'ดีเอสไอ' ประชุมคดีฟอกเงิน ฮั้วเลือกสว. มีพยานกลับใจแฉเห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ต้น

เริ่มแล้ว ! “ดีเอสไอ- อัยการ” ประชุมคดีฟอกเงิน ปมฮั้ว สว.67 เตรียมร่อนหมายเรียกพยานกว่า 1,000 ราย สอบปากคำ ไขปมรู้เห็นเหตุการณ์จัดฮั้ว โดยเฉพาะ “พยานกลับใจแฉ“ ดีเอสไอต้องคุ้มครองความปลอดภัย

21 มีนาคม 2568 - เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 1 อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการประชุมเปิดคดีครั้งที่ 1 ของคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 24/2568 กรณี การสมคบกันในความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกรณีฮั้วเลือกสว.

โดยมี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 4 ราย ในฐานะคณะพนักงานสอบสวน ได้แก่ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจนนิรันดร์กิจ พ.ต.ต.จตุพล บงกชมาศ และ ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ และมี นายระวี อักษรศิริ ผอ.กองคดีการฟอกเงินทางอาญา นายเอกรินทร์ ดอนดง ผอ.ส่วนวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์พิเศษ เป็นเลขานุการคณะพนักงานสอบสวน

นอกจากนั้น ยังมีบรรดาผู้อำนวยการกองคดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองคดีการฟอกเงินทางอาญา กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กองคดีภาษีอากร กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองคดีความมั่นคง กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา กองคดีค้ามนุษย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ รวมบุคลากรของกรมสอบสวนคดีพิเศษทั้งสิ้น 41 ราย

ขณะที่ทางด้านของพนักงานอัยการที่เข้าร่วมประชุมมีจำนวน 3 ราย โดยเป็นพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 1 ราย และอัยการผู้เชี่ยวชาญ 2 ราย

รายงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยก่อนการประชุมว่า สำหรับการประชุมเปิดคดีในวันนี้จะมีวาระการประชุมที่สำคัญคือ ฝ่ายเลขานุการคณะพนักงานสอบสวนจะได้มีการนำเสนอข้อเท็จจริงของคดี เพื่อชี้แจงต่อที่ประชุมว่าคดีดังกล่าวมีข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง เป็นความผิดฐานใด เพื่อที่จะได้หารือถึงแนวทางการสอบสวนว่าดีเอสไอจะทำงานอย่างไร แล้วในส่วนของพนักงานอัยการจะทำงานอย่างไรบ้าง รวมถึงจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสอบสวนปากคำกลุ่มพยานว่าคณะพนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนปากคำเพื่อให้ได้มาซึ่งประเด็นอะไรบ้าง และในการสอบสวนจะมีกรอบระยะเวลาในการทำสำนวนนานเท่าใดก่อนสรุปสำนวน

รายงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ เผยอีกว่า การที่มีอัยการมาร่วมสอบสวน คือ การทำสำนวนคดีไปพร้อมกัน ไม่ว่าดีเอสไอจะดำเนินการอะไร อัยการก็จะต้องมาร่วมสอบสวนด้วย ทั้งร่วมประชุมและการมีมติความเห็นทางคดี นอกจากนี้ วันนี้เราจะได้มีการพูดถึงกลุ่มพยานที่ต้องไปสอบสวนปากคำเข้าสู่สำนวน ซึ่งตัวเลขเบื้องต้นพบว่ามีจำนวนพยานกว่า 1,000 รายที่พนักงานสอบสวนจะต้องไปสอบปากคำ มีทั้งกลุ่มคนที่เข้ามาสมัคร สว. ในฐานะโหวตเตอร์หรือผู้พลีชีพก็ตาม แต่ก็ต้องมีการแบ่งว่าดีเอสไอจะไปสอบสวนกี่ปาก แล้วอัยการจะไปสอบสวนกี่ปาก ทั้งต้องกำหนดประเด็นการสอบสวนด้วย

ทั้งนี้ กลุ่มพยานทั้งหมดจะเป็นใครบ้าง พนักงานสอบสวนคงไม่อาจเปิดเผยได้ เนื่องจากเป็นเรื่องสอบสวนทางลับและเราต้องให้ความปลอดภัยในการคุ้มครองพยานที่เขาให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการทำสำนวนของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากพยานค่อนข้างหวาดกลัวในการใช้ชีวิต กลัวเรื่องความปลอดภัย จึงทำให้ต้องมีการสงวนไว้ซึ่งรายชื่อของกลุ่มพยาน

แต่ลักษณะของพยาน คือ กลุ่มคนที่รู้เห็นเหตุการณ์ขบวนการฮั้วตั้งแต่ต้นแน่นอน เนื่องจากในชั้นการสืบสวนของดีเอสไอเอง (เลขสืบสวนที่ 151/2567) ก็มีพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านี้รู้เห็นเหตุการณ์ จึงต้องกันมาไว้เป็นพยาน ซึ่งการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ก็ถือเป็นประโยชน์ต่อตัวพยานเองด้วย เพราะในมาตรา 65 ตามกฎหมายของ กกต. ได้กำหนดไว้ว่า “หากผู้กระทำความผิดที่มาให้การกับ กกต. แล้วชี้ว่าใครเป็นคนทำอะไร อันนี้กันไว้เป็นพยานได้” ดังนั้น สิ่งนี้มันคือการเดิมพันกันสูง เพราะเขาเป็นพยานที่ชี้ตัวได้ เหมือนกลับใจมาแฉ

ขณะที่เวลา 13.45 น. พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เดินทางมาเป็นประธานในที่ประชุม และได้กล่าวเริ่มต้นการประชุมคดีพิเศษดังกล่าว ว่าเป็นการประชุมครั้งแรก เป็นการเปิดประชุมคดีพิเศษที่ 24/2568 เพื่อจะได้มอบหมายการดำเนินการระหว่างดีเอสไอและอัยการต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DSI เปิดโปงขบวนการซากสุกร 460 ล้าน เอี่ยว 'จนท.-นายทุน' ส่ง ป.ป.ช. 11 คดี

ดีเอสไอ เผยผลสอบสวนขบวนการลักลอบนำเข้าซากสุกรผิดกฎหมายช่วงปี 2563–65 รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 460 ล้านบาท พบพัวพันเจ้าหน้าที่รัฐ-นักการเมือง-นายทุนทั้งไทยและต่างชาติ ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว 11 คดี พร้อมประสาน 7 ประเทศขยายผล

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยุติสอบฮั้วเลือก สว. ชี้ไม่เข้าเงื่อนไขส่งศาลรธน.

พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์  เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีมีการร้องให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา  (สว.) เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการฮั้วเลือสว.

สส.ปชน. ชี้ ครม.เห็นชอบยกเว้นภาษีนำเข้ารถโบราณ ส่อเปิดช่องกลุ่มทุนสีเทาฟอกเงิน

สส.ปชน. ชี้งานจัดแสดงรถยนต์โบราณ ไม่ใช่ซอฟต์พาวเวอร์ แต่เปิดช่องให้ ”กลุ่มทุนสีเทา” ฟอกเงิน ผ่านทรัพย์สินหรูที่ตีมูลค่าตามใจ โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว

'ดีเอสไอ' หิ้ว 3 นอมินี บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ ฝากขัง ก่อนศาลให้ประกันคนละ 3 แสน

พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ควบคุมตัวนายประจวบ ศิริเขตร นายมานัส ศรีอนันท์ และนายโสภณ มีชัย ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว

'ดีเอสไอ' เค้นสอบนาน 10 ชั่วโมง 3 คนไทย 'นอมินี' ถือหุ้น บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ

“ดีเอสไอ" หิ้ว ”3 นอมินีคนไทย บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ” ฝากขังศาลอาญา หลังสอบเดือด 10 ชม. ทั้งหมดล้วนปัดความร่วมมือให้ปากคำ บางช่วงบางตอนงงคำถาม ต้องให้ทนายช่วยอธิบาย ขณะที่ “โสภณ มีชัย“ ผู้ถือหุ้น บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ กว่า

ระทึก! 'ทวี' เผยคดีฟอกเงิน 'ฮั้วเลือกสว.' คืบหน้ามาก คาด DSI สรุปสำนวนจะส่งฟ้อง จับกุม หรือไม่สิ้นเดือนนี้

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ในส่วนของคดีฟอกเงิน ที่อ