'กมธ. สาธารณสุข' รุมสับ 'ประกันสังคม' ได้งบประมาณมากกว่า-รายจ่ายต่อหัวสูงกว่า 500 บาท แต่สิทธิประโยชน์ต่ำกว่า 'บัตรทอง' จี้โอนให้ 'สปสช.' ดูแลระบบประกันสุขภาพทั้งหมด
06 มี.ค. 2568 - ในการประชุมคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นพ.ทศพร เสรีรักษ์ เป็นประธานฯ วาระเพื่อพิจารณาศึกษาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน ซึ่งได้เชิญผู้แทนจากด้วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สำหนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และตัวแทนจากภาคประชาสังคม
โดยกรรมาธิการส่วนใหญ่ ตั้งคำถามถึงสิทธิการรักษาของผู้ประกันตน ที่ได้รับสิทธิน้อยกว่าสิทธิบัตรทอง ทั้งที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนเอง ในขณะที่บัตรทองใช้งบประมาณของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชน
นางวราภรณ์ สุวรรณเวลา รองเลขาธิการ สปสช. ชี้แจงว่า ทั้ง 2 สำนักงานถือกฎหมายคนละฉบับ แต่สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีเพียงรายละเอียดปีกย่อยที่ต่างกัน อาทิ การรักษาโรคมะเร็งที่ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิได้แค่โรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น ซึ่งการรักษาพยาบาลบางอย่าง สปส. ยังต้องจ่ายเพิ่มให้ด้วย
นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ กรรมาธิการฯ ตั้งคำถามถึงวงเงินค่ารักษาฟัน 900 บาทต่อปี รวมถึงการรักษาฉุกเฉินผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายก่อน 1 หมื่นบาทจริงหรือไม่ และการรักษาอาการ 23 กลุ่มโรคที่มีการเหมาจ่ายผู้ประกันตนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองท่าที่มีค่าใช้จ่ายสูงใช่หรือไม่
นางชณิการ์ โกวะประดิษฐ์ ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส. ชี้แจงว่า การรักษาฟัน ในคลีนิคทันตกรรมมีทั้งแบบสำรองจ่าย หรือ การเข้ารับการรักษาในคลินิกที่อยู่ในข้อตกลงจะไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งหากเป็นการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน มีวงเงิน 900บาทต่อปี แต่ถ้าเป็นการรักษาอื่น ๆ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม
ส่วนการรักษากรณีฉุกเฉินจะต้องใช้โรงพยาบาลตามสิทธิ และสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ที่เกิดเหตุ โรงพยาบาลจะเป็นผู้ทำเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลกับ สปส.โดยตรงได้ ย้ำว่า ไม่ต้องวางเงินก่อนเข้ารับการรักษา แต่น่าจะเป็นปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ประกันตนกับสถานพยาบาล ซึ่งหากเจอปัญหาด้านการรักษาพยาบาลสามารถติดต่อมายังสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศไทยได้โดยตรงจะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแล และถ้าเข้าโรงพยาบาลรัฐก็จะเบิกค่ารักษาตามบิลตามความจำเป็น ส่วนรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ยืนยันว่า สปส. เป็นผู้ที่จ่ายโดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ทำเรื่องเบิกแทน
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรรมาธิการฯ ตั้งคำถามถึงงบประมาณในส่วนของรายจ่ายรายหัว สปสช. 3,856 บาทต่อปี ขณะที่บริการทางการแพทย์ ของสปส. อยู่ที่ 4,394 บาทต่อปี ต่างกันประมาณ 500 บาท แต่สิทธิการรักษาพยาบาลของบัตรทองเหมือนจะมากกว่าของผู้ประกันตน ทั้งที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน อายุ ตั้งแต่ 20-60 ปี ขณะที่บัตรทองส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่มีโอกาสป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากกว่า แต่กลับมีรายจ่ายน้อยกว่าผู้ประกันตนอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงสงสัยว่า มีปัญหาในการเบิกจ่ายงบประมาณหรือไม่ ซึ่งหากยังมีปัญหาเช่นนี้ควรโอนให้ สปสช.ดูแลเรื่องระบบสุขภาพดีกว่าหรือไม่
นายอลงกต มณีกาศ กรรมาธิการฯ ได้ตั้งคำถามถึง สิทธิรักษาพยาบาลของประกันสังคม ว่าเหตุใดสิทธิการรักษาทุกวันนี้ ถึงด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง หรือเพราะทุกวันนี้ สปส.ยังไม่ปรับตัว ประกันสังคมตามไม่ทัน เหมือนหยุดนิ่งอยู่กับที่ ซึ่งผู้ประกันตน ที่เสียเงินทุกเดือน ควรจะได้รับบริการที่ดีกว่านี้ ให้ดีกว่าบัตรทอง
ผอ. สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส.ยืนยันว่า 1 ปี ที่ผ่านมา พยายามเพิ่มสิทธิการรักษา และการบริการให้กับผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น เช่นการเข้าถึงการรักษาโรคสำคัญ 5 โรค ภายใน 15 วัน ซึ่ง สปส. พยายามเพิ่มสิทธิการบริการให้กับผู้ประกันตน ในทุกปี และทั้ง 2 สำนักงานก็ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด
นางสาวสิริลภัส กองตระการ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคำถามถึง พ.ร.บ.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่มาตรา 66 ระบุว่าต้องประชุมภายใน 1 ปี หากไม่แล้วเสร็จสามารรถขยายได้ ซึ่งหากขยายแล้ว ต้องให้ สปส.หรือ สปสช. เป็นผู้ชี้แจง ว่าเหตุผลการขยายเป็นอย่างไร ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2545 ก็ยังไม่มีการชี้แจงถึงเหตุผลขยายระยะเวลา ที่จะพิจารณาของเขตสิทธิการเข้ารับบริการทางด้านสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันควรมีความชัดเจนเรื่องของสิทธิได้แล้ว จึงอยากขอเอกสาร 23 ปีย้อนหลัง ในการบันทึกการประชุม เพราะหากไม่มีให้ แสดงว่าไม่มีการประชุมเลย รวมถึงการควบรวม 3 กองทุน ที่กำลังเป็นข่าว แต่ทาง สปสช. ได้ออกมาชี้แจงว่า ยังไม่มีความพร้อม ต้องศึกษาก่อน ตนจึงอยากทราบกรอบระยะเวลา จะศึกษานานเท่าใด
พร้อมตั้งคำถามถึงสิทธิการรักษาฟัน 900 บาทต่อปี ขณะที่การรักษาต่อครั้ง อยู่ที่ 700-1,200 บาท แต่ทันตแพทย์ มีคำแนะนำว่า คนเราควรต้องเข้าคลินิก ดูแลฟัน อย่างน้อย 4 ครั้ง ต่อปี เช่นขูดหินปูน เพราะฉะนั้น 900 บาทไม่ครอบคลุม แต่หากเป็นสิทธิบัตรทอง สามารถใช้สิทธิรักษาเรื่อยๆ ส่วนเรื่อง คู่สาย สปส. ที่มีอยู่ 400 คู่สาย แต่ผู้ประกันตนมีประมาณ 24 ล้านคน มองว่า อาจจะไม่เพียงพออต่อการรับฟังปัญหา จะแก้ไขปัญหาอย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' แจงการระบาด 'โควิด' ช่วงเทศกาลสงกรานต์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดในช่วงสงกรานต์
'สมศักดิ์' เปิดงานประชุมเบาหวานโลก ชี้สถานการณ์ NCDs น่าห่วง คาดปี 2588 ทั่วโลกอาจป่วยสูงถึง 800 ล้านคน
ที่ไบเทค บางนา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากรกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชา
เล็งแก้ระเบียบกระทรวงสธ. เปิดทางให้หมอพื้นบ้านรับค่านวดรักษาได้
“สมศักดิ์” เล็งแก้ระเบียบกระทรวง เปิดทางให้หมอพื้นบ้านรับค่านวดรักษาได้ ชูนวดไทยเป็น 1 ในซอฟต์พาวเว
'อดีตเลขาฯแพทยสภา' กระตุกรุ่นน้อง จะได้รับการยอมรับจากสังคม อยู่ที่ผลสอบ 'ทักษิณ'
อดีตเลขาธิการแพทยสภา ได้กล่าว แสดงความเชื่อมั่นต่อ คณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน ว่า จะทำหน้าที่พิจารณาจริยธรรมของสมาชิกแพทย์ อย่างเที่ยงธรรม และยังคงทำหน้าที่ คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน
สส.แห่หารือผลกระทบและการรับมือธรณีพิโรธ
สส.หารือรับมือแผ่นดินไหว ด้าน 'ครูจวง' แนะสร้างหลักสูตรวิชาการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติให้ นักเรียน-คนไทยทุกคน ทั้งภาคปฎิบัติ-ทฤษฎี
'พัฒนา' ยัน 'ตระกูลพร้อมพัฒน์' ไม่เกี่ยวปมซื้อตึก Skyy9
'ลูกสันติ' แจง 'ตระกูลพร้อมพัฒน์' ไม่เกี่ยว ปม สปส.ซื้อตึก Skyy9 ระบุขายให้เอจีอาร์อี101 แล้ว จากนั้นไม่ได้เข้าไปดูอีกเลย ปัดตอบปมราคาพุ่งเกินจริง