.ค.2567 - ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ข่าวสารว่า 26 มี.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำสั่งของศาลฎีกาในคดีของ “ไบรท์”​ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรมในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งถูกกล่าวหาในข้อหาละเมิดอำนาจศาล จากเหตุปราศรัยหน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้กำหนดโทษใหม่เป็นกักขัง 1 เดือนแทน ก่อนชินวัตรจะยื่นฎีกาคำพิพากษาและศาลกำหนดนัดฟังคำสั่งในวันนี้
.
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นอุทธรณ์ ลงโทษจำคุก 1 เดือน โดยเปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน เป็นระยะเวลา 1 เดือน
.
คดีนี้มี ชวัลนาถ ทองสม ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา เป็นผู้กล่าวหา คำกล่าวหาบรรยายว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 64 กลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ประมาณ 300 คน ได้รวมตัวกันมาทํากิจกรรมยื่นจดหมาย “ราชอยุติธรรม” พร้อมทั้งยืนอ่านกลอน “ตุลาการภิวัฒน์” ที่บริเวณบันไดทางขึ้นศาลอาญา โดยมีชินวัตรเข้าร่วมชุมนุมและปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียง พร้อมทั้งตะโกนข้อความ “ปล่อยเพื่อนเรา”และข้อความต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ทําให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในศาลอาญา
.
เวลา 09.45 น. ที่ห้องพิจารณา 712 ไบรท์ถูกคุมตัวมาด้วยชุดนักโทษสีน้ำตาล เท้าเปล่า และมีเครื่องพันธนาการคือกุญแจข้อเท้า โดยในวันนี้ภรรยาและลูกทั้งสองคนของเขาได้เดินทางมาให้กำลังใจที่ศาลด้วย ชินวัตรได้ใช้เวลาพูดคุยกับครอบครัวอยู่สักระยะหนึ่ง ก่อนที่ศาลจะออกพิจารณาคดีในเวลา 10.25 น.
.
ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา สรุปใจความสำคัญได้ว่า คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเป็นการกระทำที่เกิดนอกห้องพิจารณา มิได้เกิดขึ้นต่อหน้าศาลที่พิจารณาคดีแต่อย่างใด และผู้ถูกกล่าวหามิได้ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในระหว่างการพิจารณาหรือภายในศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
.
เห็นว่า ในชั้นอุทธรณ์ ศาลพิพากษาว่า แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเกิดนอกห้องพิจารณา มิได้เกิดต่อหน้าศาล แต่ถ้อยคำที่ผู้ถูกกล่าวหาปราศรัยนั้นมีการใส่ความ ก้าวร้าว หยาบคาย ดูหมิ่น เหยียดหยาม ข่มขู่แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อศาลโดยปราศจากหลักฐาน ถือเป็นเรื่องร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือต่อศาลยุติธรรม การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
.
ที่ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาว่า คดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกับคดีอาญา ผู้กล่าวหาได้ขอนับโทษต่อ และศาลอาญาได้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังเช่นกระบวนพิจารณาคดีอาญา บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลมีโทษจำคุก อันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเฉกเช่นเดียวกับบทลงโทษในคดีอาญา ถูกกล่าวหาจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานอื่นร่วมด้วยในการกระทำเดียว ดังนั้นผู้ถูกกล่าวหาจึงอาจถูกลงโทษทางอาญาซ้ำจากการกระทำครั้งเดียว เป็นการลงโทษซ้ำซ้อน
.
เห็นว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลซึ่งกฎหมายให้ศาลมีอำนาจพิเศษ ในการลงโทษโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง ส่วนคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ข้อหาดูหมิ่นศาลนั้น เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีละเมิดอำนาจศาล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
.
ที่จำเลยฎีกาให้ศาลลงโทษสถานเบาเนื่องจากเป็นโทษที่สูงเกินกว่าเหตุนั้น เห็นว่า จำเลยมีการปราศรัยโจมตีด้วยถ้อยคำหยาบคาย ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและทำให้ประชาชนขาดความน่าเชื่อถือต่อศาลยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดบทลงโทษใหม่ โดยเปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน เป็นระยะเวลา 1 เดือน นับว่าเป็นคุณต่อผู้ถูกกล่าวหามากแล้ว
.
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุก 1 เดือน โดยเปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน เป็นระยะเวลา 1 เดือน

ภายหลังจากการอ่านคำพิพากษา ศาลได้แจ้งให้ชินวัตรได้ใช้เวลาอยู่กับภรรยาและลูกทั้งสองอีกสักระยะ เจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้ชินวัตรได้พูดคุยกับครอบครัวอีกราว 5 นาที ก่อนจะคุมตัวเขาออกไป
.
ปัจจุบัน ชินวัตรถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นเวลา 27 วันแล้ว หลังศาลอาญาได้พิพากษาจำคุกชินวัตร 3 ปี ในคดีมาตรา 112 เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา
.
อย่างไรก็ตาม ผลจากคำพิพากษาในวันนี้อาจทำให้ชินวัตรถูกย้ายตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไปรับโทษกักขังในสถานที่อื่น ได้แก่ สถานกักขังจังหวัดปทุมธานี เนื่องจากคดีนี้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่ยังต้องติดตามการย้ายตัวต่อไป
.
ทั้งนี้ สำหรับคดีมาตรา 112 ของชินวัตร ที่เขาเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาออกมาทั้งหมด 5 คดีแล้ว โดยมี 1 คดีที่ศาลพิพากษาให้รอลงอาญา ขณะที่อีก 4 คดี ศาลลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด ได้แก่ คดีชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว ลงโทษจำคุก 3 ปี, คดีชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB ลงโทษจำคุก 3 ปี, คดีปราศรัยหน้า สน.บางเขน ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และคดีชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา63 “ปลดอาวุธศักดินาไทย” ลงโทษจำคุก 3 ปี
.
หากนับโทษจำคุกในสี่คดีที่ไม่รอลงอาญานี้ ชินวัตรมีโทษจำคุกจากคำพิพากษา รวม 10 ปี 6 เดือน แต่ทั้งนี้ในแต่ละคดีจะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป
.
📌อ่านบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/65914

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' เริงร่า เล่นน้ำยกดัมเบล เลี้ยงหลาน เย้ยดีลกลับบ้าน ไม่ตื่นเต้นคำขู่

'จตุพร' อ่านไต๋ 'ทักษิณ' เริ่งร่า เล่นน้ำยกดัมเบล เลี้ยงหลานสุดคึกคัก ส่งนัยเย้ยดีลกลับบ้าน ไม่ตื่นเต้นคำขู่ จับตา! 10 เม.ย. ตัดสินฟ้องหรือไม่ คดี 112 ระบุเป็นจุดเริ่มเปลี่ยนชะตาคน

ทำลายสถิติ! ผู้ต้องขังยังเพิ่มพุ่ง 46 คน คดี ม.112 เกินครึ่ง ผู้อดอาหารประท้วงยังถูกขังต่อ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ปัจจุบัน (4 เม.ย. 2567) มีผู้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เนื่องจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก อย่างน้อย 46 ราย ในจำนวนนี้เป็นคดีมาตรา 112 เกินกว่าครึ่ง เป็นจำนวน 28 คน

'ณัฐวุฒิ' โพสต์ต้อนรับ 'จักรภพ' กลับไทย ถึงเวลานิรโทษกรรมคดีการเมืองทุกข้อกล่าวหา

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำคนเสื้่อแดง และอดีตผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า

'ดร.อานนท์' เย้ย 'สามนิ้ว' ดิ้นเร่าๆ จาก แอนิเมชัน 2475 ท้าใครอยากดีเบตบอกมาได้

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้

'นักขียนซีไรต์' แนะ 3 นิ้ว อดอาหารให้ได้ผล ต้องมี 2 ส่วนประกอบกัน

วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกรณีกลุ่ม 3 นิ้ว ผู้ต้องหาคดีม.112 อดอาหารประท้วงในเรือนจำ ว่า