ท่องเที่ยวหลังโควิดเมืองรองสุดชิก

ในช่วงเวลากว่า 2 ปีที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการเดินทางอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวจะเห็นนักท่องเที่ยวมีความกระตือรือร้นออกเดินทางไปสำรวจจุดหมายปลายทางใหม่ๆ กระจายตัวออกไปยังพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่กระจุกตัวอยู่แค่แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังเท่านั้น ซึ่งเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ช่วยให้คนในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มจากการเป็นผู้ให้บริการที่พัก และช่วยให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ซึ่ง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศในปี 2565 จะอยู่ที่ 188.1 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวราว 7.2 แสนล้านบาท โดยตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในปีนี้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือจังหวัดเมืองรองที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเมืองท่องเที่ยวหลักตามแนวทางการรักษาระยะห่างทางสังคม และมองหาประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลักในภูมิภาคเดียวกัน

"ผลกระทบที่รุนแรงและยืดเยื้อจากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในวงกว้างแล้ว ยังทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางข้ามพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เทรนด์การท่องเที่ยวเปลี่ยนไปจากเดิม จากการเสาะหาจุดเช็กอินสถานที่เที่ยวยอดนิยม เป็น การท่องเที่ยวระยะใกล้แต่ให้ประสบการณ์แปลกใหม่ (Niche Travel)"

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบียังระบุว่า เทรนด์การท่องเที่ยวรูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เห็นได้จากดัชนีการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่ทยอยปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาคและกระจายไปยังเมืองรองมากขึ้น สอดคล้องกับจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่หันมาท่องเที่ยวเมืองรองในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 สูงถึง 23.3 ล้านคน-ครั้ง หรือประมาณ 30% ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยทั้งหมด ซึ่งจังหวัดเมืองรองที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ เชียงราย สมุทรสงคราม ลพบุรี และสุพรรณบุรี เหล่านี้สะท้อนการตอบโจทย์ทั้งเรื่องการหลีกเลี่ยงความแออัดของเมืองท่องเที่ยวหลัก การให้ประสบการณ์และเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าราว 20-40% เมื่อเทียบกับเมืองหลักในภูมิภาคเดียวกัน

เช่นเดียวกับ นางมิช โกห์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฮ่องกง และไต้หวัน ของ Airbnb ระบุว่า ในปัจจุบันผู้คนเริ่มเปิดรับแนวทางใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้ชุมชนที่อาจถูกมองข้ามเริ่มกลับมาอยู่ในความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ Airbnb จึงได้จัดทำรายงานล่าสุด หัวข้อ Further Afield: Spreading the Benefits of the Travel Revolution ซึ่งพบว่าคนในท้องถิ่นทั่วทั้งภูมิภาคจะได้รับโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อรับมือกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ยังพบการจองที่พักย่านนอกเมืองเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงรายได้โดยรวมของผู้ให้บริการที่พักในย่านนอกเมืองก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่มองหาจุดหมายปลายทางนอกเมือง แต่ยังมีระยะเวลาในการเข้าพักที่นานขึ้นด้วย ทั้งนี้ การจองที่พักระยะยาว หรือมีการเข้าพักมากกว่า 28 วันในย่านนอกเมืองในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบไตรมาส 2/2565 กับไตรมาสเดียวกันในปี 2562

นอกเหนือจากเมืองใหญ่ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีจุดหมายปลายทางอีกหลายแห่งที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางบน Airbnb ในการเข้าพักระยะยาวในไตรมาส 2/2565 เช่น เกาะพะงัน เกาะลันตา และกระบี่ ประเทศไทย, ในประเทศมาเลเซีย อาทิ เมืองอิโปห์, เมืองกัวห์บนเกาะลังกาวี, เซเมนยีห์และพอร์ตดิกสัน และในประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ เมืองดาปา, ปังเลา, ดูมาเกเตและซีลัง 
 และล่าสุด Airbnb แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวมีความสนใจอยากออกไปสำรวจสถานที่ใหม่ๆ ในประเทศไทยอย่างเกาะลันตา ตราด ปาย และชะอำ ด้านข้อมูลจากรายงาน Economist Impact ที่จัดทำเพื่อ Airbnb ระบุว่า นักเดินทางคนไทยมากกว่า 70% วางแผนท่องเที่ยวในประเทศไปยังจุดหมายปลายทางแถบชนบทให้บ่อยขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักในปัจจุบัน และจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่า 2 ใน 3 ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมือง เพื่อตอบรับกับแนวทางท่องเที่ยวดังกล่าว Airbnb ได้นำนวัตกรรมของเครื่องมือค้นหาที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถสำรวจพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ง่ายขึ้นบนแพลตฟอร์ม อาทิ การแบ่งหมวดหมู่ที่พัก และ I’m Flexible.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี